ข่าวแปล: Economist “เสียงของกบฎ”

 

เสียงของกบฎ รัฐบาลไทยกับวิธีการใหม่ในการควบคุมความคิดเห็นบนอินเตอร์เนต แต่ยิ่งกลับทำให้เหล่าผู้วิจารณ์ฮึกเหิมมากขึ้น

ที่มา Economist

การปกครองประเทศนั้นแสนจะง่ายถ้าคุณสามารถสั่งให้ทุกคนที่เห็นต่างหุบปากได้ ไม่เชื่อก็ลองถามนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ นับตั้งแต่การยึดอำนาจการปกครองใน พ.. 2557 เขาก็นั่งเก้าอี้ผู้นำยาวมาตลอด จวบจนหลังการเลือกตั้งที่ไม่ชอบมาพากลในปีที่ผ่านมา

หนึ่งในสูตรลับของความสำเร็จนี้ก็คือการควบคุมการแสดงความคิดเห็นของชาวไทยต่อรัฐบาล และราชวงศ์อย่างเข้มงวด

จากข้อมูลของ iLaw ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของไทย ในตลอดหลายปีที่นายประยุทธ์บริหารอำนาจ ประชาชนกว่า 900 คน ถูกเรียกไป ปรับทัศนคติ

ผลการออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญไทย เมื่อ พ.. 2559 ผ่านไปอย่างง่ายดาย ทั้งนี้ก็ต้องยกความดีให้กับการห้ามไม่ให้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ

ใน พ.. 2560 มีประชาชนอย่างน้อย 100 คนที่ถูกควบคุมเพื่อรอการพิจารณา และจำคุกในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ถึงกระนั้นเหล่าเจ้าหน้าทีก็ยังไม่พึงพอใจกับมุกเดิมๆ พวกเขายังแสวงหาวิธีใหม่ๆ มากำจัดความคิดเห็นต่าง

ดังที่เราจะเห็นได้ว่าข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ถูกนำมาใช้พร่ำเพรื่ออย่างที่ผ่านมา เพราะมันดึงดูดความสนใจจากชาวต่างชาติ อีกทั้งยังคร่ำครึและดักดาน

นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ใครก็ตามที่เขียนถึงพระมหากษัตริย์วชิราลงกรณ์ (ในรูป) ด้วยถ้อยคำหยาบคาย หรือวิจารณ์รัฐบาลก็ดี ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น, อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งหมิ่นประมาท

ในเดือนพฤศจิกายนที่่ผ่านมามีการตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งยิ่่งให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีกับประชาชนที่่ถูกสงสัยว่าเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับโรคโควิด 19 โดยนายประยุทธ์ออกมาเตือนประชาชนไม่ให้ใช้อินเตอร์เนตในทางที่ผิด

หลายครั้งที่กลุ่มม๊อบออนไลน์ถูกตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐเรียกตัวไปสอบสวนโดยไม่ได้ตั้งข้อหาอะไร แต่นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ผู้คนหวาดกลัวจนต้องหุบปากเงียบ

นักศึกษาไทยคนหนึ่งเล่าว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทำการติดต่อมหาวิทยาลับที่เขาศึกษาอยู่ เพื่อที่จะสอบถามเกี่ยวกับโพสต์บนเฟสบุคที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้งบประมาณประเทศของรัฐบาล ก่อนที่จะเรียกให้เขาเข้ามารายงานตัวที่สถานีตำรวจ และยึดไอแพดของเขาพร้อมทั้งรายละเอียดในบัญชีผู้ใช้เฟสบุคของนักศึกษาคนดังกล่าว

เขายังไม่ถูกตั้งข้อหา แต่เขาให้ข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเคยเป็นแกนนำในการประท้วงของนักศึกษาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และเมื่อผู้นำการชุมนุมถูกรัฐบาลควบคุมตัว มันอาจจะเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของนักศึกษาต่อไปได้

แต่ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะเปลี่ยนวิธีจัดการกับประชาชน ผู้คนที่ไม่พอใจก็ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้สื่อออนไลน์เช่นกัน ความคับแค้นใจจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ พฤติกรรพิลึกพิลั่นของกษัตริย์ และความล้มเหลวในการรับมือกับโรคระบาด กลายเป็นประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์ ในหลายเดือนที่ผ่านมา ชาวเนตได้ทำการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่ไม่มีใครเคยกล้ามาก่อนเมื่อหลายปีที่แล้ว นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวสกอต Andrew MacGregor Marshall กล่าวว่า เราไม่เคยเห็นการท้ายทายต่ออำนาจราชวงศ์ในระดับนี้มาก่อน

การระเบิดอารมณ์ของชาวเนตที่กลายเป็นตำนาน ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ปิดถนนในกรุงเทพมหานครเพื่ออำนวยความสะดวกให้ราชวงศ์ ( #ขบวนเสด็จ ผู้แปล) นั้นเป็นที่โจษจันกันอย่างกว้างขวางจนกระทั่งโฆษกรัฐบาลต้องออกมาประกาศว่า ในหลวง ทรงห่วงใยประชาชน เกรงขบวนเสด็จฯ กระทบการจราจรของประชาชนและนับแต่นั้นมา การปิดถนนเพื่อขบวนเสด็จก็ถูกลดเป็นสองช่องทางแทนที่จะเป็นการปิดถนนทั้งสายเช่นแต่ก่อน

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่ถึอว่าเป็นการท้าทายอย่างอาจหาญคือการสร้างกลุ่ม รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส ขึ้นในเฟสบุคเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เหล่าสมาชิกได้ทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงราชวงศ์ในเชิงเสียดสีล้อเลียน ในรูปแบบของการขายสินค้าและบริการ ดังที่เห็นได้จากผู้ก่อตั้งกลุ่ม คือ อาจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต นำเสนอบริการตัดขนสัตว์เลี้ยง โดยใช้รูปประกอบที่เป็นสุนัขตัวโปรดที่ตายไปแล้วของวชิราลงกรณ์นามว่า ฟูฟู (ในระหว่างที่ยังมีชีวิต ฟูฟู ได้รับการแต่งตั้งเป็นพลอากาศเอก)

นับตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มมาในระยะเวลาไม่ถึงสองเดือน ตลาดออนไลน์แห่งนี้มีสมาชิกเพิ่มถึงห้าแสนคน อ.ปวิน กล่าวว่ามีสมาชิกอย่างน้อยสองคนถูกไล่ออกจากงานเพียงเพราะเป็นสมาชิกในกลุ่มดังกล่าว

ชาวไทยส่วนมากยังคงระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็น จนเกือบถึงขั้นวิตกจริต มีความกังวลในเดือนที่ผ่านมาว่าทวิตเตอร์จะทำการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้งานให้กับรัฐบาล จนทำให้เกิดกระแสผู้ใช้งานทวิตเตอร์หลายหมื่นคนเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มทางเลือกที่ชื่อว่า Minds

อย่างไรก็ดี Kathleen Reen ผู้บริหารทวิตเตอร์ในภูมิภาคออกมายืนยันว่า การให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อกำจัดความคิดเห็นต่างนั้น ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด นี่อาจจะทำให้ชาวไทยผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายคนที่เคยใช้แฮชแทค#WhyDoWeNeedAKing( #กษัตริย์มีไว้ทำไม ผู้แปล) และ #RIPThailand คลายกังวลลงได้

ดร. ฐิติพล ภักดีวานิช นักวิชาการรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้ความเห็นว่า คนไทยมีช่องทางในการปลดปล่อยความคับข้องใจ แต่นั่นยังห่างไกลจากการผลักดันมวลชนไปสู่การเคลื่อนไหวที่แท้จริง และนี่น่าจะทำให้นายประยุทธ์สบายใจไปได้อีกสักพัก