3 พฤษจิกายน 2563
ศึกระหว่างยุคสมัย -2563 การลุกขึ้นสู้เพื่อปลดแอกของเยาวชนในประเทศไทย
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
ACT4DEM – Action for People’s Democracy – แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย
จากจุดยืนที่สนับสนุนประชาธิปไตย ผู้เขียนบทความนี้พยายามให้ข้อมูลพื้นฐานบางประการสำหรับผู้ที่อาจไม่ค่อยรู้เรื่องการเมืองไทยมากนักแ ละอาจสับสนหรือตื่นตระหนกกับกระแสการประท้วงที่กำลังเผชิญหน้ากับรัฐบาลไทย (รัฐบาลเผด็จการทหาร) และ สถาบันกษัตริย์เองด้วย เป้าหมายคือ เพื่อเพิ่มความเข้าใจของทั่วโลกว่าขณะนี้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนในประเทศไทย ยังต้องการการสนับสนุนและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาคมระหว่างประเทศ และจากผู้คนทุกหนทุกแห่งในโลก
สารบัญ
ประวัติศาสตร์ประเทศไทยโดยย่อ
ประวัติศาสตร์สถาบันกษัตริย์ไทยโดยย่อ
ระบอบทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อสู้กับระบอบประชาธิปไตย
70 ปีแห่งการปิดกั้นเสรีภาพและการกดขี่
รัฐประหารและกษัตริย์
เผด็จการ ประยุทธ์ จันโอชา
กษัตริย์วชิราลงกรณ์
2563 ปีแห่งการลุกขึ้นต่อสู้ของเยาวชนไทย
ความยุติธรรมอยู่หนใด ?
จดหมายลงวันที่ 19 กันยายน ถึงกษัตริย์วชิราลงกรณ์
อ่านเพิ่มเติม
เกี่ยวกันผู้เขียน
ประวัติศาสตร์ประเทศไทยโดยย่อ
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยซึ่งมีปริมาณประชากรประมาณ 69 ล้านคน ซึ่งรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ใช้ภาษาถิ่นอันหลากหลายรวมประมาณ 40 ชาติพันธุ์ ได้ทำให้ความสำเร็จของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนอย่างเต็มพิกัดในราชอาณาจักรไทยมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงต่อความสุขและความปรารถนาของประชาชนในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่ออนาคตของประชาคมอาเซียนด้วย
ในช่วงสงครามสหรัฐอเมริกา – อินโดจีนปี 2493-2518 พื้นที่แทบจะทั้งหมดของประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกาใช้ให้เป็นฐานปฎิบัติการทางทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา กองทัพสหรัฐฯได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนสถาบันกษัตริย์และกองทัพไทยเพิ่มขีดความสามารถของทั้งสองฝ่ายในการปฏิบัติการควบคู่กันเพื่อขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยไม่ให้เกิดขึ้นดังที่เห็นได้ชัดจากการทำรัฐประหารโดยฝ่ายกษัตริย์ควบกองทัพที่เคยเกิดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 12 ครั้ง กระแสการประท้วงทั่วประเทศไทยกำลังพยายามบอกว่าถึงเวลาที่เราจะยุติการสืบทอดอำนาจด้วยการทำรัฐประหารเช่นนี้ได้แล้ว
ภายหลังการรัฐประหารครั้งล่าสุดในปี 2557 พลเอกประยุทธ์ จันโอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารและผู้บัญชาการทหารบกได้แต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี และยังใช้วิธีการให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจนถึงวันนี้ (กลางเดือนตุลาคม 2563) ในฐานะจอมเผด็จการราชานิยมผู้น่าสมเพช ได้พยายามที่จะครองอำนาจต่อไป โดยปฏิเสธที่จะยอมรับถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เขาต้องเผชิญกับการประท้วงครั้งมโหฬารของประเทศไทยที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้
ในเดือนตุลาคม 2559 หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2489-2559) วชิราลงกรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทยในฐานะรัชกาลที่ 10 หรือกษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี โดยราชวงศ์จักรีสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2325 เมื่อรัชกาลที่ 1 ยุติราชวงศ์ตากสินโดยทำการประหารชีวิตสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมถึงพระญาติและครอบครัวส่วนใหญ่ของพระองค์ไปจนหมดสิ้น
238 ปีภายใต้ประมุขแห่งราชวงศ์จักรี หมายความว่าประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังไม่สามารถปลดแอกตัวเองจากความโหดร้ายของระบอบศักดินาแบบกษัตริย์ได้ วันนี้รัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราลงกรณ (พระชนมายุ 68 ปี) ประมุขแห่งรัฐของประเทศไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก และดำรงอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถแตะต้องได้ตามกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นไปเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์เพียงอย่างเดียวนั่นคือผลประโยชน์ของตัวกษัตริย์เอง
นอกเหนือจากการปฏิเสธแนวคิดเรื่องสิทธิที่เท่าเทียมกันของคนอย่างรนแรง โดยอ้างรากฐานสังคมที่ได้กำหนดมาแล้ว ความอยู่รอดของราชวงศ์จักรีส่วนหนึ่งยังขึ้นอยู่กับการสร้างความมั่นใจว่างานทางการทูตของประเทศไทย จะต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีใจรักต่อสถาบันกษัตริย์เท่านั้น ที่ได้ส่งไปประจำอยู่ในสถานทูตไทยทุกหนแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะในยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน เพื่อสร้างความประทับใจที่อบอุ่นที่จะได้รับจากการทูตชั้นดีที่มาจากราชอาณาจักรที่ดีงาม
ประวัติศาสตร์สถาบันกษัตริย์ไทยโดยย่อ
การปลุกระดมเพื่อสถาปนารัฐธรรมนูญสำหรับสยามเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 120 ปีที่แล้วในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในรัชกาลนี้ประสบความสำเร็จในการปราบปรามความพยายามครั้งแรกนี้ แต่ต่อมาอีก 30 ปี ก่อนที่เวลาย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จะผ่านไป ฟ้าแลบไร้สีเลือด คือการปฏิวัติที่เข้ามาทำให้ 150 ปีแห่งการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายใต้ราชวงศ์จักรี มีอันต้องหยุดชะงักลง คณะปฎิวัติที่นำโดยกลุ่มนักวิชาการหนุ่มและนายทหาร ที่รวมกันเรียกตัวเองว่าคณะราษฎร เป็นพรรคของประชาชน พวกเขาตั้งเป้าที่จะเปิดถนนสู่ประชาธิปไตยให้กับสยาม (ประเทศไทย) แต่การเดินทางกลับเต็มไปด้วยขวากหนามที่นำมาสู่ความเจ็บปวดของประชาชนคนไทยจนถึงปัจจุบันนี้
คณะราษฎรอันประกอบด้วยกลุ่มพลเรือนแ ข้าราชการระดับสูง ชนชั้นสูง และนายทหาร ได้รวมตัวกันประชุมและเริ่มวางแผนการปฎิวัติ โดยนายปรีดี พนมยงค์ ลูกชายชาวนา ที่มีโอกาสไปศึกษาในประเทศฝรั่งเศสในช่วงทศวรรษที่ 1920 ได้นำกลุ่มการเมืองพร้อมด้วย พันโท พิบูลสงคราม ผู้นำกลุ่มทหาร ประกาศการปฎิวัติระบอบการปกครองของสยาม โดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงในช่วงเช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยที่ไม่มีผู้ใดระแคะระคายมาก่อน และสยามก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบกษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
รัฐบาลใหม่ของสยามยังคงถูกครอบงำโดยกองทัพ แต่อย่างน้อยก็มีเป้าหมายที่ยึดระบอบประชาธิปไตยบางประเภท: รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ระบุว่าประชาชนในสยาม (ยังไม่ใช่ประเทศไทย) ถืออำนาจอธิปไตย อย่างไรก็ตามการปฏิเสธระบอบประชาธิปไตยจากวัง จากพวกนิยมกษัตริย์ และจากทหารระดับสูง เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และการไม่ยอมรับความเท่าเทียมกันทางการเมืองของชนชั้น และการไม่ยอมรับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งและถืออำนาจอธิปไตย ได้หมายความว่าที่ผ่านมา88 ปีจนถึงทุกวันนี้ ระบอบประชาธิปไตยในสยามยังไม่ได้บรรลุมรรคผล
ระบอบทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อสู้กับระบอบประชาธิปไตย
การรัฐประหารครั้งแรกโดยผู้ฝักใฝ่กษัตริย์เพื่อต่อต้านขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของไทยที่เพิ่งเริ่มต้น ได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2476 แต่กลับล้มเหลว แม้ว่ารัชกาลที่ 7 จะให้เงินสนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้ก็ตาม ต่อมาชนชั้นนำของราชวงศ์ได้พยายามทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 เพื่อต่อต้านรัฐบาลของหลวงพิบูลสงครามในเดือนมกราคม พ.ศ. 2482 ซึ่งขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีและจอมพล การพยายามก่อรัฐประหารครั้งนี้ล้มเหลวเช่นเดียวกัน และส่งผลให้หลวงพิบูลสงครามสั่งประหารผู้นำในการก่อรัฐประหาร 18 คน และสั่งจำคุกแกนนำรัฐประหารตลอดชีวิต และโทษคุกระยะยาวสำหรับผู้ร่วมก่อการคนอื่นๆ
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ลุงของกษัตริย์อนันทมหิดล และกษัตริย์ภูมิพล ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่นายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงครามถูกกดดันจากทางวังเป็นอย่างมากให้ปล่อยตัวกรมพระยาชัยนาทฯ แต่จอมพลหลวงพิบูลฯไม่สามารถเปลี่ยนจุดยืนได้ จนกระทั่งหลังการถอนทหารญี่ปุ่นออกจากประเทศ ไทย จอมพลหลวงพิบูลหลุดจากอำนาจ กรมพระยาชัยนาทได้รับการอภัยโทษในเดือนกันยายน พ.ศ. 2487 ในฐานะพระราชโอรสองค์สุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ของรัชกาลที่ 5 จึงสามารถกลับมาเป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุดในการเมืองภายในวัง
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 กษัตริย์อานันทมหิดลถูกพบสิ้นพระชนม์บนเตียงโดยมีกระสุนทะลุศีรษะ กรมพระยาชัยนาทก้าวเข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนและเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาในปีถัดไป เจ้าชายภูมิพลพระอนุชาของกษัตริย์อานันทมหิดลเพิ่งเดินทางกลับจากสวิตเซอร์แลนด์พร้อมพระเชษฐาเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด เมื่อพระเชษฐาทีเป็นกษัตริย์สิ้นพระชนม์ จึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 แต่ความสงสัยว่าร.9มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของพี่ชายของพระองค์หรือไม่ยังคงค้างคา พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์เกิดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นวันที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามอย่างเป็นระบบในการสถาปนาอำนาจของสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ในสยาม
70 ปีแห่งการปิดกั้นเสรีภาพและการกดขี่
ความสับสนวุ่นวายทางการเมืองของไทยและความไม่พอใจในวงกว้างและการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน มีต้นตอมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของระบอบราชานิยมที่เข้มข้นแพร่หลายในช่วงเวลา 70 ปีที่ผ่านมา สำหรับเด็กไทยที่เกิดหลังปี 2489 คงเคยได้ยินคำพูดว่า”ฆ่าคอมมิวนิสต์เพื่อชาติ ศาส์น และกษัตริย์” จนเป็นเรื่องธรรมดา ด้านล่างนี้เป็นเพียงบางส่วนของเหตุการณ์น่ากลัวที่ได้เกิดขึ้น คั่นหน้าประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งรอยยิ้ม หลังจากที่ภูมิพลขึ้นเป็นกษัตริย์
25-28 เมษายน 2491 ตำรวจและทหารหลายร้อยนายในจังหวัดนราธิวาสได้เข้าล้อมหมู่บ้าน ดุซงดอร์และสังหารชาวบ้านไปประมาณ 400 คน
จาก28 ก.พ. ถึง 1 มี.ค. 2492 สมาชิก 5 คนของกลุ่มแนวร่วมปรีดีเพื่อประชาธิปไตยถูกลอบสังหารตามคำสั่งของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลเผด็จการทหารในขณะนั้น ทั้งที่ถูกจับกุมและใส่กุญแจมืออยู่ โดยมีสี่คนเป็นสมาชิกรัฐสภา ถูกกระสุนสาดเข้ามาจากด้านหลังของรถตู้และคนที่ห้าได้แก่หัวหน้าหน่วยข่าวกรองตำรวจถูกยิงเสียชีวิตคาถนน
13 ธันวาคม พ.ศ. 2495 หัวหน้าพรรคแรงงาน นายเตียง ศิริขันธ์ อดีต ส.ส. จากจังหวัดสกลนคร ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมในกรุงเทพฯพร้อมเพื่อน 4 คน ศพทั้งหมด ถูกนำไปเผาที่จังหวัดกาญจนบุรีห่างจากจุดเกิดเหตุ 200 กม.ตามคำสั่งของอธิบดีกรมตำรวจ
ในช่วงของ ‘การสังหารคอมมิวนิสต์เพื่อชาติและกษัตริย์’ ที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2514-2516 ในพัทลุงเพียงจังหวัดเดียว มีชาวบ้านราว 3,000 คนถูกกองทัพไทยสังหารอย่างโหดเหี้ยม บางคนถูกเผาทั้งเป็นในถังน้ำมัน บางคนถูกผลักใส่กระสอบและทิ้งลงข้างภูเขา หรือผลักตกจากเฮลิคอปเตอร์
ในระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม 2516 กองทัพทหารของกษัตริย์ทำการปราบปรามนักศึกษาและชนชั้นกรรมาชีพที่ชุมนุมประท้วงเผด็จการบยท้องถนนในกรุงเทพฯ โดยมีผู้เสียชีวิต 77 คนส่วนใหญ่ถูกยิงโดยทหาร และมีผู้บาดเจ็บ 847 คน
6 ตุลาคม 2519 กองทัพของกษัตริย์ทำการปราบปรามนักศึกษาที่รวมตัวชุมนุมเพื่อประท้วงรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งตามบันทึกเหตุการณ์ของรัฐบาลที่เป็นทางการพบว่ามีนักศึกษา 41 คนถูกสังหารโดยกองกำลังผสม ที่ประกอบด้วยทหารบกไทย ตำรวจตระเวนชายแดนและกลุ่มอันธพาล ‘ปกป้องสถาบันกษัตริย์’ ที่เป็นผู้ช่วยทหาร ในที่เกิดเหตุพบผู้ล้มตาย 30 ศพที่ระบุตัวตนได้ แต่อีก 1 0 สภาพศพถูกทำให้เสียหายจนเกินกว่าจะระบุตัวตนได้ ฝ่ายตำรวจได้นำศพชาย 26 รายและหญิง 4 รายส่งกลับไปให้ครอบครัวเพื่อประกอบพิธีเผาศพ หลายร้อยคนได้รับบาดเจ็บ นักเรียน 3,154 คนถูกจับกุม ผู้คนหลายพันคนหาที่หลบซ่อนตัว ส่วนใหญ่หนีเข้าป่า และด้วยความโกรธแค้นต่อการกดขี่อันโหดร้ายของรัฐบาล ทำให้หลายคนในเหตุการณ์ล้อมปราบได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และหลบซ่อนตัวจนได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมา หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์สลายตัวลงในปี 2523
ในระหว่างวันที่17 – 19 พฤษภาคม 2535กองทัพของกษัตริย์ทำการปราบปรามผู้ประท้วง ซึ่งเรียกกันว่าเหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ มีผู้เสียชีวิต 45 คนบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ซึ่งในจำนวนนี้ประมาณ 38 คนถูกยิงด้วยกระสุนของกองทัพบกไทย และรายงานระบุว่ามีผู้ “สูญหายไป” ประมาณ 70 คน
ช่วงเมษายน – พฤษภาคม 2553 เกิดการปราบปรามประชาชนโดยกองทัพของกษัตริย์ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ (จาก”พรรคประชาธิปัตย์”) ซึ่งได้ประกาศ “เขตยิงสด” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือออกกองกำลังชั้นยอดที่มีใบอนุญาตให้สังหารพลเรือนไทย มีผู้เสียชีวิต 99 ศพบนท้องถนนในกรุงเทพฯเกือบทั้งหมดถูกทหารซุ่มยิง มีประมาณ 2,000 คนได้รับบาดเจ็บ ถูกจับกุม 470 คน เมื่อบันทึกของทางการระบุว่า “บาดเจ็บ” หรือ “เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ” พวกเขาลืมใส่ “จากกระสุนทหารเข้าที่ด้านหลังของศีรษะ”
จากบันทึกบางส่วนที่มีอยู่ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการกดขี่ทางการเมืองและการวิสามัญฆาตกรรมตั้งแต่ปี 2489 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณมากกว่า 13,000 คน แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้กล่าวถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริง ที่มีสาเหตุมาจากการกดขี่ทางการเมือง และการปราบปรามโดยทหาร
รัฐประหารและกษัตริย์
ตั้งแต่ต้นรัชสมัยของกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ต่างล้วนปฏิเสธที่จะเคารพหรือรับรู้ถึงความมุ่งมั่นในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนไทย
กระทั่งล่าสุดพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล (รัชกาลที่ 9) ทรงโต้แย้งว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย พระองค์แสดงตัวเสมือนกษัตริย์ที่พระเจ้าส่งมาเพื่อดูแลประชาชนโดยได้รับการช่วยเหลือที่เหมือนพระเจ้าเมตตาส่งมาเช่นกันจากผู้บัญชาการกองทัพไทย ทหารของสหรัฐฯ และการรัฐประหารโดยกองทัพ 12 ครั้ง
รัฐบาลทั้งหมดที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไป 28 ครั้งที่จัดขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์ภูมิพล ล้วนถูกขัดขวางด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือวิธีการอื่น เพื่อไม่ให้สามารถอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระสี่ปีได้แม้สักหนึ่งวาระ ยกเว้นรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรที่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ครบสี่ปีตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2551
รัฐบาลทักษิณได้เป็นรัฐบาลและมีอำนาจผ่านการเลือกตั้ง โดยที่พรรคของทักษิณชนะอย่างถล่มทลายและถูกโค่นลงถึง 2 ครั้งโดยกองทัพของกษัตริย์ในปี 2549 และ 2557
การรัฐประหาร 2557 ดำเนินไปด้วยจุดประสงค์เดียว: เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนผ่านรัชกาลจากรัชกาลที่ 9 เป็นรัชกาลที่ 10 จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและการจัดการของผู้บัญชาการทหารที่ได้รับความไว้วางใจจากทางวัง กล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อให้แน่ใจอีกครั้งว่าความกังวลและผลประโยชน์สำคัญของประชาชนถูกละเลยได้และต้องไม่เป็นอันตราย
เผด็จการ ประยุทธ์ จันโอชา
หัวหน้าคณะรัฐประหารปี 2557 พลเอกประยุทธ จันโอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้สลายทุกองค์ประกอบของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตั้งแต่ฉีกรัฐธรรมนูญและจัดตั้งคณะทหารที่เรียกตัวเองว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยครึ่งหนึ่งของจำนวน220 ที่นั่งใน “สภานิติบัญญัติ” นี้เต็มไปด้วยคนที่ คสช. คัดสรรและอีกครึ่งหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร และหน้าที่หลักของสนช. คือการเป็นตรายางรับรองคำสั่งที่มาจาก คสช.
หลังจากถอดเครื่องแบบนายพลและแต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2557 และด้วยการเป็นหัวหน้าทั้งคสช. และสนช. ประยุทธได้ล้างอายให้ผู้บัญชาการทหารบกคนก่อนเขาหลายคน โดยเขาได้เลื่อนตำแหน่งตนเองจากผู้บัญชาการทหารบกของไทย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย และดำเนินการเช่นเดียวกับผู้ทำรัฐประหารคนก่อนๆที่ทำมา โดยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกแล้ว (ฉบับที่ 20 ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2475) และใช้ทุกกลวิธีและหนทางที่เป็นไปได้ทั้งหมดเพื่อชะลอเสียงเรียกร้องของประชาชนส่วนใหญ่ที่กำลังเร่งให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้คณะรัฐบาลของเขาได้มีเวลามากที่สุดในการรวบรวมคะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งให้ได้มากที่สุด
การแสดงความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรที่สิ้นพระชนม์ไปในปี 2559ได้รับการจัดสรรเวลาอย่างเป็นทางการคือ 1 ปีเต็ม ซึ่งเป็นปีที่สยามมงกุฎราชกุมารได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ ความเคลื่อนไหวครั้งแรกของกษัตริย์ใหม่ในฐานะประมุขแห่งรัฐ คือการออกคำสั่งให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่ร่างขึ้นโดยรัฐบาลทหารและผ่านประชามติของประชาชนไปแล้ว ให้ส่งผลดีต่อพระองค์ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ได้แก่ การขยายทั้งเสรีภาพส่วนตัวและกำลังทหารในส่วนของพระองค์ให้เพิ่มมากขึ้น และพอกพูนความมั่งคั่งส่วนตัวของพระองค์ออกไปอย่างมหาศาล ทั้งหมดนี้ผ่านฉลุย โดยประชาชนได้แต่ตื่นตระหนก และปราศจากสิทธิใดๆที่จะร้องคัดค้านโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตามเมื่อโลกจับตามองและความต้องการของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปที่เพิ่มขึ้นและการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปทำให้ประเทศไทยได้รับความอับอายหากยังไม่เจ็บปวดพอ ประยุทธจึงไม่สามารถชะลอการเลือกตั้งทั่วไปได้ตลอดไป
หลังจากทำการชวนเชื่อประชาชนหลายครั้ง เพื่อจุดประสงค์ที่จะถ่วงเวลาต่อไป ในที่สุดรัฐบาลทหารก็อนุญาตให้ประชาชนได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม 2562 แต่จะต้องมีการใช้กลเม็ดเด็ดพรายทั้งหมดตามที่กษัตริย์จะพอใจ แต่ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณของประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าพรรคฝ่ายค้านจะไม่สามารถเอาชนะได้ ในรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดว่าจะต้องมีสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ทั้งหมด 250 คนซึ่งทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งโดยพรรคพวกของพลเอกประยุทธ์ ที่เข้ามาเพื่อลงคะแนนเลือกพลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกรอบ นอกจากนี้ตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่เรียกกัน เป็นผลผลิตของรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างโดยประชาชนในปี 1997 ในตอนนี้ (หลังการรัฐประหารในปี 2549 และ 2557) ตุลาการของศาลนี้ทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลประยุทธ์ทั้งหมดค่อนข้างสบายใจในการตัดสิทธิและยุบพรรคฝ่ายค้านและ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสส.ที่พวกเขาเห็นว่าไม่ดีกับรัฐบาล มีการให้กลโกงในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2019 ที่ทำให้ผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้านไม่มีทางที่จะชนะได้เสียงข้างมากในรัฐสภา
การเล่นเกมแบบราชานิยมเหล่านี้เป็นที่เข้าใจกันดีและน่าเบื่อหน่ายอย่างยิ่งสำหรับคนไทยส่วนใหญ่เพราะพวกเขารู้พร้อม ๆ กันว่าพวกเขามีทางเลือกเพียงสองทางคือยอมรับสภาพเดิมหรือประท้วง
การประท้วงเริ่มมีแรงผลักดันมากขึ้น หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีความมั่นใจสูงจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุด โดยสามารถชนะเลือกตั้งได้ 80 ที่นั่งจาก 220 ที่นั่งของสนช. จากการเลือกตั้งปี 2562
กษัตริย์วชิราลงกรณ์
แน่นอนว่าภูมิพลกษัตริย์องค์เก่า (พ.ศ. 2489-2562) ทรงทราบมาบ้างว่ามงกุฎราชกุมารพระโอรสของพระองค์ทรงมีชื่อเสียงที่น่าอับอายในฐานะผู้ติดเซ็กส์ ที่มีวิถีชีวิตเหมือนมาเฟีย แต่เขาไม่ต้องการที่จะฝ่าฝืนรูปแบบดั้งเดิมของราชวงศ์ เมื่อกษัตริย์ภูมิพลสิ้นพระชนม์ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 รัชทายาทวชิราลงกรณ์จึงได้รับการประกาศเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ และพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ใหม่ต่อสาธารณะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2019เป็นเวลา 3 วัน โดยใช้งบประมาณไปประมาณ 32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กษัตริย์องค์ใหม่ของประเทศไทยปัจจุบันอายุ 68 ปีทอดทิ้งและทำให้ภรรยาคนแรกของเขาต้องอับอายภายในเวลาไม่นานหลังจากที่ทั้งคู่แต่งงานกัน ในปี 2539 เขาขับไล่ภรรยาคนที่สองและลูกชายทั้งสี่คนที่เขามีกับเธอออกไปจากประเทศไทย ในปี 2557 เขาสั่งให้ภรรยาคนที่สามของเขาถูกกักบริเวณในบ้าน และจำคุกพ่อแม่ พี่ชายสามคนและน้องสาว รวมถึงน้าของเธอและญาติอีกหลายคน ต่อมาเขาแต่งงานกับภรรยาคนที่สี่ในปี 2562
ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งแก้ไขโดยวชิราลงกรณ์เอง ขณะนี้สถานะของกษัตริย์ไทยใกล้เคียงกับกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่ากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ตามที่ระบุไว้ข้างต้นก่อนที่ผู้คนจะกระพริบตา กษัตริย์องค์ใหม่ของคนไทยได้ดำเนินขั้นตอนสำคัญบางอย่าง เพื่อเสริมกำลังให้ตนเอง โดยการเพิ่มจำนวนราชองครักษ์ของกษัตริย์ที่อยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงของพระองค์อีกหมื่นคนจากจำนวน 80,000 นายที่มีสมรรถภาพแข็งแกร่งและจากการแก้ใขรัฐธรรมนูญที่ให้พระองค์เข้าถึงความมั่งคั่งของสำนักงานทรัพย์สินส่วนกษัตริย์ได้โดยตรง ซึ่งแม้แต่พ่อของพระองค์ก็เข้าถึงได้อย่างจำกัด ทำให้พระองค์มีฐานะเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยมีทรัพย์สินรวมมูลค่าประมาณ 50 – 60 หมื่นล้านยูโร แต่กระนั้น พระองค์ยังคงเรียกร้องเงินจำนวนมหาศาลจากผู้เสียภาษีชาวไทยอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านยูโร เพื่อเป็นเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวในพระราชวังหลายแห่งและเป็นทุนให้บรรดาสิ่งที่เรียกว่า ‘โครงการหลวง’ของกษัตริย์ อนาคตของกษัตริย์องค์นี้ถูกหลอกหลอนอย่างหนักจากหลักฐานที่เกิดขึ้นท่วมท้นว่าตั้งแต่ปี 2559 นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย 9 คนที่ขอลี้ภัยจากรัฐบาลเผด็จการทหารไปอยู่นอกประเทศไทย ถูกตามล่าและสังหาร โดยหน่วยลอบสังหารของกษัตริย์ไทยพระองค์นี้
ในรูปแบบยุคกลางที่แท้จริงกษัตริย์องค์นี้ยังมีชื่อเสียงในการคัดเลือกใครก็ตามที่ทำให้เขาไม่พอใจ เพื่อส่งเข้าไปรับการทรมานในคุกมืดของพระองค์เอง เรื่องราวมีมากมายที่ล้วนเลวร้าย สถานที่จองจำแห่งหนึ่งที่เป็นที่โจษจันกันมากคือเรือนจำทวีวัฒนาที่ตั้งอยู่ในวังทวีวัฒนาเดิม ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของกรุงเทพฯ ถึงการทรมานนักโทษอย่างสุดโหด ถึงขนาดมีรายงานว่าผู้ที่ไม่ได้ออกมาจากคุกนี้อย่างมีชีวิต เป็นเพราะเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายและจากวิธีอื่นๆ
ปัจจุบันประมุขแห่งรัฐของไทยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับฮาเร็มของเขาที่ Grand Hotel Sonnenbichl ในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยได้รับการปรนนิบัติบริการจากคนรับใช้และผู้คุ้มกันนับร้อยคน มีผู้หญิงและคนรับใช้ในคณะของเขาซึ่งดำรงอยู่ในฐานะนักโทษของกษัตริย์เท่านั้น ว่ากันว่าแม้แต่คนที่ทำให้กษัตริย์ไม่พอใจที่นี่ก็ยังถูกทำร้ายและทุบตี และกลัวเกินกว่าที่จะเข้าแจ้งความกับตำรวจเยอรมัน โดยพากันกลัวว่าครอบครัวของพวกเขาในประเทศไทยจะต้องเผชิญกับการลงโทษ
ในประเทศไทยกษัตริย์สามารถที่จะทำและทำทุกอย่างได้ตามที่พระองค์ต้องการโดยไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด ไม่มีใครสามารถฟ้องร้องพระองค์ได้ ทำให้สามารถมีชีวิตอยู่เหนือกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์ คนไทยส่วนใหญ่ทราบดีอยู่แล้วว่ากษัตริย์องค์ใหม่ของพวกเขานั้นโหดร้ายและมีความผิดทางอาญา แต่จนถึงขณะนี้ความคิดและความรู้สึกของพวกเขาต้องถูกระงับไปด้วยความกลัวต่อกฎหมายที่เข้มงวดของรัฐบาลทหาร โดยเฉพาะกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ตามที่เรียกกัน ซึ่งอาจทำให้ใครก็ตามต้องถูกจำคุกเป็นเวลาหลายปีเนื่องจากมีข้อบ่งชี้หรือกล่าวหาว่าเป็นการดูหมิ่นองค์กษัตริย์ รวมถึงพระญาติ เรื่องราว ผลประโยชน์ หรือโครงการใดๆของพระองค์ ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ว่าเมื่อ Covid-19 ทำให้เกิดความทุกข์ยากทุกหนทุกแห่งกษัตริย์พระองค์นี้กลับเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราในเยอรมนี ทารุณกรรมผู้หญิง ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนไปเป็นจำนวนมหาศาลและส่งตัวแทนออกไปอุ้มสังหารผู้ต่อต้านกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชน จนที่สุดก็ได้ก่อให้เกิดกระแสการแสดงความรังเกียจกษัตริย์อย่างเปิดเผยของคนไทยในประเทศไทยเอง
กษัตริย์ของไทยพระองค์นี้คิดว่าตัวเองอยู่เหนือกฎหมายของเยอรมนีและสหภาพยุโรปด้วยหรือไม่? เขาจินตนาการหรือไม่ว่าเขาไม่อยู่ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และความเป็นกษัตริย์ของเขาอยู่ไกลเกินเอื้อมของศาลอาญาระหว่างประเทศงั้นหรือ? เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงคิดเช่นนั้น แต่จำนวนคนต่อต้านที่เพิ่มขึ้น ที่รวมถึงเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยเริ่มพบว่าพระองค์มีความผิดในทุกข้อหา
2563 ปีแห่งการลุกขึ้นต่อสู้ของเยาวชนไทย
เมื่อต้นปี 2563 กลุ่มนักศึกษาเริ่มปรากฏตัวเป็นครั้งแรกบนท้องถนนในกรุงเทพฯในจำนวนมาก – เพื่อประท้วงการตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้พรรคอนาคตใหม่เป็นฝ่ายค้านใหญ่ของรัฐบาลเผด็จการประยุทธ์ การมาถึงของไวรัส Covid-19 ทำให้ประยุทธมีเหตุผลที่จะควบคุมสถานการณ์ได้ และยังสะดวกในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและยับยั้งการประท้วง อย่างไรก็ตามในเวลานี้คนไทยส่วนใหญ่เริ่มเบื่อหน่ายกับเผด็จการของตนอย่างมากและสิ่งที่ประยุทธ์พูดหรือไม่พูดหรือทำหรือไม่ทำ ก็เริ่มไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนต้องการ เยาวชนไทยกำลังเกิดความเข้าใจร่วมกันและเกิดฉันทามติว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องแจ้งให้พลเอกประยุทธทราบว่าระบอบการปกครองนอกกฎหมายของเขาผิดกฎหมายและวิธีการดำเนินการของเขาไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้อีกต่อไป
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมเยาวชนไทยจากโรงเรียนมัธยมศึกษาไปจนถึงมหาวิทยาลัย จากทั่วประเทศไทย ได้ลุกขึ้นมาชุมนุมต่อต้านอำนาจทหารที่เป็นใหญ่ในระบบการเมืองไทยที่คงอยู่มานาน พลวัตการเรียกร้องของเยาวชนที่เกิดขึ้นในวงกว้างอย่างร้อนแรง ขยายวงครอบคลุมตั้งแต่การเรียกร้องให้ยกเลิกระเบียบวินัยแบบทหารในโรงเรียนไปจนถึงการปฏิรูประบบกษัตริย์โดยไม่ประนีประนอม ได้ส่งสัญญาณที่สั่นสะเทือนไปทั้งประเทศ
ความยุติธรรมอยู่หนใด ?
อย่างที่ได้คาดการณ์ไว้มานานว่าประเทศไทยมาถึงจุดเชื่อมต่อที่อันตราย แต่หนีไม่พ้น ในการเผชิญหน้ากับสถานกษัตริย์ควบกองทัพที่ไร้ความปรานี เอาใจยาก เยาวชนไทย ในขณะนี้จึงสมควรได้รับความเข้าใจ การสนับสนุนและความเห็นอกเห็นใจจากประชาคมระหว่างประเทศ
เราจะสนับสนุนจุดมุ่งหมายและความประสงค์ที่สูงด้วยตรรกะ สามัญสำนึก มาตรฐาน ความดีงาม ความเป็นปกติและเป็นธรรมชาติของเหล่าเยาวชนที่ทำการลุกฮือขึ้นมาประท้วงต่อต้านการปกครองระบอบเผด็จการเช่นนี้ ได้อย่างไร?
เป็นเวลาหลายปีแล้วที่การประเมินสถานการณ์และความคิดเห็นของคนส่วนรวมเกิดเดินมาอยู่ในทิศทางเดียวกันมากแรงต่อต้านที่มาพร้อมกันจากการรับรู้ว่าไม่มีทางที่คนไทยหมายถึงประชาชนส่วนใหญ่จะเคลื่อนหลุดจากอดีตไปหาอนาคตได้พร้อมกับสามารถที่จะทุ่มเททั้งหัวใจมันสมองและพลกำลังเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาและวิกฤตที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศระดับภูมิภาคและระดับโลกได้แท้จริงหากยังมีระบอบกษัตริย์ควบกองทัพที่มีอำนาจอุปถัมภ์ที่สามารถถือสิทธิในการเป็นเจ้าของหรือไม่ให้ใครเป็นเจ้าของความคิดความหวังความปรารถนาความต้องการการประดิษฐ์การเคลื่อนไหวและการกระทำของประชาชนคนใดก็ได้ลอยอยู่เหนือหัวพวกเขา
กษัตริย์วชิราลงกรณ์ประมุขแห่งรัฐเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เรารู้จักกันดี เป็นผู้ล่วงเกินสิทธิพิเศษที่มอบให้กับสถานะโดยกำเนิดของพระองค์ เป็นผู้ล่วงละเมิดทางร่างกายและจิตใจของผู้หญิงหลายคน เป็นผู้ประหารชีวิตคนธรรมดาที่ชั่วร้าย เป็นเจ้าของทาสกว่า 10,000 ชีวิต บางคนถูกพวกค้ามนุษย์ชักนำมา สำหรับเยาวชนไทยและเยาวชนทั่วโลก พระองค์นี้เป็นตัวอย่างของความเป็นมนุษย์ที่เลวร้ายที่สุดจะพรรณา แต่พระองค์กลับเป็นถึงประมุขของรัฐไทย
เนื่องจากประชาชนในประเทศไทยไม่มีที่พึ่งด้านความยุติธรรมที่แท้จริง หมายรวมถึงการอุทธรณ์ฏีกาในคดี ในช่วงต้นปี 2020 ACT4DEM จึงได้ร่วมมือกับองค์กร PixelHELPER ในเยอรมนีเพื่อนำอาชญากรรมที่เกิดโดยกษัตริย์วชิราลงกรณ์ไปยังศาลยุติธรรมในยุโรปโดยตรง
พลเอกประยุทธนับเป็นหุ่นเชิดของสถาบันกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี จึงไม่มีอำนาจหากปราศจากกษัตริย์ ดังนั้นงานของเราในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปที่การดึงดูดความสนใจจากรัฐสภาเยอรมัน (Bundestag) จากสหภาพยุโรป และจากองค์การสหประชาชาติ รวมถึงทุกคนทั่วโลกที่รักประเทศไทย ให้เห็นถึงการทุจริตโกงกินระดับสุดขีด และความโหดร้ายป่าเถื่อนดังที่เห็นได้จากพฤติกรรมของกษัตริย์วชิราลงกรณ์
เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์จะไม่สามารถมีส่วนในการทรมานและสังหารผู้คนได้อีกต่อไป รวมทั้งจะไม่สามารถเททิ้งเงินภาษีของประชาชนที่หามาได้ยากยิ่ง และมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการใช้เยียวยาประเทศได้อีกต่อไป เพียงเพื่อระบายความปรารถนาที่เห็นแก่ตัวของพระองค์เอง
เราสามารถยุติการปกครองแห่งความกลัวนี้ร่วมกันได้ก่อนที่มันจะเลวร้ายลงไปมากกว่านี้ เราจะร่วมกันดูแลให้ความยุติธรรมในประเทศไทยเบ่งบาน เชิญอ่านและแบ่งปันข้อความนี้ออกไปให้มากที่สุด เราขอลงจดหมายฉบับลงวันที่ 19 กันยายน 2563ถึงในหลวงรัชกาลที่ 10นี้ให้อ่านโดยทั่วถึงกัน
++++++++++++
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร
Grand Hotel Sonnenbichl
Burgstraße 97, 82467
Garmisch-Partenkirchen, Germany
19 กันยายน 2563
พระองค์ท่าน
เมื่อสามปีที่ผ่านมา ในวันที่ 19 กันยายน 2563 เราได้ไปยื่นจดหมายให้ท่าน ณ ที่ทำการมิวนิคโอเปอร์เรชั่น เพื่อเรียกร้องให้ท่านเคารพประชาธิปไตย
นับเป็นเวลาสี่ปีมาแล้ว ที่ท่านได้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ซึ่งในช่วงเวลานี้ เพื่อให้การใช้ชีวิตอย่างรื่นรมย์หรูหราของท่านในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนีเป็นไปอย่างราบรื่น ทหารมือหนักเท้าหนักของท่านก็ยังคงไม่เปลี่ยนเป้าหมายไปจากการปิดกั้นสิทธิตามประชาธิปไตยและการเข้าถึงสวัสดิการของประชาชน
ในจดหมายฉบับแรกที่เราเขียนถึงท่าน เราได้พยายามให้เหตุผลต่อท่าน ด้วยการอธิบายถึงความปราถนาของประชาชนที่จะเห็นสมาชิกราชวงศ์เคารพประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกนึกคิดของประชน เป็นที่น่าผิดหวังยิ่ง ที่ตลอดช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมามันไม่ได้นำมาซึ่งการปฏิรูปใดๆด้านประชาธิปไตยให้มีความคุณภาพและก้าวหน้ามีเพียงแต่การคุกคามสิทธิมนุษยชนของพวกเราที่มากขึ้นเรื่อยๆสิ่งที่เราเห็นคือท่านใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟื่อยในเยอรมนีและจินตนาการฝันเฟื่องถึงการครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จรวมทั้งการฝันถึงการได้บัญชาการกองทัพตำรวจและทุกภาคส่วนของการบริหารกิจการบ้านเมืองและการใช้เสรีภาพของท่านที่จะหยิบฉวยเอาทรัพย์สมบัติของประเทศไปใช้อย่างไรก็ได้เฉกเช่นเดียวกับที่กษัตริย์โลกยุคกลางกระทำกัน
ใครก็ตามที่กล้าจะทัดทานจิตนาการฝันหวานของท่านก็จะต้องเผชิญกับการคุกคามด้วยคุกหรือการถูกสังหาร
ในความพยายามที่จะปกครองด้วยความกลัว ในใจท่านก็จะยิ่งหวาดกลัวประชาชน และการลุกขึ้นต่อต้านราชบัลลังก์ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ประวัติศาสตร์ไม่เคยปรานีต่อผู้ปกครองที่โหดร้าย
กระประท้วงที่นำโดยเยาวชนทั่วประเทศไทย ทำให้ประชาชนทั้งประเทศลุกขึ้นประท้วงต่อต้านท่านและรัฐบาลของท่านเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
19 กันยายน 2563 คือวันนี้เมื่อ 14 ที่แล้ว ทหารของพระราชาได้บดขยี้และทำลายกระบวนการประชาธิปไตยเป็นครั้งที่ 11 ด้วยข้ออ้างเดียวอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือเพื่อกดหัวประชาชนให้อยู่ในสภาพแทบหายใจไม่ออกภายใต้การควบคุมของราชวงศ์จักรี
ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 นักศึกษาไทยได้เดินหน้าเพื่อเสนอข้อเรียกร้อง 10 ประการเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
การยกเลิกกฎหมายป้องกันการฟ้องร้องกษัตริย์
การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและนิรโทษกรรมให้กับทุกคนที่ถูกดำเนินคดี
การแยกทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ออกจากกัน
ลดงบประมาณอุดหนุนสถาบันกษัตริย์
ยุบหน่วยงานราชสำนักที่ไม่จำเป็น อาทิ องคมนตรี
การใช้จ่ายของราชสำนักต้องสามารถตรวจสอบได้
ยุติการให้อำนาจกษัตริย์แสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ยุติการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อกษัตริย์
สอบสวนการฆาตกรรมต่อผู้วิพากษ์และวิจารณ์สถาบันกษัตริย์
กษัตริยจะต้องไม่รับรองรัฐประหารอีกต่อไป
ทุกผู้คนต่างหวังว่าท่านจะฟังเสียงของผู้คนที่มีความคลั่งโกรธในประเทศไทยอย่างจริงจัง ทุกฝ่ายต่างก็ต้องการหาหนทางด้วยวิถีสันติวิธีเพื่อยุติปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนชาวไทย ที่สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของพวกเขายังคงถูกปฏิเสธอย่างรุนแรง เพียงเพื่อให้ท่านเล่นบทบาทแห่งกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก
ประชาชนในประเทศไทย กำลังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และการถอนตัวของสถาบันกษัตริย์และทหารของกษัตริย์จากการแทรกแซงทางการเมืองไปด้วยวิถีที่เคารพประชาชน อย่างสันติและสง่างาม
ประชาชนชาวไทย อยู่ด้วยความหวังว่า สำนึกแห่งผู้มีชาติกำเนิดสูงส่งจะเอาชนะความรู้สึกของความเห็นแก่ตัวไปได้ ประชาชนยังเฝ้าหวังว่าท่านจะเข้าใจและประทับใจที่ประชาชน 70 ล้านคน ต่างก็มีศักยภาพที่จะหาหนทางที่จะสรรหารัฐบาลมาปกครองได้ด้วยตัวเอง และโดยที่ท่านจะปฏิบัติตามมติของประชาชน
ในความประจักแจ้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยความห่วงใยยิ่งต่ออนาคตของพวกเรา ACT4DEM มีจุดยืนในการโหวตยกเลิกระบอบกษัตริย์
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
ACT4DEM – แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย
* * * * * * *
อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://act4dem.net/
ประชาชนลุกฮือ (Voter’s Upraising (2009)), https://act4dem.net/?p=661
ทำไมฉันไม่รักกษัตริย์ (Why I don’t Love the King (2010)), https://act4dem.net/?p=653
ก้าวข้ามความกลัวกษัตริย์ (Overcoming fear of Monarchy (2011)) https://act4dem.net/?p=732
ทำความเข้าใจหมอกมัวที่ครอบคลุมทัศนะไทย (Understanding the fog shrouding Thai vision (2015)) https://act4dem.net/?p=677
เกี่ยวกับผู้เขียน:
จรรยายิ้มประเสริฐเป็นนักเคลื่อนไหวด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนและอดีตผู้อำนวยการรณรงค์แรงงานไทย (TLC) หลังจากเกิดการปราบปรามผู้ประท้วงชาวไทยในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งส่วนใหญ่ถูกยิงโดยทหาร เธอได้ตัดสินใจที่จะทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปที่การรณรงค์ต่อต้านเครือข่ายความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์และกองทัพ ที่มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามประชาชนไทยที่มุ่งหวังจะมีประชาธิปไตยในประเทศไทย และการครอบงำการเมืองภายในประเทศตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ปัจจุบันจรรยาเป็นผู้ประสานงานของขบวนการประชาธิปไตยโดยประชาชน ACT4DEM – Action for People’s Democracy ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มุ่งหมายทำงานเพื่อเสริมสร้างการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตั้งแต่ปี 2507