ข่าวแปล: Thai protesters call for end of monarchy on king’s birthday – ในวันเกิดของกษัตริย์ไทย ผู้ประท้วงชาวไทยเรียกร้องให้ยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2 สิงหาคม 2563

โดยทีมงาน ACT4DEM

ที่มาสำนักข่าว DW ของประเทศเยอรมนี   “Thai protesters call for end of monarchy on king’s birthday

ในวันเกิดของกษัตริย์ไทย ผู้ประท้วงชาวไทยเรียกร้องให้ยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ความไม่ยี่หระต่อสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ของกษัตริย์ไทย ทำให้เขาตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จากทั้งชาวไทยและชาวโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ยิ่งในระหว่างที่ประเทศไทยกำลังดิ้นรนต่อสู้เอาตัวรอดในวิกฤติการณ์ กษัตริย์ไทยยังคงท่องเที่ยวไปมาอย่างสุขสำราญอยู่ในเยอรมนี

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ประเทศไทยได้จัดงานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ด้วยพิธีทางศาสนา และการแสดงต่างๆ ทว่าเจ้าของวันเกิดกลับไม่ได้อยู่ร่วมงานเหล่านั้น

ในขณะที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น และประเทศไทยต้องเผชิญกับโรคระบาดโควิด-19 ระหว่างนั้นกษัตริย์ไทยและผู้รับใช้ของเขากลับหลบไปพำนักอยู่ในโรงแรมหรูท่ามกลางหุบเขาแอลป์ ทั้งนี้เป็นที่รู้กันทั่วว่ากษัตริย์ไทยอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนีมาเป็นเวลานานแล้ว

เมื่อเช้าของวันคล้ายวันเกิดของวชิราลงกรณ์ นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันท์โอชาได้เป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ พร้อมกับคณะรัฐมนตรี และพระสงฆ์ 69 รูป ณ ท้องสนามหลวง

“พวกเราขอสาบานตนด้วยความจงรักภักดี ว่าจะเป็นข้าราชการที่ดี และเป็นพลังของแผ่นดิน เราจะดำเนินตามรอยทางของพระมหากษัตริย์เพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ และประชาชน” ประยุทธ์และเหล่าคณะรัฐมนตรีกล่าว

สำหรับชาวไทยผู้สนับสนุนและเชิดชูราชวงศ์แล้ว งานวันคล้ายวันเกิดของวชิราลงกรณ์มีความสำคัญมาก แต่สำหรับชาวไทยผู้ไม่ศรัทธา นี่เป็นเพียงแค่เครื่องตอกย้ำความทรงจำถึงพิธีคร่ำครึ และความแตกต่างทางชนชั้นในประเทศไทย

กระแสต่อต้านสถาบันกษัตริย์ที่ดังขึ้นเรื่อยๆ

แม้ว่าจะมีการเสนอข่าวเกี่ยวกับชีวิตที่หรูหราของกษัตริย์ไทยอย่างมากมายในสื่อทั่วโลก แต่เนื้อหาข่าวเหล่านี้ก็ถูกปิดกั้นในประเทศไทยเนื่องจากกฎหมายมาตรา 112 ที่ห้ามการแสดงความคิดเห็นที่เป็นลบต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ใครที่ฝ่าฝืนจะมีโทษทางอาญาและอาจถูกจำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ว่า กษัตริย์ได้มีพระเมตตารับสั่งให้ไม่ให้ใช้กฎหมายมาตรา 112แต่ก็เตือนประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์ให้ระวังตัวเอาไว้ให้ดี

ความไม่ยี่หระของวชิราลงกรณ์ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ท่ามกลางความคาดหวังความช่วยเหลือจากประชาชนในประเทศ กลายมาเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

จรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมชาวไทยที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์กับ DW “กฎหมายมาตรา 112 นั้นยังคงถูกนำมาใช้คุกคามประชาชน อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ”

ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายที่ป่าเถื่อนไว้ลงโทษผู้ที่วิจารณ์สถาบัน แต่ชาวไทยจำนวนมากก็แสดงออกถึงความไม่พอใจทั้งบนถนน และบนสื่อออนไลน์ ดังที่ได้เห็นจากกลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลที่เป็นนักศึกษาว่ามีการถือป้ายกระดาษ และป้ายผ้าที่มีข้อความเสียดสี ล้อเลียนกษัตริย์แบบอ้อมๆ

กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้จัดการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม โดยเรียกร้องให้ยุบสภา หยุดคุกคามประชาชนผู้เห็นต่าง และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พวกเขาได้ชูป้าย “หมดศรัทธาไม่ใช่อาชญากรรม” และ “เราไม่ได้หมดศรัทธา เพราะเราไม่เคยศรัทธา” โดยเป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐจับกุมนักเรียกร้องสิทธิ ทิวากร วิธีตน

“เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว”

ทิวากร ได้ถูกควบคุมตัวในโรงพยาบาลจิตเวชตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่เขาออกมาวิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทยได้ถูกบังคับให้สูญหายในกัมพูชา

ทิวากรได้ลงรูปของตนเองบนเฟสบุคโดยใส่เสื้อยืดที่มีข้อความว่า “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” หลังจากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปพบและพยายามหว่านล้อมให้ทิวากรหยุดใส่เสื้อยืดที่มีข้อความดังกล่าว เพราะจะเป็นการทำให้เกิดความแตกแยกในประเทศ แต่ทิวากรก็ยังยืนกรานที่จะใส่เสื้อยืดตัวดังกล่าวต่อไป ทำให้เขาถูกควบคุมตัวไปจากบ้านของเขาที่ขอนแก่น

“มันเป็นเรื่องทางการแพทย์” พล.ต.ต.พุฒิพงศ์ มุสิกูล ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดขอนแก่น ได้ให้สัมภาษณ์กับ DW และปฎิเสธการให้ข้อมูลเพิ่มเติม

การจับกุมตัวทิวากรไปโดยไม่มีหลักฐานว่าเขากระทำผิด ทำให้เกิดความไม่พอใจในโลกออนไลน์ โดยมีผู้คนจำนวนมากออกมาเรียกร้องการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วยแฮชแท็ค #saveวันเฉลิม และ #ยกเลิก112

หลังจากถูกควบคุมตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาสองสัปดาห์ ในวันที่ 22 กรกฎาคม ทิวากรก็ได้รับการปล่อยตัวโดยที่ไม่มีใครคาดคิด เขาเองก็คิดว่านี่เป็นผลจากการประท้วงของประชาชนให้ปล่อยตัวเขา

“ตอนนี้ผมต้องการพักฟื้นทั้งร่างกายและจิตใจหลังจากที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช” ทิวากรกล่าว

การประท้วงที่ขยายตัวไปสู่เยอรมนี

ไกลออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้กว่า 8,500 กิโลเมตรจากประเทศไทย สมาชิกขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเยอรมนีPixelHELPER และชาวไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศมารวมตัวกันเพื่อประท้วงในวันคล้ายวันเกิดของวชิราลงกรณ์

กลุ่มผู้ชุมนุมนำโดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ มารวมตัวอยู่หน้าประตูชัย บรันเดินบวร์ก ในกรุงเบอร์ลินถือป้ายที่เขียนว่า “ส่งกษัตริย์ไทยไปศาลอาญาโลก (ICC)” และพวกเขายังตั้งเครื่องกิโยตินจำลอง พร้อมกับรูปล้อเลียนกษัตริย์ไทยอยู่ในคุก

“เป้าหมายของเราคือการยกเลิกระบอบกษัตริย์” จรรยานักกิจกรรมวัย 54 ปี ได้ใช้วิธีที่แปลกใหม่ในการประท้วง ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเธอและผู้ร่วมประท้วงได้ทำการฉายแสงโปรเจคเตอร์เพื่อแสดงข้อความต่อต้านสถาบันบนกำแพงด้านหน้าโรงแรมแกรนด์ซอนเนินบิเชิล ในการ์มิชพาร์เทินเคอร์เชิน ที่ซึ่งกษัตริย์ไทยพำนักอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการฉายแสงบนอาคารสำคัญต่างๆ เช่นรัฐสภาเยอรมนี และบ้านของนายกรัฐมนตรีเยอรมัน แองเกอลา เมอร์เคิล

กลุ่มผู้เคลื่อนไหวยังคงเดินหน้าที่จะยกระดับการประท้วงขึ้นอีก “เรากำลังดำเนินการหารถดับเพลิงเก่าเพื่อนำมาฉีดน้ำต้อนรับกษัตริย์ไทยในเวลาที่เขาออกมาปั่นจักรยานเล่น เราต้องการทำให้เขาหมดสนุก และตระหนักเสียทีว่าควรหยุดใช้ชีวิตหรูหราไร้สาระในเยอรมนีได้แล้ว” โอลิเวอร์ เบียนโคว์สกี้ ผู้ก่อตั้งองค์กร PixelHELPER กล่าว

ในการให้สัมภาษณ์กับ DW โอลิเวอร์ยังบอกอีกว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะปักหลักประท้วงอยู่หน้าโรงแรมที่กษัตริย์พำนักอยู่ และยังมีแผนที่จะขยายการชุมนุมไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป รวมถึงสวิสเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งเชื่อกันว่าราชินีสุทิดาพำนักอยู่ องค์กร PixelHELPER ยังมีเป้าหมายที่จะใช้ความเป็นประเทศท่องเที่ยวของไทยเพื่อทำให้ชาวเยอรมันได้ตระหนักถึงปัญหาของประเทศนี้มากขึ้น

DW ได้พยายามติดต่อสำนักพระราชวังไทย เพื่อสอบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด

Thai protesters call for end of monarchy on king’s birthday

From DW  “Thai protesters call for end of monarchy on king’s birthday

The king’s passivity during the COVID-19 pandemic has made him the target of unprecedented criticism at home and abroad. As Thailand struggles to cope with the crisis, he is gallivanting miles away in Germany.

Thailand celebrated the 68th birthday of King Maha Vajiralongkorn on Tuesday with official religious ceremonies and public displays of loyalty throughout the country. The king himself, however, was absent from his own festivities.

As anti-government protests gain momentum and the impacts of the COVID-19 pandemic grip the country, the monarch and his entourage have sought refuge in a luxurious hotel in the Bavarian Alps. The Thai king is known to reside in Germany for long periods of time.

On the morning of the king’s birthday, Prime Minister Prayuth Chan-ocha led an annual oath-swearing ceremony with his cabinet members and 69 Buddhist monks in Bangkok’s Sanam Luang Square — vowing to be loyal civil servants to the king, also known as Rama X.

“We solemnly swear that we will do good work and be the strength of the country. We will follow in His Majesty’s footsteps to solve the problems of the nation and the people,” said Prayut and his cabinet.

For Thais who revere the monarchy, Vajiralongkorn’s birthday is an important time of year. For others, it is a reminder of outdated traditions and the mass inequality that exists in the country.

Growing anti-monarchy sentiments

Coverage of the king’s lavish life abroad circulating in foreign media outlets cannot be reported in Thailand due to its strict lese majeste law, which prohibits any disparaging statements or opinions about the king and the royal family. Failing to adhere to Article 112 is a crime punishable by three to 15 years in prison.

In June, the prime minister said the king, in his “compassion,” had instructed the government not to enforce Article 112 for persecutions but warned that anyone who criticizes the monarchy risks their livelihood.

Vajiralongkorn’s passivity during the pandemic has also made him the target of unprecedented criticism in a country where the monarchy plays an important role for many.

Exiled activist Junya Yimprasert told DW: “Article 112 is still a threat as long as it exists because it’s used periodically and systematically.”

Despite draconian laws on speaking out against the monarchy, Thais have taken to the streets and social media platforms to vocalize their frustrations. Student-led anti-government protests have been spotted, with demonstrators brandishing placards and banners with messages critical of the king. The slogans, however, were disguised with slang and sarcasm.

The Free Youth movement staged a political rally in Bangkok on July 18 to demand the dissolution of parliament and an end to crackdowns on anyone opposing the government and constitutional reforms. They carried signs reading “Lost faith is definitely not a crime” and “We didn’t lose faith because we never had faith,” referring to political and human rights activist Tiwagorn Withiton.

‘I lost faith in the monarchy’

Withiton was admitted to a psychiatric hospital in early July against his will after he spoke out against the forced disappearance of Thai dissident Wanchalearm Satsaksit in Cambodia. Satsaksit had been critical of Thailand’s military and monarchy.

Withiton had posted a photo on Facebook in which he was wearing a T-shirt emblazoned with “I lost faith in the monarchy.” Security officers paid him a visit and tried to convince him to stop wearing the T-shirt, citing that it could cause division in Thailand.

After continuing to wear the T-shirt in public, the activist was taken forcibly from his home in the northeastern province of Khon Kaen.

“It’s a medical issue,” Major General Puttiphong Musikun, provincial police chief for Khon Kaen, told DW, without giving further details.

Withiton’s alleged abduction sparked an online uproar, with netizens demanding answers under the hashtags #SaveWanchalearm and #Abolish112.

After two weeks in hospital, Withiton was unexpectedly freed on July 22. He said ongoing protests calling for his release were the catalyst for his freedom.

“Right now, I have to recover physically and emotionally after being admitted to the hospital,” said Withiton.

Protests expand to Germany

Led by exiled activist Junya Yimprasert, protesters gathered in front of Berlin’s Brandenburg Gate and held signs which read: “Thai king to International Criminal Court (ICC).” They also erected a makeshift guillotine with a caricature of Rama X behind bars.

Some 8,500 kilometers (5,300 miles) to the northwest, members of the German non-profit PixelHELPER Foundation and Thai nationals living abroad gathered to stage a protest on the king’s birthday.

“Our goal is to abolish the monarchy,” said Yimprasert. The 54-year-old has been using an unconventional approach to catch the king’s attention. For weeks, she and fellow protesters have used a light projector to display anti-monarchy messages on the front walls of the Grand Hotel Sonnenbichl in Garmisch-Partenkirchen, where the king currently resides.

To garner more attention, the group has also projected comical illustrations featuring Rama X onto the walls of the German parliament and the home of Chancellor Angela Merkel.

The activists now intend to step up the protest. “We are searching for old fire brigade cars to drive alongside him [the king] when he goes biking. We want to end the fun of his private life and convey to him that it’s not so nice that he stays in Germany,” said PixelHELPER founder Oliver Bienkowski.

Speaking with DW, Bienkowski said the group is also planning to stage a 24/7 protest in front of the king’s hotel and expand their efforts to other European countries, including Switzerland, where Queen Suthida is believed to be staying.

The Berlin-based organization also wants to target Thailand’s tourism sector to make Germans “aware of the situation” in the Southeast Asian country.

Thailand’s Royal Office did not respond to DW’s requests for comments about the ongoing protests and the king’s role in Thailand given his absence.