Name Surname’s letter to German diplomat (English and Thai): จดหมายถึงฑูตและนักการเมืองเยอรมัน – เรียกร้องให้สอบสวนกษัตริย์ไทยในกรณีอุ้มหายวันเฉลิม ภายใต้กฎหมายเยอรมนี

English below:

จดหมายฉบับนี้ถูกส่งมาให้ ACT4DEM เพื่อเผยแพร่ โดยไม่บอกชื่อผู้เขียน เราเห็นว่าเป็นจดหมายที่คนไทยควรได้ร่วมรับรู้ด้วย เพื่อจะได้เห็นว่ามีกระบวนการเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับประมุขของประเทศไทยในประเทศเยอรมนี

19 มิถุนายน 2563

พณ.ท่าน เอกอัครราชทูต มร. ปีเตอร์ พรูเกล

สถานเอกอัครราชทูตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย

9 ถนนสาทรใต้

กรุงเทพฯ 10120

ประเทศไทย

เรื่อง ความเกี่ยวข้องของเยอรมนีต่อกรณีนายวันเฉลิม ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ หรือในภาษาอังกฤษ The International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearances (ICPPED)

กราบเรียน พณ.ท่าน เอกอัครราชทูต มร. ปีเตอร์ พรูเกล

จดหมายฉบับนี้อ้างถึงภาระความรับผิดชอบในระดับรัฐของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ อันมีข้อบ่งชี้ถึงอาชญากรรมที่เกิดจากการสมคบคิดเพื่อบังคับให้นายวันเฉลิมหายตัวไปจากบ้านของเขา ณ กรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563

หลักฐานที่ชี้ชัดแน่นอนถึงการอุ้มหายนายวันเฉลิมยังไม่สมบูรณ์ในเวลานี้ เฉกเช่นเดียวกับกรณีการหายสาบสูญไปโดยถูกบังคับของบุคคลอื่นๆ แต่ที่แน่นอนคือการอุ้มหายบุคคลเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชน ที่มีเป้าประสงค์ร้ายโดยตรงจากการลักพาตัวบุคคลไปจากครอบครัวของเขา และสาธารณชนย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรับรู้ว่ารัฐบาลของเขาได้ดำเนินการไปอย่างไรบ้างในทางกฎหมาย อันที่จริงเหยื่อที่แท้จริงคือครอบครัวของบุคคลผู้ถูกบังคับให้หายสาบสูญไป ที่จะต้องทนทุกข์อย่างยืดเยื้อยาวนานจากสมาชิกในครอบครัวที่หายสาบสูญไปโดยไม่มีคำตอบ การบังคับบุคคลให้สูญหายยังคงมีสถานะเป็นคดีอาชญากรรมที่ยังไม่ยุติตราบเท่าที่ข้อเท็จจริงของคดียังไม่ปรากฎเป็นที่รับทราบ ซึ่งหมายความว่าคดีอาชญากรรมในลักษณะดังกล่าวยังคงก่อเกิดและดำเนินการอยู่ในขณะนี้จากภายในขอบเขตประเทศเยอรมนี ซึ่งผู้ก่ออาชญากรรมคือผู้ที่มีถิ่นพำนักอาศัยในประเทศเยอรมนีและลงมือก่ออาชญากรรมข้ามประเทศในอีกประเทศหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจอธิปไตยของเยอรมนี แต่ในกรณีนี้ ประเทศเยอรมนีได้ยินยอมรับภาระในการสอบสวนคดีอาชญากรรมเช่นนี้ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ

ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์มีอย่างจำกัด แต่น่าจะส่งผลเพียงพอที่จะทำให้มีการสืบสวนคดีนี้อย่างเป็นทางการโดยผู้บังคับใช้กฎหมายของเยอรมนีและเจ้าหน้าที่การทูต นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ มีข้อมูลว่าได้หลบหนีออกจากประเทศไทยไปประเทศกัมพูชา หลังจากเกิดรัฐประหารโดยกองทัพไทยเมื่อปี 2557 เนื่องจากมีความกังวลต่อความปลอดภัยของตัวเขาเอง หลังจากที่เขาได้แสดงความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างออกไป ภายหลังการผลัดแผ่นดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (กษัตริย์วชิราลงกรณ์) ก็ได้มีรายงานข่าวมากมายว่าผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองหลายรายที่ลี้ภัยไปอยู่นอกประเทศไทยได้มีอันหายตัวสาบสูญไป ซึ่งมีบางรายที่ปรากฎหลักฐานภายหลังว่าถูกทรมานและถูกทำร้ายร่างกายอย่างโหดเหี้ยมจนเสียชีวิต ที่ผ่านมาได้มีข้อโต้แย้งที่น่าเชื่อถืออ้างว่าผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายเหล่านี้มีสาเหตุอันเนื่องมาจากกษัตริย์วชิราลงกรณ์ และทหารบางกลุ่มของกองทัพไทยที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกษัตริย์วชิราลงกรณ์

ในสถานการณ์เช่นนี้ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ได้เคยรายงานในทางสาธารณะว่าเขาเคยถูกสะกดรอยตามจากทหารไทยนอกเครื่องแบบในละแวกใกล้ที่พักของเขาในกรุงพนมเปญ จนสุดท้ายเขาก็ได้หายตัวไปในที่สุดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 หรือใกล้เคียง หลังจากนั้นก็มีข้อมูลบางส่วนที่ระบุว่าพลเอกจักรภพ ภูริเดช ปรากฎตัวอยู่หน้าบ้านของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และอยู่บนเครื่องบินที่บินตรงจากปารีสถึงกรุงเทพฯก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์การลักพาตัวเขาในกรุงพนมเปญเพียงไม่นาน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์เป็นผู้ที่พำนักอาศัยระยะยาวในประเทศเยอรมนี และมีการกลับเข้ามาประเทศไทยเป็นบางครั้งเท่านั้น แต่ปรากฎว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์ได้อยู่ในประเทศ (เยอรมนี) ในช่วงที่เกิดการลักพาตัวนายวันเฉลิมไป ด้วยการที่พลเอกจักรภพมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าเลขานุการส่วนพระองค์ของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ เมื่อประมวลข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกัน ก็ได้ข้อสรุปว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์ได้ออกคำสั่งให้พลเอกจักรภพ ภูริเดช ให้ทำงานลักพาตัวนายวันเฉลิม ซึ่งดูเหมือนว่างานนี้ได้ถูกวางแผนและประสานงานกันจากภายในเขตแดนของประเทศเยอรมนี

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ จึงมีภาระหน้าที่ตามกฎหมายที่จะไม่เพิกเฉยต่อวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอนุสัญญาาดังกล่าว ในฐานะความเป็น”รัฐชาติ“ ของประเทศ ไทยตามหลักเกณฑ์”รัฐชาติ” ของอนุสัญญานี้ ประเทศไทยจึงสามารถเป็นได้ทั้งผู้ดำเนินคดีและผู้ถูกดำเนินคดีตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญานี้ที่จะดำเนินคดีต่อการล่วงละเมิดสิทธิบุคคลตามอำนาจศาลอาญาที่มีอยู่แต่เดิมในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9(2) ประเทศเยอรมนีควรจะเป็นผู้ที่เริ่มทำการพิจารณาคดีว่าควรจะดำเนินการส่งตัวหรือยินยอมส่งตัวกษัตริย์วชิราลงกรณ์และพลเอกจักรภพ ภูริเดช ให้ประเทศไทยตามภาระความรับผิดชอบระหว่างประเทศของประเทศเยอรมนี ก่อนที่จะพิจารณาว่าประเทศเยอรมนีมีศักยภาพที่จะดำเนินคดีได้เองตามอำนาจศาลของตนหรือไม่

การดำเนินคดีดังกล่าวแม้ไม่ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นการก่อคดีอาชญากรรมภายใต้กฎหมายอาญาของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ไทยมีความคล้ายกับประเทศอื่นที่มีระบอบการปกครองที่เป็นเผด็จการ การสอบสวนหรือดำเนินคดีกับตัวผู้นำที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายของไทย ตลอดมาไม่เป็นไปตามมาตรฐานการดำเนินคดีที่ใช้กับประชาชนทั่วไป ประเด็นการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันกับทุกคนภายในประเทศจึงถูกตัดออก ในประเทศไทย ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าการดำเนินคดีมีเหตุผลสมควรหรือไม่ภายใต้กฎหมายไทย แต่อยู่ที่ผู้ที่ส่งเรื่องให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดี รวมไปถึงตัวคณะผู้พิพากษาในคดีเองด้วย ควรจะถูกลงโทษหรือไม่ ลักษณะเช่นนี้ไม่เหมือนกับระบบความคุ้มครองตามปกติที่มีให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ตรงที่มันเป็นการใช้จักรกลทั้งหมดของรัฐเพื่อที่จะละเว้นการฟ้องร้องแกนนำในระบอบเผด็จการ ซึ่งต่างจากคนอื่นในประเทศทั้งหมด สิ่งนี้ทำให้กฎหมายไทยไม่สามารถตัดสินได้ว่ามาตรา 6(1) จะใช้กับการตรวจสอบการกระทำผิดของประมุขรัฐได้หรือไม่ แต่จะตัดสินว่ามาตรา 112 หรือพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะเป็นอาวุธที่เพียงพอที่จะลงโทษผู้ใดที่ส่งเรื่องฟ้องร้องขึ้นมาได้หรือไม่

ความเห็นนี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงความเห็นที่เลื่อนลอย แต่จะกลายเป็นข่าวดังในอนาคตเมื่อมีเสียงเรียกร้องให้มีการตรวจสอบจดหมายฉบับนี้ดังขึ้นจนถึงหูของเจ้าหน้าที่รัฐบาล เพื่อให้มีการใช้กฎหมายทั้งสองมาตรา (.112 และพรบ.คอม) จัดการเอาผิดกับผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ เช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยมักจะเริ่มต้นจากการแจ้งความกับตำรวจนครบาลกรุงเทพให้เป็นที่รับทราบต่อสาธารณะ เพื่อเอาผิดตามกฎหมายมาตรา112 ซึ่งแน่นอนเป็นการแจ้งความโดยพลเมืองที่ใส่ใจ ตามมาด้วยแถลงการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายของรัฐแห่งใดแห่งหนึ่ง ว่าได้เปิดให้มีการสอบสวนเรื่องนี้ตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เมื่อมีการเผยแพร่เนื้อหาต้องห้ามผ่านสื่อดิจิทัล ผู้สื่อข่าวจะได้ทำข่าวทั้งหมดด้วยความตื่นเต้นและหน่วยข่าวกรองของทหารจะมาเยี่ยมเยียนผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมืองต่อไป แต่จะไม่มีสักนาทีเดียวของปฎิบัติการเพื่อบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้ ที่จะก่อให้เกิดคำถามว่าการแจ้งความเอาผิดผู้เขียนจดหมายฉบับนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งจะกลายเป็นคำถามที่น่าขันมากในประเทศไทย เมื่อทั้งคำพูดและการกระทำของประมุขรัฐทรงพลังอำนาจดังกฎหมายสูงสุดที่เหนือกว่าทุกสิ่ง

เป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ตรงข้ามกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และประเทศเยอรมนีก็ได้ใช้เวลามานานหลายปีเพื่อแสดงให้โลกรับรู้ว่าสิ่งนี้มีข้อผิดพลาดทางความคิด ดังนั้นการส่งตัวผู้กระทำผิดย่อมแสดงถึงความรับผิดชอบในระดับรัฐของประเทศเยอรมนีภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และทางเลือกเดียวที่มี ยังคงอยู่ที่การหาหนทางที่เหมาะสมเพื่อใช้อำนาจทางศาลของเยอรมนี

เยอรมนีมีจุดยืนของประเทศของตนว่าจะไม่นำพาประเทศของตนให้เป็นแหล่งซุกตัวของประมุขจากชาติอื่น เพื่อทำการวางแผนและประสานงานก่ออาชญากรรมต่อพลเมืองของชาติของประมุขนั้น และการใช้อำนาจอธิปไตยของเยอรมนีในการดำเนินการในประเด็นนี้ จึงไม่ใช้การละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย ในขณะที่ประเทศเยอรมนี ไม่ได้เป็น”รัฐชาติ”ผู้ก่ออาชญากรรมในกรณีนี้ แต่มีภาระความรับผิดชอบภายใต้มาตรา 10(1) ที่ต้องการให้ประเทศเยอรมนีนำตัวทั้งกษัตริย์วชิราลงกรณ์และพลเอกจักรภพ ภูริเดช มาอยู่ภายใต้การอารักขา ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายของไทย โดยมีเงื่อนไขว่าจะไม่มีการร้องขอเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ แต่อีกทางหนึ่ง ในฐานะ”รัฐชาติ”ที่มีเขตแดนประเทศเป็นที่วางแผนและประสานงานเพื่อก่ออาชญากรรมในกรณีนี้ เยอรมนีมีอำนาจทางศาลแต่ดั้งเดิมที่เป็นของตนเพื่อดำเนินคดีกับการก่ออาชญากรรมในกรณีนี้ตามกฎหมายของเยอรมนี เมื่อผู้ถูกกล่าวหาในกรณีนี้เป็นบุคคลในระดับสูง ยิ่งมีความเร่งด่วนที่จำเป็นที่เยอรมนีจะทำการจำกัดการเดินทางของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองโดยทันที เพื่อป้องกันการหลบหนีการดำเนินคดีหรือการไปทำลายหลักฐานในคดีโดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง

กษัตริย์วชิราลงกรณ์เป็นผู้พำนักอาศัยในประเทศเยอรมนีมาอย่างยาวนาน ซึ่งทำให้เขาเป็นประมุขของประเทศที่ไม่เหมือนประมุขของประเทศอื่นทั่วๆไป โดยทำการปกครองประเทศไทยตามอำนาจของประมุขที่มีภายในประเทศไทย แต่มาอยู่นอกประเทศไทยที่เขาเป็นประมุข โดยที่ไม่มีฐานะเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นแต่อย่างใด แต่ดูเหมือนเป็นคณะรัฐบาลที่มีทุนพิเศษในการทำงาน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 ประเทศเยอรมนีก็ได้ให้การต้อนรับการอยู่อาศัยของกษัตริย์วชิราลงกรณ์พร้อมกับคณะผู้ติดตามขบวนใหญ่ในโรงแรมหรูในเยอรมนี ที่อ้างว่ามีความเป็นส่วนตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ใด นอกจากนี้ ยังได้ให้สิทธิยกเว้นการห้ามบินของเขาทั้งที่มีการจำกัดการบินพลเรือนที่เป็นมาตรฐานอยู่ในเยอรมนี ส่งผลให้เกิดการขัดระเบียบของท้องถิ่นโดยคณะของเขาที่อ้างว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ใดนอกคณะของเขา ดังเหตุผลที่ให้ไว้แต่แรกเพื่อขอรับการยกเว้น

อย่างไรก็ตาม กษัตริย์วชิราลงกรณ์ก็ได้ใช้การต้อนรับจากประเทศเยอรมนีอย่างไม่เกรงใจ โดยการร่วมสมคบคิดเพื่อก่ออาชญากรรมด้วยทุนพิเศษในการทำงานของเขาจากเขตแดนประเทศเยอรมนีที่ให้ที่พักอาศัยแก่เขา ประเทศเยอรมนีในขณะนี้จึงเป็นผู้มีส่วนร่วมอันดับแรกและกฎหมายท้องถิ่นของเยอรมนีก็มีส่วนร่วมด้วยในการก่อคดีนี้ นอกจากที่กล่าวมานี้ การดำเนินการส่งตัวผู้ถูกกล่าวหาน่าจะส่งผลบวกแก่ประเทศเยอรมนีจากการถูกมองว่าไร้กฎเกณฑ์ และปล่อยให้คนกระทำผิดไม่ได้รับโทษ ซึ่งเป็นข้อเจรจาและห้ามกระทำโดยข้อตกลงในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ในสถานการณ์เช่นนี้ เยอรมนีมีทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่ คือการเริ่มต้นดำเนินการสอบสวนคดีอาชญากรรมที่มีการบังคับนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ให้สูญหายไป ภายใต้กฎหมายของประเทศเยอรมนีเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎหมายของประเทศไทย

จึงกราบเรียนมายังสถานเอกอัครราชทูตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทยด้วยความเคารพและความห่วงใยอย่างลึกซึ้งต่อสถานการณ์ดังกล่าว ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2563 เพื่อขอรับความอนุเคราะห์ในการพิจารณาและให้ความเห็นต่อเรื่องนี้

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

ลงชื่อ…..

ชื่อ และนามสกุล

19 June 2020

H.E. Peter Prügel
Embassy for the Federal Republic of Germany in Thailand 9 South Sathon Road
Bangkok 10120
Thailand

Subject: Germany’s Engagement with ICPPED in Wanchalaerm Case Dear Ambassador Prügel,

This letter concerns the Federal Republic of Germany’s state responsibility under the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (ICPPED) implicated by the criminal conspiracy to disappear Wanchalearm Satsaksit from his home in Phnom Phen on or about 4 June 2020.

As with any forced disappearance, the precise factual underpinnings are incomplete at this time. To be sure, this is the very heart of the offensive nature of this particular crime against humanity in that it steals from the families of the victims and the public the very right to know what their State has done. In fact, it is the families who are the victims of a forced disappearance who must endure the persistent suffering of empty homes and unanswered questions. The crime of forced disappearance remains active throughout the time that such information is withheld. This means that crime is currently being committed from within the territory of Germany, perpetrated by a resident of Germany, and realized across international borders of other sovereign nations. In such a situation, Germany has consented to an aut dedere aut judicare obligation to investigate the matter under the ICPPED.

The facts of the events are limited but should are sufficient to warrant serious investigation by German law enforcement and diplomats. Wanchalearm Satsaksit represented that he fled Thailand for Cambodia, following the former’s military coup in 2014, out of concerns over his safety in light of his political opinions. Since the transition of power from King Bhumibol Adulyadej to King Maha Vajiralongkorn, there have been well-reported cases of exiled dissidents disappearing, with some later surfacing with evidence of gruesome torture and mutilation. Credible arguments attribute these disappearances to King Maha Vajiralongkorn and certain cadres of the Royal Thai Military under his authority.

Against this background, Wanchalearm Satsaksit began publicly reporting that he was being followed by ununiformed Thai military personnel around his home in Phnom Phen, until he eventually disappeared on or about 4 June. Since then, fragments of information have placed Jakrapob Bhuridej at Wanchalearm Satsaksit’s home and on a flight from Paris to Bangkok immediately preceding the disappearance. King Maha Vajiralongkorn is a long- term resident of the Germany and, with few exceptions, has been inside the country during the relevant times and Jakrapob Bhuridej is King Maha Vajiralongkorn’s head of personal security. Together, the inference is that King Maha Vajiralongkorn ordered Jakrapob Bhuridej on this mission, which appears to have been planned and coordinated from inside Germany.

As a signatory to the ICPPED, Thailand has a legal obligation to not defeat the object and purpose of the convention. As “the State” for the purpose of the instrument, Thailand is both the subject and object of its obligations to prosecute violations with original jurisdiction. Pursuant to Article 9(2), Germany should first examine whether it should extradite or surrender King Maha Vajiralongkorn and Jakrapob Bhuridej to Thailand in accordance with its international obligations before it determines whether it has competence to exercise its own jurisdiction.

The conduct is not specifically criminalised under Thailand’s Criminal Code. However, as with any totalitarian organization, the conduct or actions of the insulated leadership would always be excluded from standards applicable to the broader population and the question of mutuality would be irrelevant. In Thailand, the question is not so much whether this conduct would be excusable under the law, it is rather whether anyone asserting allegations should be punished, inclusive of the judiciary itself. This operation is unlike a traditional immunity for public officials in that it is an operation of the entire machinery of the State to segregate its totalitarian core from all else. This forces the law not to examine whether Article 6(1) will apply to the conduct of its head of state, but whether Article 112 or the Computer Crimes Act are sufficient weapons against anyone posing the question.

This is no mere idle opinion. Instead, it will be born out over the coming days where fierce calls to investigate this very letter will be put to state authorities to invoke both laws against its authors. The pattern is rote: it will likely

begin with a publicized complaint to the Bangkok Metropolitan Police under 112 made, no doubt, by a concerned citizen and accompany an official statement from one or another national law enforcement office that it has opened an investigation under the Computer Crimes Act for the electronic transmission of prohibited materials; journalists will be chilled from reporting on all of it and dissidents will be visited by military intelligence. At no moment in any of those law enforcement operations will there arise the consideration that the allegations herein have merit. Such would be an absurd question in Thailand where the words and actions of its head carry the force of supreme law.

Clearly this is in opposition to the object and purpose of the ICPPED and Germany has worked for several generations to demonstrate the error of this thinking. As such, extradition would implicate Germany’s own state responsibility under the ICPPED and the only option remains to determine its own competency to exercise jurisdiction.

Germany has a sovereign interest in not becoming a hub for foreign heads of state to plan and coordinate crimes against humanity in their nations; an exercise of its sovereignty in this regard is no violation of Thailand’s. While Germany is not “the State” for the purpose of the underlying criminal acts, its obligation under Article 10(1) requires it to take both King Maha Vajiralongkorn and Jakrapob Bhuridej into custody in accordance with Thai law, with the caveat that no immunities may be invoked under the ICPPED. Furthermore, as the state in which the planning and coordination for the underlying crime was committed, Germany has original jurisdiction over that conduct under its own laws. Given the high profile of the accused, there is an urgent need for Germany to also institute immediate travel restrictions for them in order to prevent their abscondence or other spoliation of evidence.

King Maha Vajiralongkorn has long taken residence in Germany, making him an atypical foreign head of state in that he governs with domestic legitimacy but from outside his home nation. His is not a government in exile, but rather a government with a shadow capital. Over the past months during the COVID-19 pandemic, Germany extended its goodwill to allow King Maha Vajiralongkorn to sequester himself with a large entourage in a luxury hotel and further exempted his flights from standard civil aviation restrictions that resulted in breaches to the homogenous nature of the sequestered group that justified the original exemptions.

Notwithstanding, King Maha Vajiralongkorn exploited this goodwill to engage in a criminal conspiracy from his shadow capital from within the shelter of Germany’s territory. Germany is now a principal and its municipal laws are implicated. Additionally, as outlined above, extradition would construct Germany as a derelict state and promote impunity of the sort negotiated and prohibited by the ICPPED. Under the circumstances, Germany’s only option is to commence an investigation into the criminal forced disappearance of Wanchalearm Satsaksit under its own laws, not those of Thailand.

Thus is respectfully submitted on 19 June 2020 to the Embassy of the Federal Republic of Germany in the Kingdom of Thailand for its good review and attention.

With grave concern, /s/
Name Surname