ต้องดู: ACT4DEM เปิดงบสถาบันกษัตริย์ที่แท้จริง – ตอนที่ 1: งบปรับปรุงเขตพระราชฐาน จำนวน 21,238.78 ล้านบาท

ศึกษาและรวบรวมโดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ

ACT4DEM – แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย

สำหรับการเปิดงบประมาณสถาบันกษัตริย์ ตอนที่ 1 ACT4DEM จะพาไปดูงบประมาณในโครงการสนับสนุนกิจกรรมพิเศษหลวง งบสนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน

ACT4DEM ใช้เวลาหลายเดือน ทำการศึกษาเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ ทั้งในส่วนงบประมาณโดยตรง และงบประมาณเพื่อการสนับสนุนโครงการพระราชดำริ แก้มลิง เชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เฉลิมพระเกียรติ และปกป้องสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเราจะนำเสนอถึงงบประมาณต่างๆ เหล่านี้เป็นตอนๆ ต่อไป 

สำหรับในตอนแรกนี้ เราขอนำเสนองบประมาณที่เรียกว่า “โครงการสนับสนุนกิจกรรมพิเศษหลวง” ซึ่งเป็นงบประมาณที่จำหน่ายโดยกระทรวงมหาดไทย ที่พัฒนามาจากแผนงาน: รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศเมื่อปี 2552 พัฒนาต่อเนื่องมาสู่ปัจจุบันที่อยู่ภายใต้ “แผนยุทธศาสตร์เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ” ภายใต้ชื่อโครงการ “โครงการสนับสนุนกิจกรรมพิเศษหลวง”  โดยระบุวัตถุประสงค์ไว้ว่า เพื่อ สนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน ระบุสถานที่ดำเนินการ ว่า “พื้นที่เขตพระราชฐาน” มีระยะตามแผนงบประมาณกระทรวงมหาดไทยปี 2563 ครอบคลุมระหว่างปี 2553 – 2566

โครงการนี้ครอบคลุมระยะเวลา 13 ปี ที่อนุมัติครั้งแรกในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2552 ด้วยงบประมาณ 1,710 ล้านบาท และก็มีการปรับเปลี่ยนงบประมาณมาเรื่อยๆ และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา จนปัจจุบัน งบประมาณนี้ ถูกปรับแก้ครอบคลุมระยะเวลาโครงการ 13 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553  ไปสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ. 2566 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  21,238.78 ล้านบาท โดยงบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 12.5 เท่าตัว

ทั้งนี้ในปัจจุบันได้ใช้งบประมาณไปแล้วประมาณ 13,000 ล้านบาท

ภาพประกอบที่ 1 ภาพเขตพระราชฐานนี่ได้แคปเชอร์มาจาก Google Earth ในวันที่ 12 มิถุนายน 2563

เราไม่แน่ใจว่าเราขีดเส้นครอบคลุมเขตพระราชฐานได้ครบทั้งพื้นที่หรือไม่ แต่ถ้าดูในพื้นที่ที่ขีดเส้นไว้ ซึ่งเป็นพื้นที่แน่ชัดว่าเป็นเขตพระราชฐาน เมื่อลองเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ของวังสวนจิตรลดาที่เราทราบว่ามีจำนวน 395 ไร่ ก็สามารถประมาณการพื้นที่ในเขตพระราชฐานที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและปรับปรุงนี้ ว่าน่าจะมีรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,200 ไร่ ทั้งนี้จะเห็นได้จากภาพถ่ายว่า ยังมีการดำเนินการก่อสร้างต่างๆ ที่ยังไม่เสร็จสิ้นอีกมาก และไม่แน่ว่าจะเสร็จในปี 2566 ได้หรือจริงไม่ และงบประมาณก็ไม่น่าจะคงที่เช่นกัน

ภาพประกอบที่ 2 แคปเชอร์ภาพ จากหนังสืองบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2553 เล่ม 6 

ในภาพจะเห็นว่า แผนงาน ปรับปรุงเชตพระราชฐานนี้ เริ่มแรกปรากฎอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงมหาดไทย ในแผนที่ 8.2 แผนงาน: รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โครงการที่ 1 โครงการสนับสนุนกิจกรรมพิเศษหลวง ด้วยวงเงินทั้งสิ้นของโครงการ 1,710.28 ล้านบาท

ภาพประกอบที่ 3 เป็นภาพแคปเชอร์จากงบประมาณกระทรวงมหาดไทยประจำปี 2563 หน้า 263

แต่ภาพประกอบข้างบนนี้ ชี้ให้เห็นว่า มีการดำเนินแผนการต่อมาเรื่อยๆ ล่าสุด บรรจุอยู่ภายใต้ชื่อ แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ โครงการสนับสนุนกิจกรรมพิเศษหลวง วงเงินงบประมาณประจำปี 2563 เป็นเงิน 2,378 ล้านบาท และวงเงินทั้งสิ้นของโครงการคือ 21,238.78 ล้านบาท ซึ่งนี่เป็นตัเลขการขยายขึ้นของงบประมาณ ที่เพิ่มขึ้นมาจากวงเงินทั้งโครงการในปี 2562 ถึง 2,500 ล้านบาท  (ดูตารางข้างล่าง)

ภาพประกอบที่ 5 ประมาณการค่าใช้จ่ายของงบประมาณตั้งแต่ต้นจนจบโครงการในปี 2566

 ภาพนี้เพื่อให้เห็นวิธีการจัดทำแผนงบประมาณ ที่มีการดำเนินงานต่อเนื่อง โดยในงบประมาณปี 2563 ระบุว่า แผนงบก่อปรับปรุงเขตพระราชฐานจะสิ้นสุดโครงการในปี 2566

แผนการปรับปรุงและการปรับเปลี่ยนนับตั้งแต่ปี 2553

ทั้งนี้ เราได้ทำการสรุปตัวเลขค่าใช้จ่ายในงบการปรับปรุงเขตพระราชฐานตั้งแต่ปี 2553 จนถึงงบประมาณ 2563 เพื่อให้เห็นภาพของร่างงบประมาณ การเปลี่ยนแปลง และการใช้จริง มาให้ได้เห็นภาพร่วมกันดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ได้ทำตารางสรุปแผนงบประมาณประจำปี การปรับเปลี่ยน และการใช้จริงมาดังนี้

ถ้าตูจากตารางจะเห็นว่างบประมาณที่ขอจากภาษีของประชาชนชาวไทย โดยแทบที่คนไทยจะไม่รู้เรื่องนี้อย่างรอบด้านครอบคลุมเลยนั้น มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

v

ซึ่งถ้าดูตารางงบประมาณ ตัวเลขจะมีการปรับแก้และเพิ่มขึ้นทุกปี มีการปรับแก้ตัวเลขแผนงบประมาณการย้อนหลัง และปรับเลขประมาณการเพิ่มขึ้นจากงบประมาณปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากประเทศไทยปกครองด้วยคณะผู้ก่อการรัฐประหาร 2557 และโดยเฉพาะหลังการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ในปี 2560 ซึ่งสรุปมาให้ดูคร่าวๆ ดังนี้

ปี 2553 งบประมาณมีจำนวน 1,710 ล้านบาท ครอบคลุมระยะเวลา 5 ปี

ปี 2555 ไม่มีการระบุระยะเวลาของโครงการและงบประมาณทั้งโครงการ

ปี 2556 งบเพิ่มสูงขึ้นมาเป็น 5,531 ล้านบาท และขยายเวลาถึงปี 2559 

ปี 2557 งบปรับเพิ่มขึ้นปี 6,447.94 ล้านบาท และขยายเวลาถึงปี 2560 

ปี 2558 หลังรัฐประหาร 2557 งบเพิ่มขึ้นเป็น 8,113.24 ล้านบาท โดยขายเวลาถึงปี 2562

ปี 2560 เพิ่มมาเป็น 10,084.219 ล้านบาท ขยายเวลาถึงปี 2567

ปี 2561 เพิ่มมาเป็น 18,083,889,400 ล้านบาท ลดเวลามาเป็นปี 2564

ปี 2562 เพิ่มเป็น 18,860 ล้าน ปรับระยะเวลาเพิ่มเป็นปี 2565 

ปี 2563 เพิ่มเป็น 21,238.78 ล้านบาท และมีระยะเวลาก่อสร้างระบุถึงปี 2566

ในแผนงบประมาณปี 2564 นี้ คาดว่าแผนงบประมาณในโครงการนี้คงจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างแน่นอน  

แผนการก่อสร้างที่ระบุใแผนงบประมาณประจำปีต่างๆ 

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดที่น่าสนใจของการก่อสร้างเขตพระราชฐาน ตามเอกสารงบประมาณของกระทรวงมหาดไทย ระหว่างปี 2553 – 2563

อนึ่ง ในระหว่างปี 2554 ถึง 2557 ในแผนงบประมาณของกระทรวงมหาดไทย มีการระบุรายละเอียดค่าใช้จ่าย ให้เห็นหมวดหมู่ และรายการใช้งบประมาณ ที่วงเงินเกิน 1 ล้านบาท โดยสรุปประเด็นงบประมาณที่น่าสนใจ ที่

ครอบคลุม พระที่นั่งอัมพรสถาน วังทวีวัฒนา พระตำหนักจักรีบงกช และพื้นที่เขตพระราชฐาน ร. 10 มาไว้ดังนี้ 

ตารางที่ 2 แผนสนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน ปี 2554

รายการ

     งบประมาณ            (ล้านบาท)

1.1 ค่าคุรุภัณฑ์ โดยะจเน้นไปที่ยานพาหนะและขนส่ง อาทิ รถห้องสรง (6 คัน) รถบรรทุก รพโฟล์คลิฟท์

72.52

1.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

(1) จ้างที่ปรึกษาโครงการบริหารควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงหมู่พระที่นั่งอัมพรพรสถานวังทวีวัฒนาและโครงการก่อสร้างกิจกรรมพิเศษในพระบรมวงศานุวงศ์

30.00

จ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงาน ตกแต่งภายในหมู่พระที่นั่งอัมพรสถานวังทวีวัฒนาและเขตพระราชฐานอื่น ๆ

14.55

(3) ค่าจัดซื้อ ที่ดินและก่อสร้างถนนเลี่ยงทางเข้า-ออกพระตำหนักในจังหวัดปทุมธานี ตำบลขะแยง อ.เมืองจ.ปทมุธานี (ช่วงที่ 1)

92.05

(4) ค่าก่อสร้างปรับปรุงอาคาร VVIP GYM วังทวีวัฒนา

50.00

(5) ค่าก่อสร้าง POOL HOUSE BAN สระสรง วังทวีวัฒนา

100.00

( 6 ) จ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างและปรับปรุงหมู่พระที่นั่งอัมพรสถานและวังทวีวัฒนาและงานก่อสร้างอื่น ๆ ในพระองค์  เพิ่มเติมกลุ่มที่ 1) ต่อเนื่องของปี 2553

30.00

(7) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานระบบพระที่นั่งอัมพรสถาน วังทวีวัฒนา และพื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904

40.00

ตารางที่ 3 แผนสนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน ปี 2555

ปีงบประมาณ 2555

 งบประมาณ 

 (ล้านบาท)                        

1.1.1 ค่าคุรุภัณฑ์ รถบรรทุก 6 ล้อ 16 คัน และอื่นๆ

45.55

1.1.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

964.54

(1.1) ค่าปรับปรุงห้องครัวข้าราชบริพารพระตำหนักจักรีบงกช จ.ปทมุธานี

3.00

(1.2) จ้างที่ปรึกษาออกแบบงานก่อสร้างเพิ่มเติมพื้นที่วังทวีวัฒนา

4.99

(1.3) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารและควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงพระตำหนักจักรีบงกช จ.ปทุมธานี

9.00

(1.4) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานสถาปตัยกรรมภายนอก พระที่นั่งอัมพรสถานและวังทวีวัฒนา

6.00

(1.5) จ้างที่ปรึกษาออกแบบงานก่อสร้างอาคารศูนยราชการฯ Newland AGG.อัมพรสถาน (แบบสถาปตัยกรรม)

5.00

(1.6) ค่าก่อสร้างต่อเติมอาคาร s2x  และ s3x

5.40

(1.7) ค่าปรับปรุงงานระบบอาคารศูนย์ราชการวังทวีวัฒนา

4.40

(1.8) ค่าปรับปรุงระบบปรับอากาศอาคารศูนย์ราชการวังทวีวัฒนา

4.90

(2) จ้างที่ปรึกษาโครงการบริหารควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงหม่พูระที่นั่งอัมพรสถาน วังทวีวัฒนา และโครงการก่อสร้างกิจกรรมพิเศษในพระบรมวงศานุวงศ์

30.00

( 3 ) จ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานตกแต่งภายในหมู่พระที่นั่งอัมพรสถาน วังทวีวัฒนาและเขตพระราชฐานอื่นๆ

18.00

(4) ค่าก่อสร้างอาคารศูนย์ราชการฯ Newland AGG อัมพรสถาน

416.54

(5) ค่าก่อสร้างอาคารที่จอดรถข้าราชบริพาร 2 ชั้น อัมพรสถาน

121.00

(6) ค่าปรับปรุงโครงสร้างสถาปตัยกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกอาคาร Staff อัมพรสถาน (ส่วนเพิ่มเติม)

50.11

(7) ค่าปรับปรุงระบบปรับอากาศอาคารเก็บทรัพย์สินส่วนพระองค์ พระตำหนักจักรี บงกช จ.ปทมุธานี

15.00

(8) จ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างและปรับ ปรุงหม่พูระที่นั่งอัมพรสถานและวังทวีวัฒนาและงานก่อสร้างอื่นๆ ในพระองค์ (เพิ่มเติมกลุ่มท 1่ ) ต่อเนื่องของปี 2553

40.00

(9) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบำรุงรักษางานสถาปตัยกรรมและงานตกแต่งภายในพระที่นั่งอัมพรสถานและวังทวีวัฒนา

12.00

(10) ค่าก่อสร้างรั้วและประตูพร้อมทางเดินราวี Newland AGG. อัมพรสถาน

77.80

(11) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานระบบพระที่นั่งอัมพรสถาน วังทวีวัฒนาและพื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904

40.00

(12) ค่าปรับปรุงซ่อมแซมแฟลต 1 พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904

25.00

(13) ค่าก่อสร้างอาคาร staff 2 ธนาซิตี้ (ส่วนงานระบบ)

10.90

(14) ค่าปรับปรุงเสริมรั้ววังทวีวัฒนา

16.00

(15) ค่าปรับปรุงระบบไฟฟ้ารั้วโดยรอบวังทวีวัฒนา

13.00

(16) ค่าปรับปรุงห้อง Gym อาคารศูนย์ราชการวังทวีวัฒนา

10.00

(17) ค่าปรับปรุงแฟลต 2 พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904

26.50

ภาพประกอบที่ 6 ภาพรถห้องสรง ซึ่งมีอยู่ในงบจัดซื้อในแผนงบปรับปรุงเขตพระราชฐาน 

ภาพจากอินเตอร์เนท ในแผนงบประมาณเท่าที่มีรายงาน มีแผนการซื้อรถห้องสรงถึง 8 คัน

ตารางที่ 3 แผนสนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน ปี 2556

ปีงบประมาณ 2556

   งบประมาณ     (ล้านบาท)     

1.1 ค่าคุรุภัณฑ์ ยานพาหนะและขนส่งและรถห้องสรง 2 คัน

8.80

1.1.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

876.20

(1.1) ก่อสร้างอาคาร VIP  พื้นที่ ท ม.แลนด์ 1 แห่ง

5.00

(1.2) ก่อสร้างประตูรั้วพื้นที่ ท ม.แลนด์ 2 แห่ง

1.50

(2) ค่าก่อสร้างอาคารที่จอดรถข้าราชบริพาร 2 ชั้นอัมพรสถาน 1 แห่ง

52.00

(3) ปรับปรุงเสริมความสูงรั้วและประตูพระที่นั่งอัมพรสถาน (ส่วนเพิ่มเติม) 1 แห่ง

15.00

(4) ก่อสร้างโรงรถไฟโบราณ พื้นที่วังทวีวัฒนา 1 แห่ง

70.00

(5) ปรับปรุง แฟลตข้าราชบริพาร (เพิ่มเติม 1 หลัง) พื้นที่ควบคุมในพระองค์ฯ 1 หลัง

30.00

(6) ก่อสร้างอาคาร Guest House  พื้นที่วังทวีวัฒนา 1 แห่ง

25.00

(7) จ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างและปรับ ปรุงหม่พูระที่นั่งอัมพรสถาน,วังทวีวัฒนาและงานก่อสร้างอื่นๆ ในพระองค์ฯ (เพิ่มเติมกลุ่มที่ 1) ต่อเนื่องจากปี 2555 1 แห่ง

40.00

(8) จ้างที่ปรึกษาโครงการบริหารควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงหม่พูระที่นั่งอัมพรสถาน,วังทวีวัฒนาและโครงการก่อสร้างกิจกรรมพิเศษในพระบรมวงศานวุงศ์ (ต่อเนื่องจากปี 2555) 1 แห่ง

30.00

( 9 ) จ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานตกแต่งภายในหม่พูระที่นั่งอัมพรสถาน, วังทวีวัฒนา และเขตพระราชฐานอื่นๆ (ต่อเนื่องจากปี 2555) 1 แห่ง

18.00

(10) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารและควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงพระตำหนักจักรีบงกช จ.ปทุมธานี (ต่อเนื่องจากปี 2555) 1 แห่ง

12.00

(11) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบำรุงรักษางานสถาปตัยกรรมและงานตกแต่งภายในพระที่นั่งอัมพรสถานและวังทวีวัฒนา (ต่อเนื่องจากปี 2555) 1 แห่ง

12.00

(12) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานสถาปตัยกรรมภายนอกพระที่นั่งอัมพรสถานและวังทวีวัฒนา (ต่อเนื่องจากปี 2555) 1 แห่ง

18.00

(13) จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานระบบพระที่นั่งอัมพรสถาน, วังทวีวัฒนาและพื้นที่ควบคุมในพระองค์ฯ (ต่อเนื่องจากปี 2555) 1 แห่ง

40.00

(14) จ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดอาคารพื้นที่วังทวีวัฒนา (ต่อเนื่องจากปี 2555) 1 แห่ง

12.00

(15) ก่อสร้างอาคารโรงไฟฟ้าพระตำหนักจักรีบงกช 1 แห่ง

10.00

(16) ค่าจัดซื้อ ที่ดินและก่อสร้างถนนเลี่ยงทางเข้า -ออกพระตำหนักจักรบีงกช ต. บางขะแยง อ.เมืองจ.ปทมุธานี (ระยะที่ 2) 1 แห่ง

40.00

(17) ก่อสร้างอาคารพื้นที่ ทม.รอ ที่ 2 พื้นที่ ท ม.แลนด์ 1 แห่ง

160.00

(18) ก่อสร้างอาคารเยี่ยมญาติพื้นที่ ทม.แลนด์ 1 แห่ง

20.00

(19) ก่อสร้างรั้วพื้นที่ท ม.แลนด์ (ด้านตะวันออก) 1 แห่ง

12.50

(20) ปรับปรุง ก่อสร้างรั้วพื้นที่ท ม.แลนด์ (ด้านเหนือและตะวัน ตก) 1 แห่ง

15.00

(21) ปรับปรุงเพิ่มเติมงานระบบอาคารศูนย์ราชการในพระองค์ฯ 1 แห่ง

30.00

(22) ปรับปรุง ครัวระบบกรองกลิ่น พระที่นั่งอัมพรสถาน 1 แห่ง

39.00

(23) ปรับปรุงเพิ่มเติมงานสถาปตัยกรรม,ครุภัณฑ์ อาคารศูนยราชการในพระองค์  ฯ V.904 1 แห่ง

20.00

(24) ปรับปรุงงานระบบเพิ่มเติม (ระบบไฟฟ้า/สุขาภิบาล/แจ้งเหตุเพลิงไหม้และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) พระที่นั่งอัมพรสถาน, พระที่นั่งอดุรภาคและพระตำหนักราชฤทธิ์ 1

29.00

(25) ปรับปรุงอาคารพื้นที่ ทม ที่ 1 พื้นที่ ม.แลนด์ 1 แห่ง

40.00

(26) ปรับปรุงอาคารศูนยฝักกำลังพลพื้นที่ท ม.แลนด์ 4 อาคาร

40.00

(27) ปรับปรุงอาคารบริการ 1 อ/2อ/3อ/4 อพระที่นั่งอัมพรสถาน 1 แห่ง

16.00

(28) ปรับปรุงอาคาร S2X  และ S3X พระที่นั่งอัมพรสถาน 1 แห่ง

14.20

(29) ปรับปรุงเสริมความทึบรั้วโดยรอบ พระที่นั่งอัมพรสถาน 1 แห่ง

10.00

ภาพประกอบที่ 8 พระตำหนักจักรีบงกช จากการแคปเชอร์ภาพถ่ายจาก Google Earth เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 256 

พระตำหนักนี้ก็มีส่วนในการใช้งบประมาณ “เขตพระราชฐาน” หลายร้อยล้านบาท และเราก็ไม่ทราบขอบเขตที่แนชัดของพระตำหนักนี้

ตารางที่ 4 แผนสนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน ปี 2557

 ปีงบประมาณ 2557

งบประมาณ 

(ล้านบาท)                      

1.1.1 ค่าคุรุภัณฑ์ รถตู้ 12 ที่นั่ง 3 คน รถตรวจการณ์ 2 คัน คุรุภัณฑ์สนาม 15 รายการ

16.52

1.1.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

900.00

(1) ก่อสร้างอาคารแผนก ร.ย.ล. และที่จอดรถพระที่นั่ง-รถขบวนพร้อมที่พักเจ้าหน้าที่พื้นที่วงัศุโขทัย 1 แห่ง

160.00

(2) ก่อสร้างอาคารที่จอดรถข้าราชบริพาร และสำนักงานพระราชอทุยานพื้นที่วังศุโขทัย 1 แห่ง

140.00

(3) ปรับปรุงอาคารที่พักข้าราชบริพาร (แฟลต 4) พื้นที่ควบคุมในพระองค์ฯ 1 แห่ง

30.00

(4) ปรับปรุงอาคารที่พักข้าราชบริพาร (แฟลต 5) พื้นที่ควบคุมในพระองค์ฯ 1 แห่ง

30.00

(5) ปรับปรุงอาคารที่พักข้าราชบริพาร (แฟล 6) พื้นที่ควบคุมในพระองค์ฯ 1 แห่ง

30.00

(6)เพิ่มเติมงานระบบและงานตกแต่งภายในอาคารพื้นที่ ม.รอ.ที่ 1 พื้นที่ ม.แลนด์

100.00

(7) ปรับปรุงอาคารกองรักษาการณ์ศุโขทัยอัลฟ่า 1 แห่ง

70.00

(8) ปรับปรุง พื้นที่อำคารบริการวงัหลัก 4 หลังพื้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน 1 แห่ง

30.00

(9)เสริมความสูงรั้วโดยรอบวังศุโขทัย 1 แห่ง

30.00

(10) ก่อสร้างถนนเลี่ยงทางเข้า -ออกพระตำหนักจักรบีงกช ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทมุธานี (ระยะที่ 2) 1 แห่ง

55.00

(11) ก่อสร้างอาคารที่พักทหารหญิงพื้นที่ ม.แลนด์ 1 แห่ง

25.00

(12) ก่อสร้างอาคารบก.หน่วย ทม.รอ.พื้นที่ ม.แลนด์ 1 แห่ง

40.00

(13) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างปรับปรุงวังศุโขทัย, พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 และงานก่อสร้างอื่นๆ ในพระองค์ฯ (ต่อเนื่องจาก ปี 2556) 1 แห่ง

18.00

(14) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานระบบ พื้นที่พระที่นั่งอัมพร สถาน,วังทวีวัฒนาและพื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 ( ต่อเนื่องจากปี 2556) 1 แห่ง

50.00

(15) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษาพระราชฐานที่ประทับ AG.00 1 แห่ง

10.00

(16) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษาพระราชฐานที่ประทับ AG.02 1 แห่ง

10.00

(17) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างวังทวีวัฒนา (ต่อเนื่องจากปี 2556) 1 แห่ง

12.00

(18) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานสถาปตัยกรรมภายนอก พื้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ต่อเนื่องจากปี 2556) 1 แห่ง

15.00

(19) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารดูแลและบำรุงรักษางานสถาปตัยกรรมและตกแต่งภายในพื้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ต่อเนื่องจากปี 2556) 1 แห่ง

15.00

(20) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารและควบคุมงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงวังศุโขทัย 1 แห่ง

15.00

(21) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารและควบคุมงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงพื้นที่ ม. แลนด์ 1 แห่ง

15.00

ภาพประกอบที่ 9 ภาพแคปเชอร์จาก Google Earth เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 

ตารางที่ 5 แผนสนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน ปี 2558 – 2563

2558

1) ค่าครุภัณฑ์สนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

21.50

2) ค่าสิ่งก่อสร้างสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

631.80

3) ค่าจ้างที่ปรึกษาสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

212.00

2559

1) ค่าครุภัณฑ์สนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

32.22

2 (1) ค่าสิ่งก่อสร้างสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

627.00

2 (2) ค่าจ้างที่ปรึกษาสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

242.00

2560

1) ค่าครุภัณฑ์สนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

32.76

2 (1) ค่าสิ่งก่อสร้างสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

995.00

2 (2) ค่าจ้างที่ปรึกษาสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

242.00

2561

1) ค่าครุภัณฑ์สนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

12.67

2 (1) ค่าสิ่งก่อสร้างสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

1745.00

2 (2) ค่าจ้างที่ปรึกษาสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

242.00

2562

1) ค่าครุภัณฑ์สนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

12.03

2 (1) ค่าสิ่งก่อสร้างสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

1.997.9

2 (2) ค่าจ้างที่ปรึกษาสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

266.90

2563

1) ค่าครุภัณฑ์สนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

22.16

2 (1) ค่าสิ่งก่อสร้างสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

2.034.3

2 (2) ค่าจ้างที่ปรึกษาสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง

321.60

นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ในแผนงบประมาณโครงการนี้ จะไม่มีการระบุรายละเอียดโครงการและจำนวนงบประมาณ แต่จะทำหมวดหมู่งบประมาณเป็นสองหมวดหมู่ใหญ่ๆ  คือ หมวด 1. ค่าครุภัณฑ์สนับสนุนดครงการพิเศษหลวง และหมวด 2. ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจะมีการระบุสองงบประมาณ คือ 2 (1) ค่าส่ิงก่อสร้างสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง และ 2 (2) ค่าจ้างที่ปรึกษาสนับสนุนโครงการพิเศษหลวง ซึ่งค่าจ้างที่ปรึกษาฯ เป็นงบประมาณก้อนใหญ่พอสมควรตลอดทั้งโครงการ และถ้านับตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปี 2563 รวมกันเป็นเงินถึง 1,525 ล้านบาท

กษัตริย์ไทยไม่ได้อยู่ไทยนับตั้งแต่ปี 2550

ในระหว่างที่คนไทยเผชิญทุกข์ทับถมไม่หยุดหย่อนจากเผด็จการทหารของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ตัวกษัตริย์กลับใช้ชีวิตอย่างสุขสบายที่เยอรมนี พร้อมราชินีและหญิงสาว และข้ารับใช้จำนวนมาก โดยอยู่เยอรมันและยุโรปเป็นส่วนใหญ่นับตั้งแต่ปี 2550

ภาพประกอบที่ 10 ภาพการบินของเครื่องบินโบอิ้ง 737-826 ที่ชื่อ HS-MVS ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องบินของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ที่อยู่มิวนิค ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีการระบุการบินในวันที่ 2 และ 3 มิถุนายน 2563 

ภาพประกอบ 11 ภาพเที่ยวบินโบอิ้ง 737-800 ที่ชื่อ HS-HMK ของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ บินวนรอบระหว่างมิวนิคเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563

ในขณะที่เขตพระราชฐานยังสร้างไม่เสร็จ และคนไทยต้องสู้รบตบมือกับปัญหาเศรษฐกิจ วิกฤติไวรัสโควิด-19 และรับมือกับคดีมากมายที่ถูกยัดเยียดให้จากเผด็จการทหารของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ตัวกษัตริย์ยังใช้ชีวิตบินร่อนไปมาระหว่างเมืองต่างๆ ที่เยอรมนนี สวิสเซอร์แลนด์ สเปน และอิตาลี และบริหารจัดการฮาเร็มที่เต็มไปด้วยสาวๆ และข้าราชบริพาร 200-300 คน ที่อยู่ในสภาพเหมือนคนติดคุก

ทั้งนี้ กษัตริย์ไทย มีเครื่องบินสองลำจอดที่เยอรมนี สำหรับใช้บินร่อนเที่ยวทั่วยุโรป ได้แก้เครื่องบินที่ชื่อ HS-MVS ที่จัดซื้อในนามกองทัพอากาศไทยมอบให้กษัตริย์วชิราลงกรณ์โดยเริ่มบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 อีกลำหนึ่งซึ่งใหม่กว่าเป็นโบอิ้ง 737 – 800 ชื่อเครื่อง HS-HMK  ที่ซื้อผ่านงบกองทัพอากาศเมื่อเดือนกันยายน 2558 

นอกจากนี้ก็มีเครื่องเก่า HS-HRH ที่กองทัพอากาศซื้อมาให้เมื่อปี 2547  โดยไปซื้อเครื่องเก่าปี 2533  จากสายการบิน Aer Lingus ของประเทศไอร์แลนด์

ผลการดำเนินงาน

สำหรับลำดับการปรับเปลี่ยนและก่อสร้างเริ่ม ที่เริ่มดำเนินงานในปี 2553 นั้น มีประเด็นที่สรุปได้ดังนี้

มีหน่วยงานและสถานที่สำคัญในประเทศไทย ต้องย้ายออกเพื่อคืนพื้นที่ให้กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อนำมาขยายเขตพระราชฐานดังนี้

ธันวาคม 2560 มีข่าวในพระราชสำนัก ว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์ ยกที่ดิน 67 ไร่ให้ รร. วชิราวุธวิทยาลัย เป็นที่ดิน ณ ตำบลปทุมวัน อำเภอสำเพ็ง กรุงเทพ (น่าจะแลกกับ พื้นที่ รร. วชิราวุธวิทยาลัยเดิม

สิงหาคม 2561 ปิดสวนสัตว์ดุสิต และย้ายไปคลอง 6 ปทุมธานี

กุมภาพันธ์ 2562 ปิดอาคารรัฐสภา โดยที่อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ยังสร้างไม่เสร็จ และรัฐสภาฯ ไทยต้องไปเช่าห้องประชุมทีโอที โดยแม้ว่าอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่ชื่อบาลีว่า “สัปปายะสภาสถาน” และต้อมาแปลไทยอีกรอบหนึ่งว่า “สภาที่มีแต่ความสงบร่มเย็นสบาย” เปิดให้มีการใช้ประชุมในขณะที่การก่อสร้างยังไม่เสร็จ เมื่อเดือนสิงหาคม 2563

มีนาคม 2562 ได้มีการรื้อถอนบริเวณสนามม้านางเลิ้ง เพื่อทำเป็นสวนสาธารณะและอนุสาวรีย์ ร. 9

สิงหาคม 2562 มีคลิปฮือฮา เรื่องอุโมงเชื่อมต่อใต้ดินที่วังสวนอัมพร ในเขตพระราชฐาน

พฤษภาคม 2563 มีข่าวฮืออาเรื่องการเอา เครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ไปจอดที่เขตพระราชฐานทีกำลังก่อสร้าง ซึ่งข่าวนี้เป็นข่าวดังทั่วโลก ว่ากษัตริย์ไทย เอาเครื่องบินที่เป็นพยานรักกับราชินีสุทิดา เข้าไปเก็บไว้ในเขตพระราชฐาน

ภาพประกอบที่ 12 เครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ถูกนำไปติดตั้งกลางสวนในเขตพระราชฐานวังสวนอัมพร (เป็นข่าวใหญ่เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2563)

พฤษภาคม 2563 มีภาพการขยายกำแพงเขตพระราชฐาน ที่กินพื้นที่ทางเดินเท้า

ภาพประกอบที่ 13 ภาพกำแพงเขตพระราชฐานที่ปรับปรุง (อยู่ในแผนงาน) ให้สูงและแข็งแรง ทำให้เขตพระราชฐานกลายเป็นสถานที่น่าเกรงขามและปิดกั้นสายตามจากคนข้างนอก

ภาพจากเฟซบุ๊ก Andrew MacGregor Marshall

กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลมีเดีย

นับตั้งแต่นี้ต่อไป กับแผนงบประมาณปีละ 2500 ล้านบาท ชาวโซเชียลมีเดียจะต้องมีประเด็นฮีอฮา กับการเปลี่ยนแปลงมากมายของขตพระราชฐานอันใหญ่โตมโหฬาร เวบเพจของคนที่เผด็จการห้ามผู้คนติดต่อด้วย ทั้งสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แอนดรูว์ แมคเกรเกอร์ มาร์แชล เป็นต้น ต่างก็ปล่อยภาพความอึดอัด คับช้อง และความสงสัยของผู้คน กับการเปลี่ยนแปลง โดยไม่แจ้งให้สาธารณชนทราบ ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของอาคารที่เคยเป็นสถานที่สาธารณะเหล่านี้  รวมทั้งวิพากษณ์การใช้งบประมาณมากมาย ทั้งนี้พื้นที่เขตพระราชฐานในปัจจุบัน มีจำนวนถึงน่าจะเกือบ พันไร่ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบจำนวนพื้นที่เทียบกับวันจิตรลดาที่มีพื้นที่ 395 ไร่ 

ภาพที่ 14 ภาพหน้าปกหนังสือพิมพ์ Bild ของเยอรมนี ลงข่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563

Bild หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี ที่มียอดขายครั้งละกว่าล้านฉบับ  ลงภาพหน้าปกเต็มหน้า เป็นภาพกษัตริย์วชิราลงกรณ์และราชินีสุทิดา พร้อมเรื่องราวของการขนเครื่องบินเข้าไปไว้ที่บริเวณเชตพระราชฐานสวนอัมพรเพื่อรำลึกถึงการพบเจอกันครั้งแรกระหว่างกษัตริย์และราชินี

ภาพประกอบที่ 15 ภาพบริเวณวังทวีวัฒนา แคปเชอร์จาก Google Earth 15 มิถุนายน 2563

ในภาพนี้จะเห็นกองทหาร และเครื่องบินรบ  จะเห็นภาพเครื่องบินรบจอดอยู่ 3 ลำ และมีกองทหารฝึกอยู่ในสนาม

ภาพประกอบที่ 16 เมื่อซูมจาก Google Earth จะเห็นภาพเหมือนฝูงมด เป็นแถวเป็นแนว

จากภาพนี้ เราเชื่อว่า นี่เป็นแถวทหารที่อยู่ในระหว่างการฝึกซ้อม ทั้งนี้ วังทวีวัฒนาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของหน่วยงานทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของหน่วยงานทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นผลงานที่กษัตริย์วชิราลงกรณ์ออกแบบการฝึกต่างด้วยตัวเอง เราจะได้เห็นข่าวอยู่เนืองๆ ว่า มีนายทหารและตำรวจ ถูกส่งไปฝึกทหารที่วังทวีวัฒนา ซึ่งก็คือการไปฝึกทหารตามแบบฝึกหัดของกษัติรย์ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นมกุฎราชกุมารนั่นเอง ทั้งนี้จะมีการส่งผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งทหาร ตำรวจ ข้าราชบริพารไปฝึกวิถีทหารที่วังทวีวัฒนา ทั้งโดยวิถีปกติ และโดยวิธีที่เรียกว่า “การซ่อม” สำหรับทหารที่ทำให้ไม่พอใจ ทั้งนี้ กษัตริย์วชิราลงกรณ์ได้ออกแผนการฝึกเอง ดังได้แคปเชอร์มาจากหนังสือคู่มือการฝึกดังภาพประกอบข้างบน

เมื่อมาดูเรื่องความใส่ใจเป็นพิเศษทางการทหาร การตั้งกองกำลังทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์​ การยึด กรมงทหารราบที่ 1 และกรมทหารราบที่ 11 ไปขึ้นตรงกับกษัตริย์ ก็จะเห็นว่า กษัตริย์ไทย น่าจะมีกำลังพลภายใต้การสั่งการโดยตรงของตัวเองไม่ต่ำกว่า 7,000 คน ไม่นับจำนวนทหารในชื่อ “รักษาพระองค์”​ อีกประมาณ 80,000 คน จากเหล่าทัพต่างๆ 

ไม่มีประเทศระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขประเทศไหน ที่กษัตริย์จะมีกองกำลังของตัวเองโดยตรงจำนวนหลายพันคน และในทางการจัดตั้งของกองทัพ รวมกันร่วมแสนคนเช่นนี้

นี่คือว่าเป็นการซ่องสุมกองกำลังของผู้มีอิทธิพล ที่อาจจะส่งผลต่อความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชน และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่กระทำโดยราชสำนักไทย ภายใต้กษัตริย์วชิราลงกรณ์ ที่ไร้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้นจากนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนของประชาชนในประเทศไทย

ภาพประกอบที่ 17 ภาพหน้าปกหนังสือ “คู่มือการฝึกว่าด้วยแบบฝึกบุคคลท่าอาวุธ เผยแพร่โดยโรงเรียนหหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

ภาพประกอบที่ 18 ภาพจากหนังสือ “คู่มือการฝึกว่าด้วยแบบฝึกบุคคลท่าอาวุธ” ให้ฉายามกุฎราชกุมารในขณะนั้นว่า “บรมครูทางการทหาร” 

สรุปโดยสังเขป

แผนการใช้งบประมาณ (ค่าใช้จ่าย) ในโครงการ “แผนสนับสนุนด้านออกแบบและก่อสร้างปรับปรุงรักษากิจกรรมพิเศษหลวงในเขตพระราชฐาน ปี 2558 – 2566″ มีการปรับเพิ่มขึ้นทุกปีจาก 1,710 ล้านบาทในปี 2553 มาเป็น 21,238.78 ล้านบาทในปี 2563 และกว่าจะเสร็จโครงการ ก็มีความเป็นไปได้ว่างบในส่วนของโครงการพิเศษหลวงนี้คงจะสูงเกือบสามหมื่นล้านบาท

ถ้าดูการใช้งบประมาณ และภาพถ่ายทางอากาศจาก Google Earth ตามภาพในบทความชิ้นนี้แล้ว เราจะเห็นความเป็นครบวงจร complex  city ที่ทุกอย่างรวมอยู่ในศูนย์กลางเดียวของเขตพระราชฐาน ทั้งที่เขตสวนอัมพรเชื่อมต่อวังสุโขทัย สวนจิตรลดา สนามม้านางเลิ้ง สนามเสือป่า ลานพระบรมรูปทรงม้า พระที่นั่งอนัตสมาคม ที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง ที่จะรวมทั้งกษัตริย์ องค์หญิง องค์ชาย ข้าราชบริพาร หน่วยรักษาความปลอดภัยฯ ศูนย์บัญชาการไว้ในบริเวณเดียวกัน

โดยเฉพาะที่วังทวีวัฒนา มีสภาพเป็นค่ายทหาร ซ่องสุมกองกำลังจำนวนมหาศาล ที่มีศูนย์ฝึก/โรงเรียนฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลพรักษาพระองค์ ไว้ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งมันสะท้อนวิถีคิดการปกครองเผด็จการรวมศูนย์ของกษัตริย์ ด้วยกองกำลังทหาร 

เราคงสรุปได้อย่างชัดเจนว่า ภายใต้การปกครองของกษัตริย์มหาวชิราลงกรณ์ รัชกาลที่ 10 ของประเทศไทย จะเป็นยุคที่ปกครองด้วยวิธีเผด็จการทหารที่กำกับโดยกษัตริย์ที่ไม่ได้ตระหนักถึงโลกแห่งความเป็นจริง ที่คิดว่าจะใช้ชีวิตที่นอกประเทศยังไงก็ได้ แต่ในประเทศไทย ทุกคน ทั้งข้าราชบริพาร ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชน จะต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามระเบียบวินัยของทหาร ที่ได้ออกแบบเอาไว้ให้ และวิถีปฏิบัติระเบียบทหารที่เอาผู้บังคับบัญชาหน่วยงานต่างๆ เข้าไปฝึกซ้อมเพื่อนำไปสั่งสอนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง นี่ก็ไม่ต่างจากการบ่มเพาะลัทธินาซี ที่กระทำโดยฮิตเลอร์ ที่เริ่มในช่วงปี 2470 จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อันนามาซึ่งโศกนาฎกรรมที่อาจลืมเลือนได้ทั้งจากคนเยอรมนี และจากชาวโลก ซึ่งเมื่อเห็นการฝักใฝ่ทหารและความรุนแรงของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ที่กระทำกับคนเห็นต่างทางการเมือง มันก็เป็นแนวโน้มที่น่าวิตกกังวลยิ่ง ถึงชะตากรรมของประชาชนในประเทศไทย และถึงอนาคตของการดำรงอยู่ของประเทศไทยว่าจะอยู่ในระบอบใดในประชาสังคมโลก เพราะนับวัน ประเทศไทยจะทำให้ถูกจัดระบอบที่ห่างไกลจากคำว่า “ประชาธิปไตย” มากขึ้นทุกทีเช่นนี้