จัดทำโดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ และทีมข้อมูล ACT4DEM
บทความนี้สรุปมาจากการไลฟ์สดในช่อง ACT4DEM เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเราจัดขึ้นเฉพาะกิจ เนื่องจากพี่น้องชาวไทยกำลังจะไปชุมนุมหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ และในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563
ชมวีดีโอ ตีแผ่ สนง. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในยุค ร.10 และเดอะแก๊งส์ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=zCafPIcSapk
วีดีโอ โต้เรื่อง พรบ. ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์และการปล้นชาติของ ร.10 https://www.youtube.com/watch?v=L3ioFu_wDz4
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาจากไหนกันแน่
เป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบันว่าสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชน เรื่องนี้เราจึงไปตรวจสอบกับประวัติของสำนักทรัพย์สิน เดิมทีเงินภาษีของประชาชนถูกเก็บรวมไปใช้จ่ายโดยกษัตริย์ จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองที่นำเอาสมบัติที่สถาบันเก็บริบไปจากประชาชนมาใช้จ่ายอย่างโปร่งใส่ และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนมากขึ้น
พระราชบัญญัติการบริหารจัดการฝ่ายทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้มีการออก พระราชบัญญัติการบริหารจัดการฝ่ายทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปี 2479 ที่ให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นประธานและจัดตั้งคณะกรรมการอีก 4 คน โดยได้รับพระบรมราชานุญาต มีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ โดยที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหน้าที่ดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ฉบับแรก (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 20 สิงหาคม 2478) หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ 24 มิถุนายน 2475
ซึ่งพรบ. นี้มีการแก้ไขในปี 2484 ในเรื่องเดียวคือให้เปลี่ยนแปลงในส่วนคณะกรรมการจาก 4 คน เป็น “อย่างน้อย 4 คน”
ภาพ พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 2) ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำการเปลี่ยนแปลงเพียงเรื่อง คณะกรรมการทรัพย์สินให้มีอย่างน้อย 4 คน
ภาพต่อไปนี้ เป็น พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) ในปี 2491 ที่มีการจัดตั้ง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในเป็นนิติบุคคล และได้รับการยกเว้นภาษี” โดยมี รมต.กระทรวงการคลังเป็นประธาน แต่มอบอำนาจให้กษัตริย์มากขึ้น และได้มีการยึดอำนาจในการจัดการใช้จ่ายที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง มาสู่ในมือราชสำนัก ด้วยการระบุว่า “การใช้จ่ายผลกำไรหลักหักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็ยังมีการกำกับให้เป็นไปเพื่อพระราชกุศล หรือในทางศาสนา หรือราชประเพณีที่เป็นพระราชกรณียกิจของกษัตริย์เท่านั้น” แต่ สนง. ทรัพย์สินฯ นับตั้งแต่ปี 2491 ก็ยังเป็นสนง. ทรัพย์สินของแผ่นดิน ที่กษัตริย์มีอำนาจในการกำกับ แต่ก็ยังไม่ได้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของกษัตริย์รัชกาลที่ 9 และในสมัยนั้น ก็มีการแยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ ออกจากทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินสาธารณแผ่นดิน อย่างชัดเจน
โดยที่สถานะของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ถูกแก้ไขในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 อีก 2 ครั้ง คือ หลังจากคณะเจ้าโค่นคณะราษฎร และยึดอำนาจในปี 2490 ด้วย พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 หลังจากนั้นอีกเกือบ 70 ปีต่อมาจึงถูกแก้ไขขนานใหญ่อีกที ภายใต้รัชกาลที่ 10 ซึ่งครั้งนี้เป็นการแก้ไขเพื่อคืนอำนาจในการใช้ทรัพย์สินทั้งหมดกลับให้กษัตริย์ เช่นเดียวกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2560 และ 2561
ที่ประกาศในพระราชกิจจานุกเบกสาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2560 คือการปล้นทรัพย์สินของแผ่นดินไปสู่การเป็นทรัพย์สินของกษัตริย์ และนี่คือการคอรัปชั่นที่กระทำโดยประมุขของชาติ และพรบ. ทั้งสองฉบับนี้ ยังขัดระเบียบของการบริหารราชการแผ่นดินอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะมองในด้าน “นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ” หรือในด้านทศพิธราชธรรม ที่ประมุขของชาติพึงมี หรือจะพิจารณาในด้านจริยธรรมของการดำรงอยู่ร่วมของคนทั้งชาติอย่างผาสุข “ศีลธรรรม จริยธรรม คุณธรรม” ก็ตาม
ทั้งนี้ พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ปี 2560 ได้มีหน้าที่หลัก ในการยกเลิก พรบ. ฉบับปี 2479 2484 และ 2491 เพื่อมอบอำนาจ “ตามพระราชอัธยาศัย” ให้กับกษัตริย์ “พระมหาวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” และใน พรบ.ฉบับปี 2561 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์” มาเป็น “ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” คือการทำการยึดครองทรัพย์สินที่เคยเป็นทรัพย์สินร่วมของแผ่นดิน ทรัพย์สินสาธารณะ ทรัพย์สินที่ใช้งบประมาณของชาติในการดูแลและก่อสร้างมาโดยตลอด ทั้งพระบรมหาราชวัง และวังต่างๆ ที่มีภาษีของชาติไปใช้จ่ายในการก่อสร้างและดูแล ให้มาเป็นสมบัติของกษัตริย์คนเดียว
และยังมีการยึดหน่วยงานทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่กำกับดูแลโดยกระทรวงการคลังจนมีผลประโยชน์งอกเงยจำนวนมหาศาลให้มาเป็นของกษัตริย์คนเดียว
เอาคนรับใช้มาบริหารทรัพย์สิน
หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ในปี 2560 แล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในคณะกรรมการบริหารสำนักงานทรัพย์สินจึงเริ่มขึ้น โฉมหน้าปัจจุบันของบอร์ดผู้บริหาร เต็มไปด้วยทหารรับใช้ใกล้ชิดวชิราลงกรณ์เกือบทั้งหมด
เมื่อเราเปรียบเทียบความแตกต่างของคณะกรรมการบริหารทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ปัจจุบัน กับคณะกรรมการทรัพย์สิน”ส่วน” พระมหากษัตริย์ เมื่อรัชกาลที่ 9 จะเห็นว่าเดิมที สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริหารโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในการบริหารสินทรัพย์
ไม่เพียงแค่นั้น รายงานประจำปีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ชี้แจงว่าเงินถูกใช้ไปในโครงการใดบ้างก็ไม่ถูกตีพิมพ์อีกเลยหลังการขึ้นครองราชย์ของ ร.10 และการเปลี่ยนแปลงสถานะสำนักงานทรัพย์สิน
ปัจจุบันหน้าแผนผังองค์กรของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ยังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะตั้งมาเกือบสี่ปีแล้ว โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารและโครงสร้างองค์กร
มีรายงานกล่าวว่า สนักงานทรัพย์สินธิ์ส่วนพระมหากษัตริย์มีการลงทุนในบริษัทใหญ่เล็กกว่า 300 บริษัท แต่ที่ทางเราตรวจพบได้ทางอินเตอร์เนต ในปัจจุบันมีรายชื่อของบริษัทที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่เปิดเผย มีดังนี้
โดยบริษัททุนลดาวัลย์ และบริษัทวังสินทรัพย์ จะดำเนินการเป็นโบรคเกอร์ นายหน้าซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือกองทุนต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการเข้าถือหุ้นของบริษัทต่างๆ โดยตรงอีกสิบกว่าบริษัท สำหรับบริษัทเทเวศประกันภัย ปูนซีเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ กษัตริย์วชิราลงกรณ์จะถือหุ้นในชื่อของตนเอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สิน แต่ก็ยังส่งคณะกรรมการสำนักงานทรัพย์สินไปเป็นกรรมการบริหารบริษัทอีกที
นี่คือการปล้น
พระราชบัญญัติ จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ที่ประกาศโดยพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 และ พระราชบัญญัติ จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 ที่ประกาศโดยพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 คือการยึดสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติแผ่นดิน ไปผนวกกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้เป็นหน่วยก้อนเดียวกัน ในนาม “ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
ทั้งนี้ ใน พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ได้ยกเลิก พรบ. เก่าๆ ทุกฉบับ ตั้งแต่ฉบับปี พ.ศ. 2479 ฉบับปี พ.ศ. 2484 และฉบับปี พ.ศ. 2491
“มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๒) พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉะบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๔ (๓) พระราชบญั ญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉะบับท่ี ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และทรัพย์สินที่ทรงได้มา ไม่ว่าในทางใดและเวลาใดอันเป็นการส่วนพระองค์ ทั้งนี้ รวมถึงดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สิน เช่นว่านั้นด้วย
“ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์
มาตรา ๕ ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”
ที่มา: เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๗๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ทั้งนี้ ในพรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ปี 2561 ระบุดังในภาพประกอบ
พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2561 คือการปล้นทรัพย์สินแผ่นดินครั้งมโหฬาร อันประเมินมูลค่าไม่ได้ เพราะมันหมายรวมถึงโบราณสถาน และโบราณวัตถุ และพระราชวังต่างๆ ร่วม 40 แห่งที่ก่อสร้างและทำนุบำรุง โดยงบประมาณและภาษีจากประชาชน ให้เข้าไปเป็นทรัพย์สินของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว โดยที่กษัตริย์จะมอบหมายให้ใครกำกับดูแลก็ได้ โดย “พระราชอัธยาศัย”
การเปลี่ยนแปลง (ความสูญเสีย) ที่หนทางเอากลับคืนมาประเทศชาติกระทำได้อย่างยากลำบากยิ่ง โดยจะยกตัวอย่างของการสูญเสียในส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ และปูนซีเมนต์ไทย
การปล้นธนาคารไทยพาณิชย์
ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2559 กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง (กระทรวงการคลัง) ถือหุ้นของธนาคารในสัดส่วนร้อยละ 23.12 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สัดส่วนร้อยละ 22.98 และกระทรวงการคลังในสัดส่วนร้อยละ 0.09 (จากรายงานประจำปี 2559 ของธนาคารไทยพาณิชย์)
โดยขอให้ดูโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่หุ้น 23% เป็นหุ้นในนามของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ที่กำกับโดยกระทรวงการคลังและมีขอบเขตการใช้จ่ายเพื่อกิจการสาธารณประโยชน์) แต่ในปัจจุบันหุ้นจำนวนนี้มูลค่ 799,792.59 หุ้น ตกเป็นของ “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ที่สามารถให้ใช้หรือถ่ายโอนให้ใครก็ได้ “ตามพระราชอัธยาศัย”
ทั้งนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ให้ข้อมูลทรัพย์สินไว้ดังนี้
โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 3,225 พันล้านบาท มีเงินฝาก 2,407 พันล้านบาท และมีสินเชื่อ 2,171 พันล้านบาท ธนาคารจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันหุ้นของธนาคาร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย หุ้นสามัญ (SCB, SCB-F) หุ้นบุริมสิทธิ (SCB-P, SCB-Q) ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ธนาคารมีมูลค่าหุ้น ตามราคาตลาด (Market Capitalization) 220,940 ล้านบาท
https://www.scb.co.th/th/investor-relations/company-info.html
ในกรณีการยึดครองหุ้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ กษัตริย์ “พระมหาวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยักยอกทรัพย์ของแผ่นดินจำนวน 70,000 ล้านบาทในธนาคารไทยพาณิชย์มาเป็นของตัวเอง
ในภาพต่อไปนี้ ยิ่งสะท้อนความน่าตกใจ ว่าประมุขของประเทศไทย “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ได้กระทำการยักยอกทรัพย์ของแผ่นดินอย่างชัดเจน
โปรดจงดูภาพ ภาพการแจกแจงผู้ถึอหุ้นของปูนซีเมนต์ไทย จะทำให้เห็นว่า เมื่อยึดหุ้นในนาม “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษ้ตริย์” ในปูนซีเมนต์ไทย ที่มี 30% มาเป็นของกษัตริย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่รับหุ้นมรดกมาจากรัชกาลที่ผ่านมาจำนวน 0.76% เทานั้น
ด้วยประการนี้ หุ้นของ “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ที่ควรมีแค่ 0.76% เท่านั้น
แต่ด้วย พรบ. การจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ แห่งปี 2560 และ 2561 ที่อนุมัติโดย คณะรัฐบาลเผด็จการทหารของกษัตริย์ ทำให้ กษัตริย์ “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ถือครองหุ้นในเครือปูนซีเมนต์ไทยรวมกันเป็นจำนวน 33.64%
นี่คือข้อมูลที่น่าตกใจ และเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ที่คนในประเทศไทย ควรจะร่วมกันประท้วงเผด็จการประยุทธ์ จันทร์โอชา และกษัตริย์มหาวชิราลงกรณ์ ที่ร่วมกันทำกลับปล้นชาติปล้นแผ่นดินกันอย่างมโหฬาร ถือเป็นการเย้ยหยันประชาชนทั้งชาติ 70 ล้านคน อย่างหน้าด้านๆ
เหล่านายทหารองครักษ์กับธุรกิจบริหาร
ทหารที่ถูกส่งไปเป็นกรรมการบริหารบริษัทต่างๆ ก็ล้วนเป็นคนสนิท คนใกล้ชิดของกษัตริย์ นอกจากนี้ทหารเหล่านี้ ยังมีภรรยา พี่น้อง ที่เข้าไปถือหุ้นกิจการต่างๆ ที่เต็มไปด้วยความน่าสงสัย ตัวอย่างเช่น พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ที่มีตำแหน่งเป็นราชเลขานุการในพระองค์ มีน้องชายชื่อ พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล ที่เป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และยังมีหน้าที่ควบคุมหน่วยจิตอาสา ซึ่งคาดว่าเป็นกลุ่มเดียวกับพวกคนหัวเกรียน เสื้อเหลือง ผ้าพันคอฟ้า ที่ถูกเกณฑ์มารับเสด็จ
สถิตย์พงศ์นั้นมีรายชื่อเป็นกรรมการ และหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทสยามสินธร (อสังหาริมทรัพย์) ปูนซีเมนต์ไทย บ้านบึงเวชกิจ (โรงพยาบาล) เทเวศประกันภัย เอเพ็กซ์เซล่า (ผลิตยา) ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติ สำหรับความสามารถของทหารคนหนึ่ง
ในแต่ละบริษัทที่สถิตย์พงศ์เข้าถือหุ้นนั้น ก็มีชื่อของทหารองครักษ์คนอื่นๆ พ่วงมาอยู่ทุกที่ เช่น บ้านบึงเวชกิจ 904 ก็จะมีทั้ง พ.ต.อ. ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม (รองเลขาธิการพระราชวัง) พ.ท. สมชาย กาญจนมณี (รองเลขาธิการพระราชวัง) พล.ร.อ. ปวิตร รุจิเทศ (ผู้บัญชาการสำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์) ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ภูริเดชคอร์เปอเรชั่น
นอกเหนือจากจักรวาลธุรกิจของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์แล้ว ครอบครัวของทหารเหล่านี้ยังได้เปิดกิจการสีเทามากมาย อย่างเช่น ครอบครัวภูริเดช ที่ตอนนี้ จักรภพ ภูริเดช หรือ ค๊อก เป็นที่รู้จักกันในนามของมือสังหารของกษัตริย์ เขามีพี่น้องอีกสามคน พี่ชายของเขาชื่อว่า ณัฐภพ ภูริเดช ซึ่งปัจจุบันเป็นนักธุรกิจ และเพิ่งจะจดทะเบียนบริษัท “สยาม แอมมูนิชั่น” ไปเมื่อสี่เดือนที่แล้ว โดยกิจการของบริษัทแห่งนี้ก็คือ การผลิตกระสุนและวัตถุระเบิด
ยังไม่เพียงเท่านั้น จักรภพยังมีน้องชายอีกคนชื่อ พล.ต.ต. จิรภพ ภูริเดช (ผู้บังคับการกองปราบปราม) ซึ่งแต่งงานกับ รงรอง ภูริเดช นักธุรกิจที่มีธุรกิจอยู่แล้วหลายอย่าง หนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจของเธอก็คือ “บริษัท แวลลู พลัส” ซึ่งปัจจุบันดำเนินกิจการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และมีชื่อจดทะเบียนอยู่ถึง 23 สาขา โดยสาขาส่วนมาก จะเพิ่งจดทะเบียนภายในสามปีที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจประเภทนี้ เป็นที่รู้กันว่าตรวจสอบที่มาของเงินที่นำมาแลกได้ยาก เนื่องจากบางจุดก็ไม่มีการตรวจพาสปอร์ตของคนที่มาแลกเงิน และยังมีส่วนต่างของอัตราแลกเงินที่สามารถจะนำมาใช้บิดเบือนตัวเลขในบัญชีได้ง่าย นับเป็นธุรกิจการฟอกเงินที่ใหญ่มากอีกแห่ง
นอกจากนี้ เหล่านายทหารคนอื่นๆ ก็ยังมีความสัมพันธ์กับธุรกิจแทบทุกด้าน ถึงแม้บางธุรกิจยังไม่มีความเชื่อมโยงที่ชัดเจน เช่นธุรกิจการวางระบบไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทไอเจน ที่มีผู้บริหารหลักคือ พีรยศ รุจิเทศ (ไม่มีข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับปวิตร รุจิเทศในทางใด) แต่เนื่องจากว่าบริษัทนี้ เพิ่งจะได้รับเลือกจาก กฟภ. ให้ทำการเดินสายไฟลงใต้ดินในจังหวัดภูเก็ต แต่เราก็ขอตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าการประมูลได้โครงการนี้มา ผ่านการคัดเลือกที่ถูกต้องและโปร่งใสหรือไม่
นอกจากนี้แล้วธุรกิจของญาติพี่น้อง หรือลูกหลานของทหารเหล่านี้ มีจำนวนมากที่จดทะเบียนในช่วงปี 2016-2017 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานทรัพย์สินให้นายทหารเหล่านี้ มีอำนาจมากขึ้น