Fourth letter – จดหมายฉบับที่ 4 “ความจำเป็นในการออกมาตรการแทรกแซงเพื่อปกป้องทนายอานนท์ นำภา”

4 สิงหาคม2563

พณ.ท่าน เอกอัครราชทูต มร. เกร์ก ชมิดท์

สถานเอกอัครราชทูตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย

9 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 ประเทศไทย

เรื่อง ความจำเป็นในการออกมาตรการแทรกแซงเพื่อปกป้องทนายอานนท์ นำภา

กราบเรียน พณ.ท่าน เอกอัครราชทูต มร.ชมิดท์

นับเป็นจดหมายฉบับที่สี่่ที่องค์กรของเราขออนุญาตส่งถึงสถานเอกอัครราชทูตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย โดยเป็นจดหมายที่เราไม่ได้วางแผนจะเขียนมาก่อน

ณ เวลานี้ ประเด็นสถานการณ์ที่เราได้นำเสนอมาในจดหมายสามฉบับก่อนหน้านี้ของเราน่าจะเป็นที่รับทราบอย่างชัดเจนแล้ว โดยในจดหมายสองฉบับแรกของเรา ได้นำเรียนถึงอาชญากรรมที่เกิดขึ้นมาในอดีต ซึ่งได้ระบุรายชือของเหยื่ออาชญากรรมดังกล่าวให้เป็นที่่รับทราบ แต่ในจดหมายฉบับที่สามของเราไม่ได้นำเรียนถึงชื่อของผู้ใด แต่มุ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย จดหมายสองฉบับแรกได้ยึดโยงความรับผิดชอบตามกฎหมายที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีพึงมต่อการประกอบอาชญากรรมที่ได้่ก่อเกิดขึ้้นในเขตอำนาจศาลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แม้ว่าจดหมายฉบับที่สามของเราไม่ได้มีน้ำหนักมากเท่า แต่ได้อาศัยผลกระทบในแง่ลบทางการทูตที่จะสร้างแรงสั่นสะเทือน หากมีการเพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

ในจดหมายฉบับนี้ เราขอนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการประกอบอาชญากรรมที่ปัจจุบันมีต้นทางมาจากเขตอำนาจศาลของประเทศเยอรมนี ซึ่งนับเป็นการนำประเด็นร่วมยุคสมัยมาพูดคุยกันเป็นครั้งแรก หากเราจะรับฟังอย่างตั้งใจในบางช่องทาง เราจะได้ยินบทสนทนาที่ร้อนระอุจากบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช้ภาษาของคนธรรมดา เกี่ยวกับนายอานนท์ นำภา และข้อเรียกร้องของเขาที่ได้พูดต่อที่ชุมนุมสาธารณะ เพื่อขอให้ประเทศไทยหวนกลับมายึดมั่นหลักการประชาธิปไตย ประเด็นสนทนาของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเกิดขึ้นถี่ในรอบหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เพียงแค่มีการแทนชื่อของคนที่ตกเป็นเป้าหมายในการสนทนาด้วยชื่ออื่น และคงอีกไม่นาน คำสั่งให้มีการก่ออาชญากรรมคงจะออกมา และนำไปสู่การลงมือปฎิบัติผ่านเส้นทางการบังคับบัญชาที่เป็นทางการของไทย เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาแล้วในอดีต ในขณะนี้การพูดคุยที่กำลังนำไปสู่อาชญากรรมดังกล่าวกำลังชั่งน้ำหนักความเสี่ยงระหว่างการกระทำเกินเลยของตัวเอง และความเป็นข่าวที่ดังไปถึงต่างประเทศของเหตุการณ์ในวันนี้ของประเทศไทย แต่ตัวผู้พูดกลับไม่ตระหนักว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อธรรมเนียมประเพณีทางการทูตที่ไทยได้รับภายใต้เขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

กรณีของนายอานนท์ นำภา มีความพิเศษตรงที่อยู่ในข้อหนึ่งของกรอบความรับผิดชอบทั้งมวลตามที่ได้ระบุไว้ในจดหมายที่เคยเขียนมาถึงท่านก่อนหน้านี้ การพูดต่อที่ชุมนุมสาธารณะของนายอานนท์ นำภา เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยที่ยังคงถือว่ามีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการจี้จุดใจกลางความกลัวของกษัตริย์วชิราลงกรณ์และองคาพยพของระบบเผด็จการรวมศูนย์อำนาจของพระองค์ ดังนี้เป็นความกลัวของกษัตริย์ทุกพระองค์ ซึ่งผ่านการพิสูจน์ให้เราได้เห็นอย่างชัดเจนจากการปฎิวัติในปี พ.. 2475 ของไทย ซึ่งหลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ก็ได้มีความพยายามที่จะทำให้ประเทศไทยกลับไปสู่ระบบเผด็จการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กษัตริย์เหมือนเดิมดังเช่นที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ สิ่งที่อานนท์ได้กล่าวถึง ระบบนี้ใช้อาวุธเดียวที่ทรงประสิทธิภาพ ดังน้ั้น เขาก็คือเหยื่อในอนาคต แบบเหยื่อที่โดนมาแล้วในอดีต ที่จดหมายฉบับนี้ของเราขอระบุถึง

รัฐบาลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีภาระหน้าที่ในฐานะประเทศที่เข้าเป็นภาคีในการพิจารณาหาข้อยุติอาชญากรรมที่เป็นไปได้ในกรณีนี้ รวมถึงมาตรการอื่นๆที่จะมีนอกจากนี้ ด้วยความเคารพและขอบพระคุณเป็นอย่างสูงจากองค์กรของเรา โปรดรับฟังเสียงสนทนาของกลุ่มบุคคลดังกล่าวอย่างตั้งใจ

จึงกราบเรียนมาด้วยความห่วงใยอย่างลึกซึ้ง

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

(ลงชื่่อ)

ชื่อ นามสกุล

สำเนาส่ง

Gyde Jensen, Chair for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs Dr. Norbert Röttgen, Chair for Bundestag Committee on Foreign Affairs

Wolfgang Hellmich, Chair for Bundestag Committee on Defence

Margarete Bause, Spokesperson for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs

Zaklin Nastic, Spokesperson for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs

Dr. Peter Frank, Public Prosecutor General of the Federal Court of Justice

ฟังคำปราศรัยของทนายอานนท์ นำภา

—————–+

4 August 2020

H.E. Mr. Georg Schmidt
Embassy for the Federal Republic of Germany in Thailand 9 South Sathon Road
Bangkok, Thailand 10120

Subject: Protective Intervention Required for Anon Nampa

Dear Ambassador Schmidt,

This is my fourth letter to the Embassy for the Federal Republic of Germany in Thailand and one I had not planned to write.

By this point is should be clear the general tenor of my points as previously laid out in my previous three letters. My first two discussed past criminal activity that had already secured their victims. My third took a turn at a possible future event that historical trends teach will soon come to pass. The former were grounded legal responsibilities that the Federal Republic of Germany has in regard to criminal conduct completed in its jurisdiction, while the latter was more attenuated and grounded in diplomatic blowback that will be felt if inaction took root.

This letter provides the first contemporaneous discussion of criminal activity currently initiating from your jurisdiction. If one were to simply listen carefully to certain rooms, one would hear a discussion in an esoteric dialect about Anon Nampa and his public call for democratic principles. This discussion has been had in that room on many occasions in recent weeks with a simple interchange of names used as targets. Soon, the order for criminal action will issue and make its well-worn journey into the command structure of official Thailand. That discussion, this moment, is weighing the risks of overplaying a hand against what has today become international news but has long since been a breach of the diplomatic customs afforded under German sovereignty.

The case of Anon Nampa is unique in that it stands at the nexus of the responsibilities I outlined in my previous letters. His statements regarding the role of the Thai monarchy in a democratic Thailand is at the heart of the fear held by Maha Vajiralonkhorn’s totalitarian machine. It is the fear of all monarchs, but it was proven so real by the 1932 reforms that the entirety of the remaining years sought to rebuild that machine to its current state. Anon Nampa articulated the only weapon that is effective, and he is, as such, the future past-victim under this letter.

The government of the Federal Republic of Germany has an obligation as a state participant to arbitrate a solution to this and more. Go listen to that room.

With grave concern, /s/ Name Surname

cc.

Gyde Jensen, Chair for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs
Dr. Norbert Röttgen, Chair for Bundestag Committee on Foreign Affairs
Wolfgang Hellmich, Chair for Bundestag Committee on Defense
Margarete Bause, Spokesperson for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs Zaklin Nastic, Spokesperson for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs

Dr. Peter Frank, Public Prosecutor General of the Federal Court of Justice