รัฐประหารกับขบวนการแรงงานไทย
ตีพิมพ์ครั้งแรก ในภาษาเยอรมัน https://suedostasien.net/ Ende der Gewerkschaftsbewegung,
ประเทศไทย: #รัฐประหารมักจะมุ่งทำลายร้างขบวนการแรงงาน แต่ทำไมสหภาพแรงงานไทยจึงสนับสนุนรัฐประหารครั้งล่าสุด
ผมเขียนบทความเรื่องแรงงานมาหลายเรื่อง แต่สำหรับประเด็นเรื่องแรงงานไทยก็ยังมีถือว่าน้อยมาก และยังมีเรื่องให้ต้องศึกษาและเขียนถึงอีกมากมาย ในหลายแง่มุม ทั้งในด้านกฎหมายแรงงานไทย, ในแง่ของการเปรียบเทียบกับมาตรฐานแรงงานตามกติกาสากลโดยเฉพาะกับอนุสัญญาต่างๆ ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ, ในด้านการปฏิบัติใช้ เป็นต้น โดยเฉพาะในด้านกฎหมายแรงงาน ที่เป็นด้านที่มีการเขียนถึงกันน้อยมาก และนักกฎหมายด้านแรงงาน ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือนายจ้างหรือบริษัทในการใช้กฎหมายจัดการกับลูกจ้าง นั้นหาน้อยยิ่งนัก ดังนั้น ที่ผ่านมาในช่วงที่ทำงานสนับสนุนการต่อสู้เพื่อสิทธิคนงาน ความเร่งด่วนของปัญหาที่ถาโถมต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ผมจึงโฟกัสความสนใจด้านแรงงานไปที่ปัญหาเร่งด่วนเหล่านั้น โดยเฉพาะเรื่องการถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เรื่องการต่อรองการคุ้มครองความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และค่าจ้างและสวัสดิการที่เป็นธรรมและพอเพียงต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐคุ้มครองและนายจ้างยอมรับ สิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานและสิทธิในการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ปิดกั้นแรงงานไทยมาหลายศตวรรษ ควบคู่มากับการต้องเผชิญหน้ากับการแทรกแซงการเมืองของเผด็จการทหารมาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น แม้ว่าจะมีแง่มุมหลายด้านที่นำเสนอได้ในเรื่องปัญหาแรงงานไทย แต่ในบทความฉบับนี้ จะขอโฟกัสไปที่เรื่องการปิดกั้นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนขบวนการแรงงานไทยให้สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านแรงงาน และการสร้างและบังคับใช้กฎหมายแรงงานให้เอื้อประโยชน์ต่อคนทำงานในเมืองไทยไปที่เรื่องการปิดกั้นพัฒนาการเหล่านี้ อันเนื่องมาจากรัฐประหาร 5 ครั้งในประเทศไทย คือ รัฐประหาร 2500 รัฐประหาร 2514, รัฐประหาร 2534 รัฐประหาร 2449 และรัฐประหาร 2557
#รัฐประหาร_3_ครั้งแรก: 2500, 2514 และ 2534
แต่เนื่องจากพื้นที่ในบทความนี้มีจำกัด ดังนั้นในรายละเอียดเรื่องการเชื่อมโยงการรัฐประหารกับการล้มล้างและสกัดกั้นการสร้างความเข้มแข็งของขบวนการแรงงานไทย คงเป็นเรื่องที่จะต้องเก็บเอาไว้ไปขยายทีหลัง แต่ในครั้งนี้ จะขอนำเสนอสั้นๆ ในประเด็นเรื่อง การหยุดชะงักงันของขบวนการแรงงานไทย อันเนื่องมาจากรัฐประหาร 2500 ที่เผด็จการทหารได้ร่วมมือกับนายทุนไทยในการล้มพระราชบัญญัติแรงงาน ที่ออกในปลายสมัยจอมพลป. พิบูลย์สงคราม โดยคณะรัฐประหารสฤษดิ์ ธนะรัตช์ ได้ออก “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เล่ม 75 ตอนที่ 87 ราชกิจจานุเบกษา 31 ตุลาคม 2501 ระบุว่า … “โดยที่พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 มีบทบัญญัติไม่เหมาะสม เปิดช่องให้ใช้เป็นเครื่องมือยุยงส่งเสริมให้เกิดความร้าวฉานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ทำลายความเห็นใจและการประนีประนอมระหว่างกัน กับทั้งเป็นโอกาสให้ตัวแทนคอมมิวนิสต์อาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เป็นเครื่องมือยุยงลูกจ้างในทางมิชอบ”
มันเป็นไปได้มากว่า พรบ. แรงงาน ฉบับ 2499 ร่างขึ้นภายใต้ความกดดันและความช่วยเหลือขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หลังจากรายงานเรื่องสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานไทย ที่ ILO ส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาในประเทศไทยกว่าปี ได้ถูกนำเสนอต่อรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการในปี 2547 ซึ่งเป็นรายงานที่สะท้อนปัญหาแรงงานที่รุนแรงในทุกด้าน ตั้งแต่การใช้แรงงานเด็กตั้งแต่อายุ 7 ขวบ แรงงานหญิงต้องทำงานหนัก ภาวะการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของแรงงาน ไปจนถึงการขาดแรงงานฝีมือ การไร้สวัสดิการ และปัญหาสุขอนามัยขึ้นพื้นฐานในเรื่องน้ำดื่มและห้องน้ำ และในรายงานนี้ก็ได้พูดถึงสหภาพแรงงาน ซึ่งก็สะท้อนถึงความไร้ประสิทธิภาพและการนำเสนอศักยภาพเกินจริงของบรรดาสหภาพแรงงานไทยในยุคนั้น ที่ยังคงสะท้อนสภาพความไร้ศักยภาพของสหภาพแรงงานในปัจจุบัน
รัฐประหาร 2500 ได้โค่นการก่อร่างสร้างกติกาสิทธิในการรวมตัวและการคุ้มครองแรงงานไปในพริบตา ในสภาวะที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากวิถีเกษตรกรรมพึ่งตนเอง มาสู่เกษตรเพื่อการค้า และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีแรงงานจำนวนมากที่จำเป็นจะต้องได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิและผลประโยชน์ ตลอดไปถึงเรื่องสุขภาวอนามัยและสหภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามคำแนะนำอย่างจริงจังของไอแอลโอ ดังนั้นความอัดอั้นของปัญหาข้อพิพาทแรงงานก็ทะลุขึ้นมาก แม้ว่าจะอยู่ในยุคเผด็จการก็ตาม ส่งผลให้ แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในยุคเผด็จการครองอำนาจ ไร้รัฐธรรมนูญ (ในปี 2501-2512 ประเทศไทยอยู่ในช่วงไรรัฐธรรมนูญ) และไร้กฎหมายแรงงาน ทำให้รัฐบาลออกพระราชบัญญัติระงับข้อพิพาทแรงงาน 2508 เพื่อนำมาใช้จัดการแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงาน
กระนั้น รัฐประหารตัวเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมืื่อปี 2514 ก็ได้ มีการประกาศยกเลิกข้อพิพาทแรงงาน ฉบับ 2508 และในปี 2515 ก็ได้มีคำประกาศของคณะรัฐประหารฉบับที่ 103 ที่เกี่ยวกับด้านแรงงานต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่เรื่องค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ในด้านประกันสังคมและกองเงินทุนทดแทน คำประกาศที่ 103 นี้ก็เป็นต้นแบบที่ได้มีการพัฒนามาสู่พรบ. ประกันสังคมในปี 2533 และกฎหมายคุ้มครองแรงงานในปี 2541
รัฐประหาร 2534 ที่นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ บิดาของพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบทบ. ในขณะนี้ ก็มีเป้าหมายในการล้มขบวนการสหภาพแรงงานที่มีความเข้มแข็งมากขึ้นในการต่อรองนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2530 ด้วยคำประกาศ รสช. ฉบับที่ 54 และ 56 ที่ห้ามพนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งสหภาพแรงงาน และเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกับสหภาพแรงงานเอกชน
#การกลับตาลปัดมาเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย
แต่เรื่องที่กลับตาลปัด และกลายเป็นความผะอืดผะอมของขบวนการสหภพาแรงงานทั่วโลกคือ การพลิกบทบาทของสหภาพแรงงานไทย ที่เคยสร้างเกียรติประวัติของขบวนการแรงงานไทย ในฐานะหนึ่งในภาคประชาชน ที่รวมตัวไล่เผด็จการสุจินดา คราประยูรในปี 2535 มาสู่การเคลื่อนไหวเพื่อไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเปิดทางให้กับรัฐประหารถึงสองครั้งในปี 2549 และ 2557
เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการกล่าวหากันลอยๆ และถ้าใครที่ติดตามเรื่องการเมืองไทยอย่างใจเปิดกว้างก็จะเห็นได้อย่างชัดเจน และเห็นว่าภาพลักษณ์สหภาพแรงงานไทยเสียหาย และสูญเสียการยอมรับมากแค่ไหนจากประชาชนในประเทศไทย เพราะกันดันทุรัง และไม่ยอมหยุดใช้เงื่อนไขการประท้วงทั่วประเทศมาเป็นแรงกดดันไล่ครม. ที่ประชาชนเลือกถึ 4 คณะ (ักษิณ2549, สมัคร 2551, สมชาย 2552 และย่ิงลักษณ์ 2557)
ทั้งนี้ ขบวนการสหภาพแรงงานไทย นำโดยสมศักดิ์ โกศัยสุข จากสหภาพแรงงานการรถไฟ ศิริชัย ไม้งาม สหภาพแรงงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้นำสหภาพแรงงานต่างๆ ในสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 พวกเขาร่วมประกาศรวมตัวต่อสู้กับเครื่อข่ายรอยัลลิสต์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
The alliance of Thai trade unions in that period was led by Somsak Kosaisuk from the State Railway Worker Union Of Thailand (SRUT), Sirichai Mai-gnam from the Provincial Electricity Authority State Enterprise Employees’ Association (PEASEA), and other leaders from the State Enterprise Workers Relations Confederation (SERC). On 9 February 2006, these unions officially announced that they will join with the royalists’ network – The People’s Alliance for Democracy (PAD).
#สหภาพแรงงานนิ่งเฉยต่อการที่ทหารทำร้ายประชาชน
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ได้ดึงความร่วมมือจากสหภาพแรงงานในเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ครสท.) ให้เข้าเป็นแนวร่วมในการประท้วงโค่นไล่ชินวัตรมาต่อเนื่อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ความรุนแรงและความเสียหายหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2549 – 2557 ทั้งเรื่องการประกาศประท้วงทั่วประเทศทั้งนี้ ในวันที่ 3 ส.ค. 2549 สรส. 42 แห่ง เรียกร้องให้นายกลาออก และในวันที่ 18 กันยายน 2549 สรส. ประกาศเกณฑ์ 30,000 คน ไล่นายก ซึ่งในการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทหารใช้เงื่อนไขที่ สหภาพและพธม. ประกาศระดมพลไล่ ทำการยึดอำนาจ โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันความรุนแรงอันเกิดจากการปะทะของประชาชน
#สหภาพแรงงานพันธมิตรของชาวรอยัลลิสต์
และเมื่อรัฐบาลรอยัลลิสต์ที่สหภาพแรงงานสนับสนุนไม่ได้เลือกตั้ง ในปี 2551สหภาพแรงงานไทยใช้วิธีการนำมวลชนประท้วงบุกยึดทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา สถานีโทรทัศน์ และสนามบินสี่แห่งทั่วประเทศไทย จนทำให้การบินนานาชาติหยุดชะงักร่วมอาทิตย์ และมีผู้เดินทางได้รับความเสียหายหลายแสนคน และเมื่อพรรครอยัลลิสต์ที่สหภาพแรงงานไทยสนับสนุนก็ยังไม่ชนะเลือกตั้งในปี 2554 ขบวนการสหภาพแรงงานก็ร่วมมือกับรอยัลลิสต์อีกครั้ง ในการใช้การกดดันทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ประท้วงการเลือกตั้งกุมภาพันธ์ 2557 และก็เช่นเดียวกันกับในปี 2549 สรส. และสหภาพแรงงานจับมือกับแกนนำรอยัลลิสต์ ประกาศว่าจะระดมพลประท้วงใหญ่ทั้งประเทศในวันที่ 22 พฤษภาคม ที่สร้างเงื่อนไขให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำการยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 22 พฤษภาคม ด้วยข้ออ้าง ‘เพื่อยุติความรุนแรง’ และยึดครองอำนาจมาจนถึงปัจจุบันจะร่วม 5 ปีแล้ว
นี่คือบทสรุปอันน่าอัปยศของขบวนการสหภาพแรงงานไทย ณ ปัจจุบันสมัย ที่เลือกยุทธวิธีผิด จนส่งผลต่อความเสียหายอย่างหนักต่อประชาชนและประเทศชาติ และในความนิ่งเฉยของขบวนการสหภาพแรงงานสากล มิหนำซ้ำยังได้สนับสนุนการกระทำของสหภาพแรงงานไทยในยุทธวิธีที่ผิดพลาดตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา
บันทึก: นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวในปี 2549 จนถึงรัฐประหาร 2557 มีคนที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะและการปราบปรามของทหารรวมทั้งสิ้น 3457 และเสียชีวิต 130 คน โดยเป็นการบาดเจ็บจากการปราบปรามของทหารในระหว่างเดือนเมษา – พฤษภา 2553 บาดเจ็บจำนวน 1855 คน และเสียชีวิต 99 คน
ฉบับภาษาเยอรมัน https://suedostasien.net/ende-der-gewerkschaftsbewegung/
ฉบับภาษาอังกฤษ
References:
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103, http://203.157.80.2/replyImages/2013121711571527.pdf
ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระงับข้อพิพาทแรงงาน, ฉบับพิเศษ หน้า 79-88, เล่ม 82 ตอนที่ 114, 31 ธันวาคม 2508
ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103, 16 มีนาคม 2515 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2533
ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19, ฉบับพิเศษ หน้า, เล่ม 75 ตอนที่ 98, 31 ตุลาคม 2501
International Labour Office, Report to the government of Thailand on a survey of labour conditions in Thailand, Geneva, 1954
รัฐวิสาหกิจหยุดงานสรส.นัด22พ.ค.ร่วมกดดันรัฐ http://www.thairath.co.th/content/423649
“สุเทพ”นำกปปส.ร่วมกิจกรรมวันแรงงานสากล, https://www.posttoday.com/การเมือง/292229