พสกนิกรชาวไทยหลายๆ คนยังคงปักใจเชื่อว่า กษัตริย์ของพวกเขายังคงพำนักอยู่ในประเทศไทย โดยกล่าวอ้างถึงการที่ธงมหาราชยังคงโบกสะบัดอยู่เหนือยอดเสาในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีความหมายตามราชประเพณีโบราณว่า “หากเชิญขึ้นในที่แห่งใดก็เป็นที่หมายว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ณ ที่แห่งนั้น” (ราชกิจจานุเบกษา 2440)
น่าเสียดายที่นิทานปรัมปราหลอกเด็กนี้ ไม่อาจจะหลอกคนไทยที่รู้จักใช้เทคโนโลยีได้อีกต่อไป เมื่อพวกเขาได้เชื่อมต่อกับข้อมูลทั่วโลกบนอินเตอร์เนต ในวันนี้เรารู้ดีว่าหากเราจะชื่นชมบารมีของกษัตริย์ไทยองค์ปัจจุบัน เราต้องเริ่มจากการไปขอวีซ่าที่สถานทูตเยอรมนีเสียก่อน
เป็นที่รู้กันไปทั่วโลกว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์ใช้ชีวิตอยู่ระหว่างไทยและเยอรมนีมาหลายปีแล้ว โดยเดินทางไปกลับด้วยเครื่องบินส่วนตัว หรือไม่ก็ใช้บริการเครื่องการบินไทยที่กำลังเผชิญวิกฤติทางการเงินอย่างหนัก ถึงแม้ว่าข้อมูลเรื่องที่เขามีเครื่องบินส่วนตัวรวมสี่เครื่องจะไม่ใช่ความลับ แต่ก็น่าแปลกที่มีเพียงชาวไทยจำนวนไม่น้อยไม่ทราบเรื่องนี้
ความจริงก็คือ วชิราลงกรณ์ครอบครองเครื่องบินส่วนพระองค์ไว้ถึงสี่เครื่อง[1] โดยมีรายละเอียดดังที่แสดงใน ตารางที่ 1 โดยเครื่อง HS-CMV และ HS-MVS เดิมเป็นของ Royal Thai Air Force และถูกถ่ายโอนมาเป็นของในช่วงปี 2016-2017 ให้เป็นของ His Majesty King Maha Vajiralongkorn และอีกสองเครื่องคือ HS-HMK และ HS-HRH เป็นเครื่องของวชิราลงกรณ์ตั้งแต่ดำรงฐานะเป็นเจ้าฟ้าชายอยู่แล้ว ทั้งนี้ HS-HMK และ HS-MVS ซึ่งเป็นเครื่องที่ Boeing 737-800 ที่ใหม่สุดสองเครื่องถูกนำขึ้นบินบ่อยที่สุด
1 https://www.aircraftcostcalculator.com/AircraftOperatingCosts/374/Boeing+737-40
https://www.aircraftcostcalculator.com/AircraftOperatingCosts/153/Boeing+BBJ2
HS-CMV
เครื่องบิน HS-CMV นี้คือเครื่องบินที่อาจจะเรียกว่าเคยโด่งดังที่สุดในทั้งสี่เครื่อง เคยเป็นข่าวไปทั่วโลก และเป็นเรื่องที่เบิกเนตรให้หลายๆ คนทราบว่าวชิราลงกรณ์ใช้เวลาส่วนมากในเยอรมนี โดยที่ HS-CMV เคยถูกรัฐบาลเยอรมนียึดไว้ที่สนามบินมิวนิคเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 [2,3] เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจ่ายค่าปรับทางด่วนโทลเวย์ เนื่องจากการผิดสัญญาในการก่อสร้างกับบริษัท Walter Bau เป็นเงิน 30 ล้านยูโร เครื่องบินได้รับการปล่อยคืนให้วชิราลงกรณ์ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน
HS-HRH
HS-HMK
HS-MVS
บทความชุดนี้เราจะขอนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องบินเหล่านี้ว่านับตั้งแต่หลังการขึ้นครองราชย์ในปลายปี พ.ศ.2559 เพื่อแสดงหลักฐานว่ากษัตริย์ไทยใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปอย่างหรูหราเพียงใด และเขา(หรือคนใกล้ชิดของเขา)บินบ่อยเพียงใด ในข้อมูลที่เราจะนำเสนอในตอนต่อไป เราจะนำท่านไปพบกับลักษณะการบินที่มีความผิดปกติพิลึก ทั้งเส้นทาง และความถี่ในการบิน
จากข้อมูลบันทึกการบินของเครื่องราชพาหนะทั้งสี่เครื่องในยุโรปตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2559 เราได้นำมาเปรียบเทียบกับตารางการปรากฎตัวของวชิราลงกรณ์ในประเทศไทยตามตารางที่ 2 (สามารถอ้างอิงวันที่ได้จากข่าวในพระราชสำนัก) และพบว่ามีความสอดคล้องกัน ซึ่งเราจะนำเสนอรายละเอียดในตอนต่อไป
ไม่เพียงแต่หลักฐานที่แสดงถึงการพำนักอยู่ของวชิราลงกรณ์เท่านั้น เรายังได้ประเมินถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงของเที่ยวบินสุขสำราญต่างๆ นี้ และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาในแต่ละเที่ยวบิน เพราะเรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องของผู้เสียภาษีชาวไทย แต่นี่คือวิกฤติการณ์ที่คนทั้งโลกกำลังเผชิญ
[1] https://www.planespotters.net/airline/His-Majesty-King-Maha-Vajiralongkorn
[3] https://www.nytimes.com/2011/08/13/world/asia/13iht-thailand13.html