จดหมายถึงทูตเยอรมันประจำประเทศไทย กรณีอาชญากรรมรัฐต่อทิวากร วิถีตน – Germany’s Law Enforcement Responsibility In the Case of Tiwagorn Withiton

แคปเชอร์ภาพข่าว BBC กรณีทิวากร วิถีตน ถูกจับตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวช

 

 

16 กรกฎาคม2563

พณ.ท่าน เอกอัครราชทูต มร. เกร์ก ชมิดท์

สถานเอกอัครราชทูตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย

9 ถนนสาทรใต้

กรุงเทพฯ 10120

ประเทศไทย

เรื่อง ภาระความรับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายของประเทศเยอรมนีในกรณีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับ นายทิวากร วิถีตน

กราบเรียน พณ.ท่าน เอกอัครราชทูต มร.ชมิดท์

จดหมายฉบับนี้เป็นฉบับที่สองที่องค์กรของเราได้ส่งถึงสถานเอกอัครราชทูตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำราชอาณาจักรไทย เพื่อกราบเรียนให้ทราบถึงการก่ออาชญากรรมที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ภายในเขตอำนาจศาลยุติธรรมของประเทศเยอรมนี ซึ่งได้ก่อข้อกังวลห่วงใยให้เกิดขึ้นในนานาประเทศ เป็นที่น่าอนาถเมื่ออาชญากรรมที่กล่าวถึงในที่นี้ ได้เกิดขึ้นกับเหยื่อรายใหม่ที่เป็นพลเรือน แต่ผู้กระทำความผิดที่ควรเข้าสู่กระบวนการความยุติธรรมยังคงเป็นคนเดิม กษัตริย์วชิราลงกรณ์ยังคงใช้ประโยชน์จากเอกสิทธิ์ทางการทูตของเขาในการคุ้มครองตนเองจากการถูกดำเนินคดีในประเทศเยอรมนี ย่อมเป็นสิ่งที่ชาวเยอรมันจำทนต่อไปไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อการกระทำของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ แน่ชัดว่าขัดต่อกฎหมายอาญาระดับสากลและระดับท้องถิ่นของเยอรมนี อันที่จริง การเขียนจดหมายในทำนองนี้อีกหลายฉบับเพื่อกล่าวถึงเหยื่ออีกมากรายที่ประสบเคราะห์กรรมจากการ กระทำของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ควรหมดความจำเป็นและยุติลงได้ เมื่อประเทศเยอรมนีได้ยอมรับภาระหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำผิดตามหลักกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ

ภายใต้มาตรา 7 ของทั้งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ และกฎหมายอาญาของเยอรมนี (Völkerstrafgesetzbuch) ที่ต้องดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ เยอรมนี รณีของนายทิวากร วิถีตน โดยเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย ถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชน เมื่อพิจารณาจากหลายทฤษฎีของความประพฤติ ที่สำคัญที่สุดคือกษัตริย์วชิราลงกรณ์มีบทบาทในการทำร้ายมนุษยชนที่เป็นพลเรือนในประเทศไทยของเขาอย่างเป็นระบบ สิ่งเดียวที่ช่วยคุ้มครองกษัตริย์วชิราลงกรณ์คือความซับซ้อนของอำนาจศาลที่มีความไม่ชัดเจนว่าศาลของเยอรมนีสามารถออกหมายจับกษัตริย์วชิราลงกรณ์และสมาชิกคนสำคัญที่อยู่ในคณะบริวารของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ที่ได้ลงมือปฎิบัติงานตามคำสั่งของนาย ได้หรือไม่ แต่เนื่องจากความประพฤติที่ออกแนวอาชญากรเช่นนี้เกิดขึ้นมาในเขตอำนาจศาลยุติธรรมของประเทศเยอรมนี ซึ่งประเทศเยอรมนีเป็นที่ที่กษัตริย์วชิราลงกรณ์ยังคงพักอยู่อาศัยอยู่จริง ประเด็นนี้จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อศาลของเยอรมนีในการส่งเรื่องฟ้องร้องผู้กระทำความผิดตามขั้นตอนปกติของการดำเนินคดีในเยอรมนี

ข้อเท็จจริงในคดีนายทิวากรมีลำดับการเกิดเหตุการณ์ที่ตรงไปตรงมา โดยเมื่อประมาณวันที่ 16 มิถุนายน 2563 นายทิวากร วิถีตน ได้นำรูปภาพลงเฟซบุ๊คที่เป็นรูปของตัวเขาสวมใส่เสื้อยืดที่มีข้อความพิมพ์อยู่ด้านหน้าว่า เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้วเป็นการแสดงความเห็นทางการเมืองที่ได้รับความคุ้มครองจากทั้งทางกฎหมายและธรรมเนียมของสากล แต่การแสงดออกความเห็นทางการเมืองเช่นนี้ในประเทศไทยกลับถือเป็นการปลุกเร้าให้มีการต่อต้านสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นเขาจึงถูกทางการมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ นำมาซึ่งการส่งเจ้าหน้าที่จากหลายฝ่าย ทั้งทหาร หน่วยข่าวกรอง และตำรวจ ไปเยี่ยมบ้านของเขา เพื่อสอบถามและเอาเรื่องเขาและครอบครัวของเขา ในการสอบถามครั้งหนึ่ง ทิวากรเล่าว่าเจ้าหน้าที่ได้ขอร้องให้เขาเลิกใส่เสื้อยืดดังกล่าว โดยบอกว่าเขาอาจจะตกเป็นเป้าของความรุนแรงจากคนในชุมชน หากเขายังไม่เลิกใส่เสื้อยืดดังกล่าว และเจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้พูดเป็นนัยว่าตำรวจจะไม่ปกป้องเขาจากภัยความรุนแรง เหตุผลคือการต่อต้านสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งผิดกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ทำสิ่งผิดกฎหมายย่อมไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังเห็นว่าทิวากรจะต้องพบเจอแต่การเหยียดหยามและการข่มเหงตลอดชีวิตจากคนรอบข้าง แต่สิ่งสุดท้ายที่ทิวากรต้องพบเจอคือในวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เขาถูกจับกุมโดยไม่มีหมายจับจากเจ้าหน้าที่คนใด และถูกนำตัวไปกักขังไว้ที่โรงพยาบาลจิตเวชในจังหวัดขอนแก่น ด้วยเหตุผลเพียงแค่ทิวากรไม่ยอมเลิกเชื่อในความเห็นทางการเมืองของเขา

หลักการพื้นฐานของอาชญากรรมต่อมนุษยชน

อาชญากรรมต่อมนุษยชนจำเป็นต้องมีองค์ประกอบทางคดี ได้แก่เกณฑ์ทางศาลที่ใช้ชี้วัดว่าอาชญากรรมมีระดับความรุนแรงที่มากพอหรือไม่ เจตนาเพื่อให้กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมต่อมนุษยชนถูกบังคับใช้เฉพาะคดีที่มีความรุนแรงที่มากพอที่จะได้รับการพิจารณาจากนานาประเทศว่าเป็นคดีที่ถือว่าอยู่เหนือกรอบอำนาจอธิปไตยของประเทศใดประเทศหนึ่ง และต้องเรียกร้องให้ประเทศนั้นบังคับใช้กฎหมายตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำด้านมนุษยธรรมและอารยธรรมในโลกยุคใหม่อันพึงมี หรือจะกล่าวอีกทางหนึ่งคือ อาชญากรรมต่อมนุษยชนเป็น”การโจมตีทำร้ายบุคคลจำนวนมากในวงกว้างหรือในกระบวนการที่เป็นระบบ โดยมุ่งกระทำต่อเหยื่อที่เป็นประชาชนในภาคพลเรือน” และดังนั้นจึงไม่อาจถูกละเลยไปจากความสนใจของนานาประเทศได้

มื่อปรากฎหลักฐานที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าประชาชนผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองในประเทศไทยตกเป็นเหยื่อการโจมตีทำร้ายด้วยกลไกของรัฐบาลไทยมาเป็นเวลานานหลายปี เช่นโดยกองทัพ ตำรวจ และข้าราชการ ส่วนหัวของกลไกของรัฐไทยได้แก่สถาบันกษัตริย์ ซึ่งในขณะนี้ประมุขของสถาบันคือกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ทั้งกษัตริย์วชิราลงกรณ์และกษัตริย์ภูมิพลผู้เป็นบิดา ต่างรับรู้ถึงเคราะห์กรรมของประชาชนไทยที่ตกเป็นเหยื่อจากการโจมตีทำร้ายโดยกลไกของรัฐไทย ซึ่งมีหลักฐานที่เป็นความคิดเห็นและคำสั่งของกษัตริย์ทั้งสองที่เกิดขึ้นในบางโอกาส อันเกี่ยวโยงกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือมาตรา 112 ของไทย อันที่จริงเมื่อไม่นานมานี้ กษัตริย์วชิราลงกรณ์ก็ได้ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนไทย โดยการขอให้ไม่มีการใช้กฎหมายมาตรา 112 อย่างพร่ำเพรื่อเมื่อรัฐต้องการเอาผิดกับประชาชนผู้เห็นต่างทางการเมือง ซึ่งรัฐได้ปฎิบัติตามคำขอ แต่ก็หลังจากที่มีการใช้พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาใช้เอาผิดกับประชาชนแทนการใช้มาตรา112 การโจมตีทำร้ายประชาชนก็ยังไม่ได้หยุดลง เนื่องจากระบบเอาผิดกับประชาชนผู้เห็นต่างยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้อาชญากรรมต่อมนุษยชนในประเทศไทยยังคงเกิดขึ้นต่อไป ในกรณีของนายทิวากร วิถีตน สิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาแสดงให้เห็นถึงการกักขังบุคคลหรือการปิดกั้นเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง รวมทั้งการทรมานโดยการสร้างความเจ็บปวดทั้งทางกายและทางใจต่อทิวากร และการมุ่งร้ายต่อเขา ด้วยความที่เขาเป็นผู้หนึ่งที่มีความเห็นต่างทางการเมือง

 

อาชญากรรมโดยการกักขังบุคคลหรือการปิดกั้นเสรีภาพทางกายของบุคคลอย่างรุนแรง

การก่ออาชญากรรมโดยการกักขังบุคคลหรือการปิดกั้นเสรีภาพทางกายของบุคคลอย่างรุนแรงจะสำเร็จลงเมื่อบุคคลถูกกักขังอย่างเข้มงวด จนเกิดการละเมิดหลักพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งผู้ก่ออาชญากรรมก็ทราบดีถึงข้อเท็จจริงในสถานการณ์ว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางกายของบุคคลอย่างรุนแรง การกักขังบุคคลในโรงพยาบาลจิตเวชโดยไม่ผ่านขั้นตอนหรือไม่มีความเร่งด่วนที่ชัดเจน เช่นบุคคลดังกล่าวเป็นภัยเฉพาะหน้าต่อความปลอดภัยทางร่างกายของคนในสังคม ก็เท่ากับว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางกายที่รุนแรง

การใช้วิธีบังคับกักขังในโรงพยาบาลจิตเวชมักไม่ค่อยถูกมองว่าเป็นการลงโทษ ดังนั้นจึงเกิดความเสี่ยงที่การกักขังจะไม่จำกัดระยะเวลา เนื่องจากไม่มีความชัดเจนของเวลาและเป้าหมายการรักษาโรค แม้แต่ในคนส่วนใหญ่ที่มีสามัญสำนึกปกติ หากถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวชก็อาจโวยวายได้เมื่อพบกับเงื่อนไขที่ต้องถูกกักขัง แต่กลับถูกวิเคราะห์ว่าเป็นการแสดงอาการทางจิตได้ โดยขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่สังเกตุอาการ ซึ่งยิ่งเป็นการตอกย้ำความเห็นชอบต่อการขยายระยะเวลาในการกักขังบุคคล การปิดกั้นเสรีภาพทางกายไม่ได้เกิดขึ้นกับการเคลื่อนย้ายร่างกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงเสรีภาพในการใช้เสียง ทำให้ระยะเวลาของการกักขังถูกขยายออกไปมากขึ้นโดยไม่ต้องขึ้นกับอะไร การกักขังเพื่อรักษากลายเป็นวงจรที่ไม่มีวันจบเมื่อนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลนี้ จึงมีหลักการพื้นฐานที่การบังคับกักขังในโรงพยาบาลจิตเวชจะต้องผ่านการพิจารณาเกณฑ์มาตรฐานอย่างเข้มงวดตามขั้นตอนที่พึงมี ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายไปอย่างสิ้นเชิงในกรณีของการกักขังนายทิวากร

อาชญากรรมโดยการทรมานบุคคล

การก่ออาชญากรรมโดยการทรมานบุคคลจะสำเร็จลงได้เมื่อบุคคลกระทำตนเองเพื่่อสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจในขณะที่ถูกบังคับและควบคุมตัวโดยผู้ก่ออาชญากรรม โดยไม่มีกฎหมายใดๆรองรับการกระทำดังกล่าวทั้งสิ้น โดยมีนัยยะสำคัญอยู่ที่อาชญากรรมเช่นนี้ไม่มีเจตนาโดยตรงที่จะทำร้ายบุคคลที่จำเป็นต้องมีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน อาชญากรรมประเภทนี้จึงเป็นที่เข้าใจได้จากชื่อของมัน การจงใจนำบุคคลเข้าสู่สิ่งแวดล้อมพิเศษที่ถูกออกแบบมาเป็นการเฉพาะเพื่อสร้างความหวาดกลัวและความทุกข์ทรมานอย่างลึกซึ้งแก่บุคคล โดยมีเจตนาที่จะลงโทษบุคคลที่มีความเห็นต่างทางการเมือง จึงเป็นกรณีที่ตรงกับอาชญากรรมประเภทนี้อย่างชัดเจน และยิ่งมีความเป็นไปได้มากว่าการทรมานในที่นี้จะรวมถึงการบังคับกินยาหรือสารกล่อมประสาท ที่มักจะใช้กันมากควบคู่ไปกับการบังคับกักขังในโรงพยาบาลจิตเวช โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ กระบวนการทั้งหมดนี้ถูกวางแผนมาเพื่อสร้างความเจ็บป่วยอย่างร้ายแรงต่อจิตใจ หรือสร้างความทุกข์ทรมานต่อนายทิวากร วิถีตน จึงถือว่าเป็นอาชญากรรมโดยการทรมานบุคคลเมื่อไร้กฎหมายรองรับ

อาชญากรรมโดยการเหยียดหยามบุคคล

การก่ออาชญากรรมโดยการเหยียดหยามบุคคลจะสำเร็จลงได้เมื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลถูกริดรอนด้วยเหตุผลของอัตตลักษณ์ของกลุ่ม ซึ่งตกเป็นเป้าหมายด้วยสาเหตุทางการเมืองหรืออื่นๆ ซึ่งไม่มีกฎหมายสากลใดในโลกเห็นชอบให้กระทำได้ และเป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวโยงกับอาชญากรรมประเภทอื่นที่มีบรรญัติในกฎหมาย การเหยียดหยามบุคคลเป็นอาชญากรรมที่แฝงมากับอาชญากรรมหลัก เมื่อมีผู้กระทำที่ทำให้ผู้ก่ออาชญากรรมหลักเป็นที่เกลียดชังมากขึ้นจนกลายเป็นประเด็นที่องค์กรนานาชาติพิจารณาจัดให้เป็นอาชญากรรมใหม่อีกประเภทหนึ่ง

ในประเทศไทย ใครก็อาจถูกตราหน้าได้ว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มการเมืองนอกกฎหมายเช่นกลุ่มต่อต้านสถาบันกษัตริย์ เพียงแค่กล่าววิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ หรือแสดงความชื่นชมสถาบันกษัตริย์ไม่มากพอ ประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และน่ารังเกียจของการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์เพื่อดำเนินคดีประชาชนเป็นบทพิสูจน์ความจริงในคำกล่าวนี้ ในวันหนึ่ง นายทิวากร วิถีตน ก็เป็นประชาชนทั่วไปคนหนึ่งในสังคมไทย แต่วันต่อมา เขาก็ถูกตีตราว่าเป็นคนสุดโต่งที่ชอบแสดงความคิดที่เป็นอันตรายและจะต้องถูกทำให้เงียบเสียงลงโดยการใช้กำลังกับเขา แต่ในข้อเท็จจริง มีเพียงสิ่งเดียวที่เปลี่ยนไปในตัวเขาคือเขาได้เปิดเผยความเห็นทางการเมืองส่วนตัวของตนออกไปสู่สาธารณะ เขาจึงตกเป็นเป้าหมายของการถูกปิดกั้นเสรีภาพและการถูกทรมานที่มีต้นตอมาจากการแสดงออกทางการเมืองดังกล่าวและการฝักใฝ่ในกลุ่มการเมืองที่อยู่นอกกฎหมายของเขา

ความรับผิดชอบในทางกฎหมายต่ออาชญากรรมของบุคคล

กว่า 70 ปีที่ผ่านมา ศาลทหารระหว่างประเทศ ที่ก่อกำเนิดขึ้นที่เมืองนูเรมเบิร์ก ได้ยืนยันแนวคิดที่ให้บุคคลต้องรับผิดชอบทางกฎหมายต่ออาชญากรรมทีตนก่อขึ้น โดยเป็นอาชญากรรมที่มีระดับความรุนแรงจนจำเป็นที่สังคมโลกต้องเข้ามาร่วมในการพิจารณาตัดสินโทษ มาตรฐานการพิจารณาหาผู้กระทำผิดได้ผ่านการตกผลึกและพัฒนานับจากนั้นเป็นต้นมา แต่สาระสำคัญยังคงอยู่ที่การให้ผู้ที่สั่งการให้มีการก่ออาชญากรรม และผู้ที่ลงมือก่ออาชญากรรมนั้นโดยรับรู้ว่าเป็นการก่ออาชญากรรม ต้องร่วมกันรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมกันสำหรับความผิดที่ก่อขึ้นในเขตอำนาจศาลทุกแห่ง โดยไม่มีการยกเว้นความรับผิดชอบให้แก่บรรดาประมุขของรัฐ นักบวช หรือกษัตริย์ แต่อย่างใด

ในประเทศไทยนั้น ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่างานความมั่นคงของชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ ซึ่งกษัตริย์คนปัจจุบันได้แก่ กษัตริย์วชิราลงกรณ์ ซึ่งยังคงพำนักอาศัยอยู่ในขอบเขตอำนาจศาลของประเทศเยอรมนี ยกเว้นบางช่วงเวลาสั้นๆไม่กี่ครั้งเท่านั้นที่เขาไม่ได้อยู่ในเยอรมนี จึงถือว่าเขาเลือกที่จะอยู่อาศัยภายใต้กฎหมายของประเทศเยอรมนีมากกว่าจะเป็นกฎหมายของประเทศไทยที่เป็นประเทศของเขาเอง ความรับผิดชอบในทางกฎหมายต่ออาชญากรรมของเขาจึงเกิดขึ้นในขณะที่เขาอาศัยอยู่ในเขตอำนาจศาลของประเทศเยอรมนี ไม่ว่าจากการออกคำสั่งโดยตรงให้บริวารของเขาไปก่ออาชญากรรมหรือจากความล้มเหลวในการควบคุมการทำงานของบริวารของเขา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

การเล็งเห็นอาชญากรรมจากการออกคำสั่งดังกล่าวไม่มีความสำคัญในกรณีนี้ เนื่องจากกษัตริย์วชิราลงกรณ์ถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาสายทหารโดยปริยาย การเล็งเห็นอาชญากรรมจึงไม่จำเป็นสำหรับเขา แต่ความรับผิดชอบทางกฎหมายก็ยังเป็นของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการควบคุมบริวารผู้รับคำสั่งจากเขา ทั้งที่เขาควรรู้หรือน่าจะรู้มาก่อนถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในช่วงเวลาที่การกระทำต่อทิวากรที่เป็นพลเรือนกำลังจะเกิดขึ้น อีกทางหนึ่ง หากเขาถูกพิจารณาว่าเป็นผู้บังคับบัญชาสายพลเรือน ประวัติศาสตร์ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาในประเทศไทย และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ตอกย้ำจากนานาชาติเกี่ยวกับการใช้กฎหมายต่างๆของไทยเพื่อหาเรื่องดำเนินคดีกับประชาชนที่เป็นพลเรือน ก็น่าจะเป็นพื้นฐานที่เพียงพอที่จะทำให้เขาสามารถมีความรู้และความเข้าใจในผลสุดท้ายที่เป็นอาชญากรรมได้ในที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีการทำร้ายประชาชนอย่างเป็นระบบอยู่แต่เดิมแล้ว

อย่างไรก็ดี นอกจากการพิจารณาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา กษัตริย์วชิราลงกรณ์ก็มีความรู้และความเข้าใจโดยตรงเมื่อพิจารณาจากการยอมรับความจริงที่เมื่อไม่นานมานี้จนนำไปสู่การมีบัญชาการให้จำกัดการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับประชาชน ซึ่งได้ประกาศเป็นนโยบายโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันโอชา เมื่อเดือนมิถุนายน 2563 หากจะกล่าวว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์ขาดความรู้ที่แท้จริง ก็อาจเป็นได้ด้วยสาเหตุเดียวคือพลเอกประยุทธ์ประกาศนโยบายโดยอ้างบัญชาการของกษัติรย์วชิราลงกรณ์โดยมิชอบ แต่รูปการณ์นี้ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ในสายตาของผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทยยุคใหม่

ในขณะที่ขอบเขตอำนาจต่อทุกสถาบันในประเทศไทยของกษัตริย์วชิราลงกรณ์กว้างใหญ่ไพศาล เขาสามารถทำให้การทำร้ายประชาชนที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบทั่วประเทศยุติลงได้อย่างง่ายดาย ผ่านการพูดถึงปัญหาต่อสาธารณะอย่างเรียบง่าย หรืออย่างน้อยที่สุดผ่านทางสายการบังคับบัญชาของเขา แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมา ความล้มเหลวอันต่อเนื่องของกษัตริย์วชิราลงกรณ์นับตั้งแต่ขึ้นครองราชย์ ในการดำเนินการเพื่อยุติปัญหานี้หรือส่งตัวผู้ที่ลงมือก่ออาชญากรรมให้แก่กรมกองที่เหมาะสมผู้มีหน้าที่สอบสวนคดี นับว่าเป็นการทำร้ายองค์กรระหว่างประเทศที่มีภาระกิจเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

ในข้อสุดท้าย ผู้ที่มีอำนาจสั่งการซึ่งได้ออกคำสั่งด้วยความรู้ว่าสิ่งที่ตนสั่งเป็นอาชญากรรม หรือผู้รับคำสั่งไปขยายผลการปฎิบัติงานตามคำสั่งต่างๆที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดเจน จะต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่ตนได้ก่อขึ้นในส่วนของตน สิ่งที่ได้ปฎิบัติไปจะกลับมาเล่นงานผู้ที่ออกคำสั่งลำดับสูงขึ้นไปให้ตกเป็นจำเลย รวมถึงผู้ที่รับมอบคำสั่งไปปฎิบัติต่อ ซึ่งทั้งหมดเป็นระบบที่ทำให้การโจมตีทำร้ายเกิดขึ้น เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชนเป็นสิ่งผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง หมายความว่าเจ้าหน้าที่ทหารทุกคนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และหน่วยงานประจำในสังกัด บุคคลากรตำรวจจากพลเรือน ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฎิบัติงานในภาคสนามที่ปฎิบัติงานตามคำสั่งหรือผู้ที่จ่ายงานตามคำสั่งจากหน่วยเหนือออกไป รวมไปถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลและแพทย์เจ้าของไข้ ทั้งหมดนี้ทุกคนต้องรับรู้ว่าเขากำลังช่วยกันต่อยอดกิจกรรมที่เป็นอาชญากรรม ซึ่งต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการปฎิบัติงานของตนตามคำสั่งที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ หากมีผู้ใดกระทำการตามคำสั่งดังกล่าวในขณะที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลที่เกี่ยวกับตน ผู้นั้นจะต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ไม่มีผู้ใดจะสามารถอ้างความคุ้มครองจากคำสั่งของนายที่อยู่สูงสุดได้

จึงกราบเรียนมายังสถานเอกอัครราชทูตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทยด้วยความเคารพและความห่วงใยอย่างลึกซึ้งต่อสถานการณ์ดังกล่าว ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 เพื่อขอรับความอนุเคราะห์ในการพิจารณาและให้ความเห็นต่อเรื่องนี้

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

ลงชื่อ…..

Name Surname

สำเนาถึง

Gyde Jensen, Chair for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs

Dr. Norbert Rцttgen, Chair for Bundestag Committee on Foreign Affairs

Wolfgang Hellmich, Chair for Bundestag Committee on Defense

Margarete Bause, Spokesperson for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian

Affairs Zaklin Nastic, Spokesperson for Bundestag Committee on Human Rights and Humanitarian Affairs

Dr. Peter Frank, Public Prosecutor General of the Federal Court of Justice

เมื่อไม่ก้มกราบก็จงเป็นบ้า – ปล่อยตัวทิวากร วิถีตน

https://act4dem.net/?p=1911