ส่อง Campaign Abolish Article 112, ยกเลิกมาตรา 112 กับ ACT4DEM 2011 – 2012

จรรยา ยิ้มประเสริฐ

9 ธันวาคม 2563

In 2011, ACT4DEM run a campaign to Abolish Lese Majeste Law, article 112 of the Penal Code of Thailand. Now that the Thai people are demanding, the Thai Junta to abolish this law. ACT4DEM would like to present the reason why this law must be abolished again here. Please scroll down to read the petition in English and French below.
For more information on the campaign to Abolish Article 112 please visit http://hirvikatu10.net/timeupthailand/?cat=19
ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่การเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยกลับมาอีกครั้ง ACT4DEM ขอถือโอกาสนี้ นำเสนอประเด็นและบทสรุปของการรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 ที่ทางเราได้มีการรณรงค์ต่อเนื่องมาตลอดนับตั้งแต่ปี 2553 และส่งจดหมายพร้อมข้อเรียกร้องและผู้สนับสนุนไปให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้ด้วยความขอบคุณยิ่งต่ออาจารย์สุดา รังกุพันธุ์ และคุณเจริญชัย แซ่ตั้ง ที่เป็นผู้นำเอกสารเรียกร้องให้มีการยกเลิกมาตรา 112 ของเราไปยื่นให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 
ซึ่ง ACT4DEM ไม่ใช่องค์กรเดียวในตอนนั้นที่รณรงค์ให้มีการยกเลิกมาตรา 112 แต่ยังมีอาจารย์และกลุ่มองค์กรในประเทศไทย ที่มีการณรงค์ให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 กันด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะที่นำโดยคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขในปี 2553 จนเป็นเหตุให้คุณสมยศถูกกลั่นแกล้งยัดข้อหามาตรา 112 จนติดคุกถึงอยุติธรรมถึง 7 ปี และก็ยังมีกลุ่มนิติราษฎร์ที่นำโดยอาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์หลายคนที่ทำการรณรงค์ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 โดยมีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนเป็นอย่างมาก
แต่ไม่ว่าจะมีข้อเรียกร้องเสนอไปยังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในขณะนั้นกี่ฉบับกี่ตาม เรื่องนี้ก็ไม่ได้มีการถูกหยิบยกมาพิจารณาในตอนนั้น 
เราหวังว่า ข้อเรียกร้องต่างๆ เหล่านี้จากทุกกลุ่มในอดีตและทุกกลุ่มที่การเคลื่อนไหวให้ยกเลิกมาตรา 112 ในขณะนี้ จะได้รับการหยิบยกมาพิจารณากันอย่างจริงจัง และให้มีการยกเลิกมาตรา 112 ตามการเรียกร้องของภาคประชาชน
ACT4DEM ขอนำถ้อยคำแห่งแคมเปญ “ยกเลิกมาตรา 112” และการเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองในปี 2554 กลับมานำเสนอให้ทุกท่านได้ร่วมรำลึกกันอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ ต้องขอกล่าวอีกครั้งว่า ขอบคุณเป็นอย่างสูงต่อทุกท่านในปี 2554 ที่มีความกล้าหาญอย่างยิ่งในการร่วมลงชื่อในการรณงค์ครั้งนั้น ขอบคุณเป็นอย่างสูงมา​ ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง
เอกสารรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 http://hirvikatu10.net/timeupthailand/?cat=20

+————-+

ข้อเรียกร้องถึง

รัฐบาลของประเทศไทย และองค์กรอาเซียน

เพื่อให้มีการ

ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 ของประมวลกฏหมายอาญา)

และเรียกร้องให้ปล่อยตัว

นักโทษการเมืองและนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคน

คำปรารภ

ข้อเสนอแนะฉบับนี้ จัดทำโดยประชาชนและองค์กรที่รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับอนาคตแห่งประชาธิปไตยของประเทศไทย และของกลุ่มประเทศอาเซียน หลังจากเหตุการณ์การที่กองกำลังของกองทัพไทยเคลื่อนเข้าปราบปรามและ สังหารหมู่ประชาชนเมื่อเดือนเมษายน และ พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 93 คน และ บาดเจ็บ 2,000 คน กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้ถูกนำมาใช้รุนแรงมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้คนที่รู้สึกสุดทนมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อความอยุติธรรมในประเทศไทยเกิดความกลัวและไม่กล้าแสดงความคิดเห็นใดๆ ถ้าไม่ได้อยู่ในคุก แกนนำเกือบทุกคนที่ต่อต้านรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่างก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ข้อเรียกร้องฉบับนี้ จะก้าวข้ามประเด็นแห่งการโฆษณาชวนเชื่อและข้อห้ามต่างๆ ของค่ายนิยมกษัตริย์  และพุ่งเป้าไปยังต้นตอของวิกฤติการเมืองไทยในปัจจุบัน นั่นก็คือผลกระทบที่เกิดจากความน่าสะพรึงกลัวของกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่มีต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยและกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นอกจากจะปฏิเสธที่จะตัดสินลงโทษกลุ่มพันธมิตร ที่ปฏิบัติการยึดทำเนียบรัฐบาลและปิดสนามบินนานาชาติ ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญของไทยยังได้แสดงให้โลกเห็นอีกครั้งหนึ่งว่าศาลนี้เป็นเช่นไร ด้วยการตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อที่พรรครอยัลลิสต์ ประชาธิปัตย์มีอำนาจบริหารประเทศ เพียง 8 วันหลังจากนั้น ประเทศไทยเฉลิมฉลอง 60 ปีที่ประเทศไทยได้ลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2491 แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนชาวไทยไม่เคยประสบพบพานกับวิถีชีวิตที่ “มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ” ซึ่งระบุเอาไว้ใน “อรัมภบท” ของสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แม้แต่น้อย

2475

หลังจากการที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชถูกโค่นล้มไปเมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2475  ประเทศไทยควรจะเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ “พระมหากษัตริย์ภายใต้ประชาธิปไตย” กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีผลบังคับใช้มามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 และระบุเป็นลายลักษณ์อักษรในประมวลกฏหมายอาญา เมื่อปี พ.ศ. 2452 คณะราษฏร ได้ออกกฎหมายมาตรา 104 ระบุว่า “การวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์และรัฐบาล หรือทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนไม่ใช่ความผิดทางอาญา หากว่าการวิจารณ์นั้น มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญ และเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน แต่หลังจากนั้นเพียง 15 ปี ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยก็ถูกทำลาย ด้วยการทำรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พัฒนาการของประชาชนและประเทศไทยตกอยู่ในวังวนซ้ำซากของระบอบ “ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และในอุ้มมือของ “ชนชั้นสูง” ที่กุมอำนาจในเมืองไทย เนื่องจากข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้” ตลอด 63 ปีที่ผ่านมา สิทธิของประชาชนในประเทศไทยถูกละเมิดอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบมาโดยตลอด

มาตรา 112

ในปี พ.ศ. 2499 จอมพลป. พิบูลสงครามได้ปรับกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา เพิ่มโทษสูงสุดเป็นการจำคุก 7 ปี ด้วยมาตรการ “ปราบปรามคอมมิวนิสต์” และ “ปกป้องสถาบันกษัตริย์” บรรดานายพลได้ใช้สถานะกษัตริย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ เป็นข้ออ้างในความชอบธรรมที่จะกดหัวประชาชน หรือแม้แต่ฆ่าใครก็ตามที่พวกเขาเห็นว่ามีความเป็นไปได้ว่า “จะหรือเป็นบุคคลอันตราย” ด้วยข้อมูลที่น้อยนิดที่ทางการเปิดให้ประชาชนได้รับรู้ มีประชาชนประมาณ 11,000 คน ที่ถูกสังหาด้วยเงื่อนไขทางการเมือง ในบรรดาคนเหล่านี้ มีตั้งแต่ชาวนา กรรมกร นักศึกษา คนยากจน รัฐมนตรี สมาชิกผู้แทนราษฏร นักวิชาการ นักเขียน นักข่าว และอื่นๆ เพราะว่าข้อมูลที่เปิดเผยให้ประชาชนเห็นมีน้อยมาก และการขาดการวิจัย สืบหาข้อเท็จจริง จำนวนคนไทยที่ได้เสียชีวิตจากการถูกคุกคามสรีภาพ และจากการออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2499 นั้น ไม่มีใครทราบแน่นอน แต่คาดว่าน่าจะมีใกล้เคียงหรือมากกว่า 3 หมื่นคน (ดู 60 ปีแห่งการกดขี่สิทธิและเสรีภาพในประเทศไทย) นอกจากการโหมโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการ “ปกป้องสถาบันกษัตริย์” และการปลุกปั่นยั่งยุให้พวกนิยมลัทธิกษัตริย์ใช้ความรุนแรง ด้วยคำขวัญ “การฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” และ การโหมโฆษณา “เรารักพระเจ้าอยู่หัว” กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งของผู้มีอำนาจที่จะปิดปากประชาชน ไม่ให้กล้าส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ

การใช้อำนาจในทางมิชอบ

หลังจากการสังหารหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รัฐบาลที่ยึดอำนาจประชาธิปไตยของประชาชน ได้เพิ่มโทษสูงสุดของกฏหมายหมิ่นฯ มาตรา 112  ให้รุนแรงกว่าเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับที่มีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” ภายใต้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ว่า “ใครก็สามารถกล่าวหาใครก็ได้” ว่า “หมิ่นอำนาจองค์พระมหากษัตริย์” ไม่ใช่เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้นแต่ในช่วงระยะเวลา 15 ปี “ใครก็สามารถแจ้งจับใครก็ได้” “ไม่ว่าคำกล่าวหาจะจริงหรือไม่จริง” บรรยากาศของความหวาดระแวงเช่นนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่วิถีอำนาจ “แบ่งแยกและปกครอง” ที่ได้รับการค้ำจุนด้วยทหารรักษาพระองค์ร่วม 50,000 คน  ที่เป็นกองกำลังที่ได้รับการฝึกซ้อมอย่างดีและมีอาวุธยุทโปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุด  – โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาจากภาษีประชาชนชาวไทยทั้งสิ้น ตลอดเวลา 64 ปีที่กษัตริย์ภูมิพลเป็นองค์พระประมุขของประเทศไทย วังได้เซ็นยอมรับการรัฐประหารประมาณ 10 ครั้ง การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน เมื่อปี 2549 ที่โค่นรัฐบาลพรรคไทยรักไทยของทักษิณ ชินวัตรได้นำผู้คนนับแสนออกมาประท้วงบนท้องถนน เรียกร้องให้รัฐบาลหุ้นเชิดอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ผู้ประท้วงส่วนใหญ่ใส่เสื้อสีแดง นับตั้งแต่นั้นมา การอ้างว่าเพื่อ “ความมั่นคงของชาติ” และ “ปกป้องสถาบันฯ” เพื่อเป็นเครื่องมือบังหน้ารัฐบาลรอยัลลิสต์ได้ใช้มาตรา 112 อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อปิดปากไม่ให้ใครกล้าวิจารณ์ผู้มีอำนาจในด้านลบ โดยเฉพาะการวิจารณ์การลงมาแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตยของวัง นายทหาร  และคณะตุลาการ เพื่อดำรงไว้ซึ่งระบบ “แบ่งแยกและปกครอง” ในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 การประท้วงของคนเสื้อแดงหลายหมื่นคนถูกตีแตกพ่ายโดยกองกำลังทหารรักษาพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มทหารเสือราชินี  นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกคำสั่งอนุญาตให้กองทัพใช้กระสุนจริงกับผู้ชุมนุมได้ใน “เขตกระสุนจริง” ณ กลางกรุงเทพมหานคร ในช่วงระหว่าง 10 เมษายน ถึง 19 พฤษภาคม จึงคละคลุ้งไปด้วยควันระเบิดและควันปืนที่โหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่ออำนาจอธิปไตย  มีผู้เสียชีวิต 93 คน ส่วนใหญ่ถูกยิงที่ศีรษะหรือที่หน้าอกจากการสไนเปอร์ มีผู้บาดเจ็บร่วม 2,000 คน

ทะลายความเงียบ

เมื่อประชาชนจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งนักวิชาการ เริ่มแสดงท่าที่แห่งความโกรธและความคับค้องใจที่มีต่อทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลอภิสิทธิ์ เริ่มมาตรการควบคุมการเข้าถึงอินเตอร์เนตมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจัดตั้งกองกำลังลูกเสือไซเบอร์ เพื่อคอยจับตาดูผู้คนในสังคมไซเบอร์ตลอด 24 ชั่วโมง และยังได้ตั้งหน่วยสืบสวนพิเศษภายใต้การกำกับของดีเอสไอ ที่มีหน้าที่เฉพาะในด้านการสอบสวนและจับกุมผู้คนด้วยกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกฏหมายพรบ. คอมพิวเตอร์ที่ออกมาในปี พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2554 แม้แต่องค์กร Freedom House ได้ลดอันดับสิทธิและเสรีภาพของประเทศไทย จากระดับ “พอมีสิทธิเสรีภาพบ้าง” มาสู่ระดับ “ไม่มีสิทธิและเสรีภาพทางสื่อและเนต” นักข่าวไร้พรมแดนได้ลดอันดับความมีสิทธิเสรีภาพในการรับข่าวสารของประเทศไทย จากลำดับที่ 59 ไปอยู่ที่ลำดับ 153 หลังจากการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 มีผู้คนที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว จากไม่เกิน 10 คนต่อปี เป็น 100 คนต่อปี และในปี 2553 จำนวนผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 500 คน ทุกวันนี้ ไม่มีใครรู้ว่ามีคนที่ต้องติดคุกด้วยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกี่ร้อยคน หรือถูกดำเนินคดีกี่คน ขนาดนักกฏหมายของเราก็ไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้

นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคือนักโทษการเมือง

ผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่วนใหญ่จะถูกโยนเข้าคุกทันที หลังจากถูกจับกุม โดยไม่มีโอกาสแม้กระทั่งที่จะขอประกันตัวเพื่อเตรียมตัวสู้คดี ขณะอยู่ในคุก บ่อยครั้งที่พวกเขาถูกลงโทษหนักกว่าคนอื่น มีแต่บุคคลที่มีชื่อเสียงบางคน หรือเศรษฐีเท่านั้น ที่จะสามารถต่อรองการขอประกันตัวได้ คนส่วนใหญ่หลังจากถูกกล่าวหาในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะต้องหลบซ่อนตัว หรือหนีออกนอกประเทศให้เร็วที่สุด

เราขอยกตัวอย่างบุคคลเหล่านี้บางคนเพื่อให้ท่านเข้าใจกับสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ให้ดีขึ้น

ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล, 48 ผู้สื่อข่าวที่ออกมาร่วมประท้วงหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 เธอถูกจับขังคุกตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 และกำลังมีปัญหาด้านสุชภาพ แต่เธอไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่กระนั้นเธอก็ยืนหยัดต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม

ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล, 39 พ่อคนโสด และนักออกแบบเว็บไซด์เสื้อแดง ถูกตำรวจกลุ่มหนึ่งบุกจับที่บ้านและถูกขังคุกทันที ตำรวจกล่าวหาว่าเว็บไซด์ นปช.ยูเอสเอ เป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ เขาเขียนจดหมายจากคุกถึงลูกชายวัย 10 ขวบของเขาว่า … สิ่งเดียวในตอนนี้ที่ป๊าหวังมากที่สุดนั่นคือการได้ออกไปอยู่กับน้องเว็บอีก ครั้งโดยเร็ว “น้องเว็บต้องรู้ไว้เสมอนะว่าป๊าไม่ได้ฆ่าคนตาย ป๊าไม่ได้คดโกงใคร ไม่ได้ขายยาเสพติด หรือหลอกลวงใคร ป๊าก็แค่ทำงานช่วยเหลือเพื่อนๆในสิ่งที่ป๊าสามารถทำได้เท่านั้น แล้วก็ถูกจับ”

สุรชัย แซ่ด่าน, 68 แกนนำเสื้อแดงวัย 68 ปี ป่วยเป็นโรคต่างๆ มากมาย และกำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หลังจากที่เคยอดอาหารประท้วงสภาพความเป็นอยู่ในคุก เขาถูกจับเข้าคุกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เขาเขียนข้อความส่งออกมาจากคุกถึงคนเสื้อแดงว่า อย่ายอมแพ้ จงสู้ต่อไป

สมยศ พฤกษาเกษมสุข, 48 บรรณาธิการนิตยสาร เรดพาวเวอร์ และนักสิทธิแรงงาน ถูกจับที่ชายแดนไทย – กัมพูชา เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 เขาส่งจดหมายจากคุกในชื่อเรื่อง “เหยื่ออธรรม” โดยระบุว่า “ผมจะต่อสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย”

โจ กอร์ดอน, 52 ชาวอเมริกาเชื้อชาติไทย กลับเมืองไทยเพื่อรับการรักษาโรค เขาถูกล้อมจับด้วยตำรวจดีเอสไอร่วม 20 คน และถูกโยนเข้าห้องขังทันทีเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554  ด้วยข้อหาแปลและโพสลิ้งคหนังสือ “กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม” ในเว็บบอร์ดเมื่อปี พ.ศ. 2551-2552

อำพล ตั้งนพคุณ “อากง”, อายุ 61 ปี ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 สำหรับข้อกล่าวหาว่าส่ง SMS ที่มาดร้ายต่อองค์สมเด็จพระนางเจ้า ไปยังมือถือของสมเกียรติ คล่องวัฒนาสุข เลขานุการส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  อำพลปฏิเสธอย่างจริงจังว่าไม่ได้เป็นคนส่งข้อความเหล่านี้ ขณะนี้เขากำลังเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งที่ลิ้น และไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องได้ในระหว่างที่อยู่ในคุก ท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ผู้ตกเป็นเหยื่อของกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กรุณาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ “นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

ขอเรียกร้องฉบับนี้ – เพื่อเชิญชวนทุกท่านร่วมแสดงพลังสมานฉันท์

กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากเครื่องมือบั่นทอนขบวนการ ประชาธิปไตย และคุกคามการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนเท่านั้นเอง ประชาชนของประเทศไทย จะต้องมีอิสรภาพที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจกับนโยบายการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน  และต้องมีสิทธิในการออกความเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของพวกเขา

พวกเราร่วมสมานฉันท์ กับการรณรงค์ของกลุ่ม “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ” ที่เรียกร้องให้มีการวิจารณ์ข้อดีข้อเสียของกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, สนับสนุนนักเขียนไทยกว่า 300 คน ที่ได้เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดใช้มาตรา 112 เพื่อปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, และสนับสนุนกลุ่มนักวิชาการในนามสันติประชาธรรม ในความพยายามที่จะให้มีการยุติการใช้มาตรา 112 ในระหว่างที่รอการปรับปรุงกฎหมายตัวนี้ และพวกเราขอร่วมสมานฉันท์และเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข(ปัจจุบันถูกคุมขัง) ที่ได้รวบรวมลายชื่อประชาชนรากหญ้ากว่า 10,000 ชื่อ เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ข้อเรียกร้องฉบับนี้ มุ่งหวังที่จะสื่อสารไปยังภาคประชาสังคมโลกที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย 

เพื่อให้ร่วมลงนาม เราขอเรียกร้องมายังสหภาพแรงงาน องค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และเครือข่ายภาคประชาชนจากทั่วทุกมุมโลก – ด้วยความหวังว่าพวกเราจะจับมือร่วมกันเพื่อต่อสู้ให้ประเทศไทยเป็น ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ข้อเรียกร้อง

อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยนั้นอยู่ในอุ้มมือของประชาชน ข้อเรียกร้องฉบับนี้ เปิดให้ทั้งองค์กร และประชาชนทั่วไปร่วมลงชื่อ และจะเปิดให้มีการลงชื่อต่อไปจนกว่านักโทษและผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรม เดชานุภาพทุกคน จะได้รับการปล่อยตัวและมีการยกเลิกกฏหมายมาตรานี้ ในความสมานฉันท์กับทุกคนที่อยู่ยืนอยู่เบื้องหลังลูกกรง หรือว่าต้องอยู่ด้วยความหวาดผวาว่าจะถูกดำเนินคดี หรือต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ เพื่อหนีไปจากเครือข่ายแห่งความฉ้อฉลที่ทำให้กระบวนการเติบโตทางจิตสำนึก แห่งสิทธิเสรีภาพถูกปิดกั้นและอยู่ในสภาพชะงักงัน  และขอร่วมรำลึกถึงประชาชนหลายพันหรือหลายหมื่นคนที่ต้องเสียชีวิต เพื่อสิทธิและเสรีภาพนับตั้งแต่ปี 2490

พวกเราที่ได้ลงชื่อในคำร้องฏีกานี้ทุกคน ขอร้องให้รัฐบาลของประเทศไทย ได้โปรด

  • หยุดการดำเนินคดี และสอบสวนคดี เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทุกคดี

  • ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน

  • ยกเลิกกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112)

แอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) 24 มิถุนายน 2554 หมายเหตุ: นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 วันที่ 24 มิถุนายน คือวันประชาธิปไตยของไทย เป็นวันหยุดของชาติ สำหรับการเฉลิมฉลองถึงการได้มาซึ่งประชาธิปไตยและเป็นหมุดหมายแห่งการสิ้น สุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี พ.ศ. 2475 วันประชาธิปไตยได้ถูกยกเลิกในสมัยรัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพล สฤทธิ์ ธนะรัชต์ ในปีพ.ศ. 2503 และได้มีการกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทยองค์ปัจจุบันเป็นวันชาติ ไทยตั้งแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลเผด็จการทหารของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้เถลิงถลองวันที่ 5 ธันวาคม  เป็นวันพ่อแห่งชาติอีกด้วย

* * * * * * * * *

สรุปตัวเลขผู้ร่วมลงชื่อ

ณ วันที่ 16 เมษายน 2555

กลุ่ม/ องค์กร 52

ในนามบุคคล 1,862

อ่านจดหมายถึงนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และการแถลงข่าว http://hirvikatu10.net/timeupthailand/?p=2121

———-+

PETITION to the

Government of Thailand and the ASEAN

for the ABOLITION of the Thai law of LÈSE MAJESTÉ

(ARTICLE 112 of the Thai Criminal Code)

and RELEASE of all LM and POLITICAL PRISONERS

PREAMBLE to the PETITION

This petition has been initiated by people and organisations who are increasingly concerned about the future of democracy in Thailand, and in the ASEAN Community.

Following the bloody, military crackdown in Thailand in April – May 2010 that killed 93 people and wounded nearly 2000, lèse majesté laws have been increasingly used to silence the rising disgust at the complete absence of justice in Thailand.

If not already in jail, almost all civil society leaders opposing the Abhisit Government are now facing charges of lèse majesté.

Stepping clear from royalist propaganda and taboo, this petition addresses one of the root causes of the Thai Crisis: the impact of the threat of lèse majesté on the development of democracy.

Thai democracy and the law of lèse majesté

Refusing to hold Thailand’s royalist Yellow-Shirts responsible for ransacking Government House and occupying the international airports, on 2nd December 2008, Thailand’s Constitutional Court  showed the world, once again, what it is – by ordering the dissolution of the People Power Party and other parties of the governing coalition, so that the royalist Democrat Party could re-take command of the affairs of state. Eight days later the new Government was overseeing activities to celebrate Thailand’s signing of the Universal Declaration of Human Rights in December 1948!

The reality is that Thai people have never experienced “the inherent dignity of the equal and inalienable rights of all members of the human family” described in the preamble to the Declaration.

1932

After the overthrow of Absolute Monarchy in June 1932 Thailand was supposed to become a ‘Monarchy under Democracy’.

The old law of lèse majesté was first defined in writing, as a crime, in 1900, and included in the Criminal Code in 1909. In 1932 the new People’s Parliament created Article 104. This stated that . .  “criticism of Monarchy or Government or both, in spoken or written form, is not a crime if the objective can be proven to be the upholding of the Constitution for the benefit of the people.”

Just 15 years later Thailand’s fledgling democracy movement was decapitated by the military coup of 1947. Since then the development of the people and the country has been suffocated and stultified by the non-stop monarcho-militarism of the power-elite.

Through subjugation to a Head of State that sits “in an inviolate position of revered worship” that “no person may expose to any sort of accusation or action”, during the 63 years the rights of the Thai citizenry have been routinely violated in all manner of ways.

Article 112

In 1956 Field-Marshal Phibun re-formulated the law of lèse majesté as Article 112 of the Criminal Code, raising the maximum penalty to 7 years behind bars.

Under banners of ‘War against Communism’ and ‘Protect the Monarchy’, the kingship of Bhumibol has always been the hand in the glove the generals use to hold the citizenry down, while the other is executing anybody considered a threat.

The scant records that are available show that at least 11 000 lives have been terminated by some form of political assassination since 1947. The long, terrible list of mainly small farmers, workers, students and poor people also includes the lives of Ministers, MPs, academics, writers, journalists and so on. With so few records and still so little research, the total number of Thai people that have perished in political oppression and struggle for their democratic rights since 1947 is unknown, but it is probably close to 30,000. (See: 60 Years of Oppression and Suppression in Thailand )

Alongside the kingdom’s ‘Protect the Monarchy’ and ‘Killing communists is not a sin’ and ‘Love the King’ propaganda, the law of lèse majesté has always been the Establishment’s most handy tool to silence criticism.

Misuse of Power

After the October 1976 student massacre, military junta Order 41 raised the maximum sentence for lèse majesté (LM Article 112) to 15 years. As the law now stands it states that . .  “Whoever defames, insults or threatens the King, Queen, the Heir-apparent or the Regent, shall be punished with 3 – 15 years imprisonment.” In 2008 the Democrat Party attempted, unsuccessfully, to increase the sentence to 20 years!

Under the LM laws, anybody can accuse anybody of having defamed the power of the King, not just in the present but also at any time during the last 15 years. Any person can file a case against any person for any reason true or false. This atmosphere of paranoia central to Thailand’s divide-and-rule politics is secured by the Royal Guard, the 50,000-strong force of the most highly trained and equipped troops in the Royal Thai Army – all paid by public money.

During the 64 years since Bhumibol became Head of State, the Palace has approved about 10 military coups.

The ’19 September Military Coup’ in 2006 that ousted PM Thaksin Shinawatra’s Thai Rak Thai Party brought hundreds of thousands of people to the streets demanding dissolution of Abhisit’s Democrat Party puppet government that replaced it. Most wore red . . and demanded a General Election.

Since then, using the usual ‘national security’ and ‘protect the monarchy’ slogans as cover, Thai royalists have been applying Article 112 with increasing voracity, mainly to stifle criticism of intervention in democratic procedure by the Palace, Army and Judiciary, and to maintain conditions for divide-and-rule.

In April-May 2010, massive Red Shirt protests were smashed by the mobilization of the Royal Guard, most notably the Queen’s Guard.  Prime Minister Abhisit authorised military use of live ammunition against civilians in a ‘Live Firing Zone’ in the centre of Bangkok. Between 10 April to 19 May, in some of the most horrific scenes of carnage in the history of the struggle, 93 people died, most from military sniper bullets to head or chest. Almost 2 000 were wounded.

Breaking silence

As more and more people, including academicians, began directing frustration and anger at Thailand’s monarcho-militarism, the Abhisit Government responded with much greater censorship of the internet, with the setting-up of ‘Cyber Scout’ units to monitor users around the clock, and with the formation of various new units under the Department of Special Investigations (DSI) – to investigate and charge people with  lèse majesté under the 2007 Computer Crimes Act in conjunction with Article 112.

In 2011 even Freedom House dropped Thailand’s ranking from ‘Partly free’ to ‘Not free’, and Reporters Without Borders dropped Thailand from 59 to 153 in their Press Freedom Index.

After the 2006 military coup the number of people charged with LM rose abruptly from less than 10 per year to 100. In 2010 it topped 500. Today nobody knows how many hundreds of people are charged or being charged with LM, either in or out of jail – not even our lawyers.

LM victims are political prisoners

Most LM victims are jailed immediately on arrest – and refused bail. In jail they are often singled out for extra persecution. Only celebrities or the very rich can manage to negotiate bail. Once threatened with LM most people have no choice other than to flee the country or go into hiding.

Here are a few LM cases that help to describe the situation in Thailand today.

Daranee Charnchoengsilpakul, 48, a media woman turned anti-coup activist was jailed in August 2009 and sentenced to 18 years in prison. She is being denied a proper hearing and, in facing severe health problems is being denied proper treatment. So far, after 3 years, brave Daranee remains unbroken.

Tanthawut Taweewarodomkul, 40, a Red Shirt website designer and single father, was ambushed at his home by a gang of police and jailed immediately – in April 2010. The police claim that the ‘UDD-USA’ website he administered was ‘A threat to the monarchy’. From prison he wrote to his 10 year-old son that: “What Dad wishes You to know is that he is most troubled by not being with you. Web (the son’s name) must know that Dad has not killed anybody, not cheated anybody, not sold any drugs and not deceived anybody. Dad worked as best he could with the skills he had to help his friends, and for doing this he was arrested.”

Surachai Sae-Dan, 68, a founding member of Red Siam, was jailed on 22 February 2011.  He was suffering many illnesses already before being jailed, and is now hospitalised after a hunger-strike against mistreatment in jail. In his will, written in prison, he tells his young followers: ‘Never give up, never loose hope. Keep fighting.”

Somyot Pruksakemsuk, 48, a well-known labour rights activist and editor of Red Power, was arrested at the Thai-Cambodia border on 30 April 2011. Sending a letter from prison entitled ‘Victim of the Unjust’ he states . . ‘I shall fight for freedom until my last breath’.

Joe Gordon, 52, a Thai-American, in Thailand for health treatment, was ambushed by a gang of 20 DSI agents in Northeast Thailand. He was thrown into prison on 24 May 2011 and charged for translating to Thai the book called ‘The King never smiles’, and for posting it on a web-board in 2008 – 2009.

Ampon Tangnoppakul, 61, was sentenced to 20-years in prison on 23 November 2011, for allegedly sending four SMS messages critical of the Queen to Somkiat Klongwattanasak, a personal secretary to  former PM Abhisit Vejjajiva. Ampon strenuously denies sending the messages. He suffers laryngeal cancer and has no access to treatment in jail.

(For more information on lèse majesté victims see: Some cases of lèse majesté )

This petition – a Call for Solidarity

Thailand’s lèse majesté laws and articles are nothing more than an ugly set of instruments for de-railing democracy and sabotaging the aspirations of the people: legislation that has no place in the main-stream politics of the 21st century, even it continues to exist in some form.

The people of Thailand must be free to envision their understanding of sustainable development and express their thoughts and ideas about the need for socio-economic, political and cultural change.

In solidarity with the efforts of the ‘Article 112 Campaign’ that demands the right to debate Article 112, and with the 300 Thai writers that are urging the government to stop using Article 112 to suppress Freedom of Expression, and with the Santiprachatan Group of academics in their attempts to get Article 112 suspended pending reform, and in solidarity and full agreement with the ‘24 June Thai Democracy Group’ led by Somyot Pruksakemsuk (now in prison) – that has gathered 10 000 signatures from the grass-root movement demanding the abolition of Article 112, . .

. . this petition reaches out to all democratic sectors of the International Community – to all trade unions, women’s organisations and grass-root movements – to enable them to join hands with the real struggle for democracy in Thailand.

The petition is open for signing by organisations and individuals all around the world. The petition will remain open and on-going until all political prisoners in Thailand have been released and Article 112 has been abolished.

The PETITION

The sovereignty of Thailand rests in the hands of the people.

In solidarity with all who today stand behind bars, or live in fear of persecution, or in exile, because of their struggle to free themselves from the webs of corruption that limit and stifle their abilities to realise their full, democratic rights, and remembering the tens of thousands who have died in struggle for democracy since 1947 . .

We the undersigned call upon the Government of Thailand to . .

  • Drop all charges of lèse majesté

  • Free all LM and political prisoners

  • Abolish Article 112 of the Thai Criminal Code.

Action for People’s Democracy in Thailand (ACT4DEM)

24 JUNE 2011

NOTE: From 1939, June 24th was Thailand’s Democracy Day, a national holiday, celebrating the arrival of democracy and marking the end of absolute monarchy in 1932.  Democracy Day was abolished by Field-Marshal (PM) Sarit in 1960 concurrently with the launching of the King’s birthday as a national holiday on December 5th. Then, in 1980, General (PM) Prem Tinsulanonda turned the King’s birthday into Thailand’s Father’s Day.

* * * * * * * * *

Total numbers of signatories.

16 April 2012

Organisations: 52

Individuals: 1,862

———–+

PÉTITION

au nouveau gouvernement de la Thaïlande et à l’ASEAN

exigeant

l’Abolition de la loi thaïlandaise de lèse-majesté: (Article 112 du Code pénal thaïlandais)

et la libération de tous les prisonniers politiques

La démocratie thaïlandaise et les lois de lèse-majesté

Refusant de tenir les chemises jaunes royalistes de Thaïlande responsables du saccage de la Maison du Gouvernement et de l’occupation des aéroports internationaux, le 2 Décembre 2008, la Cour constitutionnelle de Thaïlande a montré au monde, encore une fois, ce qu’elle est – en ordonnant la dissolution du Parti du Pouvoir du Peuple et des autres partis de la coalition gouvernementale, de sorte que le Parti démocrate royaliste puisse reprendre le commandement des affaires de l’Etat. Huit jours plus tard, le nouveau gouvernement a supervisé les activités pour célébrer la signature par la Thaïlande de la Déclaration universelle des droits de l’homme en décembre 1948.

La réalité est que les Thaïlandais n’ont jamais connu « la dignité inhérente des droits égaux et inaliénables de tous les membres de la famille humaine » décrit dans le préambule de la Déclaration.

Après le renversement de la monarchie absolue en juin 1932, la Thaïlande était censée être une «monarchie sous la démocratie». Pour être admissible, la vieille loi de lèse-majesté (définie en 1900 dans les textes comme un crime et inclue dans le Code criminel en 1909), a été refondue en l’article 104 par le nouveau Parlement populaire, précisant que : «La critique de la monarchie ou du gouvernement ou des deux, sous forme orale ou écrite, n’est pas un crime si l’objectif peut être prouvé respectant la Constitution au profit du peuple.”

Après seulement 15 ans, le mouvement pour la démocratie a été décapité par le putsch militaire de 1947. Depuis lors, le développement du peuple et du pays ont été étouffé et abruti par le monarcho-militarisme incessant des généraux du Roi.

Grâce à l’assujettissement à un chef d’Etat qui se trouve «dans une position inviolable de culte vénéré», que «nul ne peut exposer à toute sorte d’accusation ou d’action”, au cours des 63 années écoulées, les droits des citoyens thaïlandais ont été systématiquement violés de toutes sortes de façons.

En 1956, le Maréchal Phibun reformula la loi de lèse-majesté (LM) en l’article 112 du Code pénal, portant la peine maximale à 7 ans derrière les barreaux.

Sous les bannières de la «guerre contre le communisme» et «protéger la monarchie », la royauté de Bhumibol a toujours été la main dans le gant que les généraux ont utilisée pour tenir les citoyens vers le bas, tandis que l’autre exécute quiconque est considéré comme une menace.

Les rares enregistrements qui sont disponibles montrent qu’il a été mis fin, depuis 1947, à non moins de 11 000 vies par quelque forme d’assassinat politique. La longue et terrible liste principalement de petits agriculteurs, de travailleurs, d’étudiants et de pauvres comprend également la vie de ministres, députés, universitaires, écrivains, journalistes, etc. Avec si peu de dossiers et encore si peu de recherche, le nombre total de Thaïlandais qui ont péri dans la lutte politique active pour leurs droits démocratiques depuis 1947 est inconnu, mais il est probablement proche de 30.000.

A côté des «protégez la monarchie” et “Tuez des communistes n’est pas un péché» et «aimez le roi” de la propagande du royaume, la loi de lèse-majesté a toujours été l’outil le plus maniable de l’Établissement pour faire taire les critiques.

Après le massacre des étudiants d’octobre 1976, l’Ordre 41 de la junte militaire a remonté la peine maximale pour lèse-majesté à 15 ans. Comme la loi actuelle le stipule que c’est : «Quiconque diffame, insulte ou menace le roi, la reine, le prince héritier ou le régent, sera puni de 3 à 15 ans de prison. » En 2008, le Parti démocrate a tenté, sans succès, d’augmenter la peine à 20 ans.

En vertu des lois LM, n’importe qui peut accuser quiconque d’avoir diffamé le pouvoir du roi, et non seulement dans le présent mais aussi en remontant jusqu’à tout moment au cours des 15 dernières années. Toute personne peut déposer une plainte contre toute personne pour quelque raison vraie ou fausse que ce soit. Cette atmosphère de paranoïa au centre de la politique de diviser pour mieux régner en Thaïlande est assurée par la Garde Royale, des troupes fortes de 50.000 hommes, les mieux formés et les mieux équipés de l’Armée royale thaïlandaise – le tout payé par l’argent public.

Pour plus d’informations sur les assassinats politiques, les exécutions extrajuduciaires et les assassinats de 1947

Abus de pouvoir

Pendant les 64 années depuis que Bhumibol est devenu chef de l’Etat, le Palais a approuvé environ 10 coups d’Etat militaires.

Le coup militaire du 19 septembre qui a renversé le PM Thaksin Shinawatra en 2006 a entraîné des centaines de milliers de personnes dans la rue pour réclamer la dissolution du gouvernement fantoche d’Abhisit et réclamer des élections. La plupart vêtus de rouge. Depuis lors, en utilisant les slogans habituels de «sécurité nationale» et «protéger la monarchie” comme couverture, le gouvernement royaliste a utilisé et applique l’article 112, avec une voracité croissante, pour étouffer toute critique, en particulier la critique de l’intervention par le Palais, des élites royalistes et de la magistrature dans la procédure démocratique.

En avril-mai 2010, les protestations massives des Chemises rouges ont été brisées par l’utilisation de la Garde royale, notamment la Garde de la Reine. Le PM Abhisit a autorisé l’utilisation militaire de balles réelles contre des civils dans une « zone de tir réel », sic, dans le centre de Bangkok. Entre le 10 avril et le 19 mai, dans certaines des plus atroces scènes de carnage de l’histoire de la lutte, 93 personnes sont mortes, la plupart des balles militaires de sniper, à la tête ou la poitrine. Près de 2 000 ont été blessés.

Briser le silence

Comme de plus en plus de gens, y compris le monde académique, ont commencé à diriger leur colère et leur frustration contre les la monarcho-militaristes, le gouvernement Abhisit a commencé à introduire un contrôle lourd sur l’utilisation d’Internet, mettant en place des unités de « Cyber scouts » pour surveiller les utilisateurs 24 heures sur 24, et formant diverses nouvelles unités au sein du Département des enquêtes spéciales (DSI) pour enquêter et accuser les gens avec par exemple selon les lois de LM ou la Loi sur les crimes informatiques de 2007.

En 2011, Freedom House a rétrogradé le classement de la Thaïlande à partir de «partiellement libre» à «pas libre», et Reporters sans frontières ont baissé la Thaïlande de 59 à 153 dans leur Indice de liberté de la presse.

Après le coup militaire de 2006, le nombre de personnes inculpées de LM s’éleva brusquement de moins de 10 par an à 100 et en 2010 il avait dépassé 500. Aujourd’hui, personne ne sait combien de centaines de personnes sont accusées ou menacées d’être accusées de LM, soit dans ou hors de prison – pas même les avocats.

Les victimes de LM sont des prisonniers politiques

La plupart des victimes LM sont emprisonnés dès l’arrestation et la liberté sous caution leur est refusée. En prison, ils sont souvent victimes de persécutions supplémentaires. Seuls les célébrités ou les très riches peuvent arriver à négocier une libération sous caution. Une fois menacé de LM la plupart des gens n’ont pas d’autre choix que de fuir le pays ou de se cacher. Voici quelques cas pour aider à décrire la situation en Thaïlande aujourd’hui.

Daranee Charnchoengsilpakul, une femme des médias tournée militante anti-coup, en prison depuis août 2009, confrontée à des problèmes de santé graves et se voit refuser un traitement approprié. Mais, courageuse Daranee – sa détermination est intacte pour notre cause commune.

Tanthawut Taweewarodomkul, un Chemise rouge concepteur de site web et père d’un fils unique, a été enlevé à son domicile par un gang de la police et emprisonné immédiatement en avril 2010. La police a prétendu que le site Internet du « UDD-USA », il administrait était «une menace pour la monarchie». De sa prison il a écrit à son fils de 10 ans, que: « Que papa souhaite que tu saches, que sa plus grande peine est de ne pas être avec toi. Web (nom du fils), tu dois savoir que papa n’a pas tué personne, ni n’a triché avec personne, et ni non plus vendu de drogue et n’a trompé personne. Papa a travaillé du mieux qu’il a pu avec les compétences qu’il avait pour aider ses amis, et pour ce faire il a été arrêté. »

Surachai Sae-Dan, leader de Red Siam a 68 ans, souffrant de nombreuses maladies et maintenant en grève de la faim contre son mauvais traitements en prison. Il a été incarcéré le 22 février 2011. En écrivant ses volontés de prison, il a dit à ses jeunes disciples : « Ne jamais abandonner, ne jamais perdre l’espoir. Continuer à se battre. »

Somyot Pruksakemsuk, un syndicaliste militant bien connu et éditeur de Pouvoir rouge, a été arrêté à la frontière Thaïlande-Cambodge le 30 avril 2011. Envoyant une lettre de prison intitulée «Victime de l’injustice”, il y déclare : « Je vais combattre pour la liberté jusqu’à mon dernier souffle. J’ai peut accepter de perdre ma liberté, mais pas mon humanité. »

Lerpong Wichaikhammat (Joe Gordon) un retraité américano-thaïlandais, en Thaïlande pour soins de santé, a été pris en embuscade par une bande de vingt agents du DSI dans le Nord-Est de la Thaïlande, accusé pour l’affichage d’une version thaïlandaise de « Le roi thaïlandais ne sourit jamais » sur la toile en 2008 – 2009, et jeté en prison le 24 mai 2011.

Ampon Tangnoppakul, un grand-père de 61 ans, a été condamné à 20 ans de prison le 23 Novembre 2011, pour avoir prétendument envoyé quatre messages SMS qui critiquaient la reine à Somkiat Klongwattanasak, le secrétaire personnel de l’ancien premier ministre Abhisit Vejjajiva. Ampon nie énergiquement avoir envoyé les messages.Il souffre d’un cancer du larynx et n’a pas accès à un traitement adéquat depuis qu’il est en prison.

Les lois lèse-majesté de Thaïlande ne sont rien de plus qu’un funeste ensemble d’instruments pour faire dérailler la démocratie et saboter les aspirations du peuple.

Pour plus d’informations sur les victimes de lèse-majesté s’il vous plaît visitez “Quelques cas de lèse-majesté (LM)

Appel à la solidarité

ACT4DEM identifie les lois de lèse-majesté comme l’un des principaux problèmes bloquant les voies vers la démocratie, l’égalité des droits et du développement durable en Thaïlande – un texte de loi qui peuvent exister dans une certaine forme, mais n’a pas sa place dans la politique ordinaire du 21ème siècle.

Le peuple de la Thaïlande doit être libre d’imaginer sa compréhension du développement durable et d’exprimer ses pensées et ses idées sur la nécessité de changements socio-économiques, politiques et culturels.

En solidarité avec les efforts de la « Campagne article 112 » qui revendique le droit de débattre de l’article 112, avec les 300 écrivains thaïs qui exhortent le gouvernement à cesser d’utiliser l’article 112, pour réprimer la liberté d’expression, avec le Groupe Santiprachatan des universitaires dans leurs tentatives pour obtenir la suspension de l’article 112, en attendant la réforme, et en solidarité et en plein accord avec le Groupe « Démocratie thaïlandaise 24 Juin» dirigé par Somyot Pruksakemsuk (actuellement en prison) qui a réuni 10 000 signatures à partir des mouvements de base pour demander l’abolition des l’article 112,

cette pétition est dirigée vers tous les secteurs démocratiques de la communauté internationale

à tous les syndicats, les organisations de femmes et les mouvements de base – dans l’espoir qu’ils rejoignent la véritable lutte pour la démocratie en Thaïlande en informant « le Gang de l’ancienne puissance » qu’ils ne peuvent pas continuer à essayer de parrainer la démocratie sous les bannières « Protégez la monarchie »et cacher leurs atrocités derrière l’article 112.

Se souvenant tous ceux qui sont morts et qui ont souffert dans la lutte, en solidarité avec tous ceux qui aujourd’hui se tiennent derrière les barreaux ou en exil, en solidarité avec les dizaines de personnes récemment arrêtées en vertu des lois de lèse-majesté de Thaïlande,

Nous les soussignés en appelons au nouveau gouvernement de la Thaïlande et l’ANASE à :

• abandonner toutes les accusations de lèse-majesté
• Libérer tous les prisonniers politiques
• Abolir l’article 112 du Code pénal thaïlandais.

Cette pétition a été initiée par des personnes et des organisations de plus en plus préoccupés par l’avenir de la démocratie en Thaïlande, et dans la Communauté de l’ANASE.

Après la sanglante répression militaire en Thaïlande en avril-mai 2010 qui a tué 93 personnes et en a blessé près de 2000, le crime de lèse-majesté a été de plus en plus invoqué pour faire taire le dégoût qui augmente face à l’absence complète de justice en Thaïlande.

Presque tous les dirigeants de la société civile opposés au gouvernement Abhisit sont maintenant face à des accusations de lèse-majesté, quand ils ne sont déjà pas en prison,

Se démarquant clairement de la propagande royaliste et des tabous, cette pétition vise l’une des causes profondes de la crise thaïlandaise: l’impact de la menace de lèse-majesté sur le développement de la démocratie.

La pétition est ouverte à la signature par des organisations et par des individus partout dans le monde. La pétition restera ouverte et continue jusqu’à ce que tous les prisonniers politiques en Thaïlande aient été libérés et l’article 112 ait été aboli.

En supposant la formation d’un gouvernement légitime, après les élections générales du 3 Juillet 2011 en Thaïlande, la pétition sera remise à la nouvelle Assemblée de la Thaïlande des représentants du peuple et à l’ANASE.

La souveraineté de la Thaïlande repose dans les mains du peuple. La lutte du peuple de déchirer les voiles de corruption qui limitent et étouffent leurs capacités à réaliser leurs droits démocratiques a besoin aujourd’hui de la solidarité internationale.

S’il vous plaît signez la pétition.

Merci.

Action pour la Démocratie populaire en Thaïlande (ACT4DEM)

24 JUNE 2011

NOTE: A partir de 1939, le 24 juin fut érigé en Thaïlande Journée de la Démocratie, une fête nationale, célébrant l’arrivée de la démocratie et marquant la fin de la monarchie absolue en 1932. La Journée de la Démocratie a été abolie par le Maréchal (PM) Sarit en 1960 simultanément avec le lancement de l’anniversaire du roi comme fête nationale, le 5 décembre. Puis, en 1980, le général (PM) Prem Tinsulanonda tourna l’anniversaire du roi en Fête des Pères de Thaïlande.

Nombre total de signataires.

16 avril 2012

Organisations: 52

Individus: 1862