ทำไมถึงไม่รักในหลวง
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา คำว่า ‘รักในหลวง’ โถมกระหน่ำเข้ามาปะทะสายตาข้าพเจ้าอยู่ตลอดเวลา ในทุกด้าน ทั้งสายรัดข้อมือ เสื้อยึด สติกเกอร์รถยนต์ โปสเตอร์ ในธงและป้ายผ้า จากวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เนต รวมทั้งบิลบอร์ดไปจนถึงหน้าโรงงาน เกือบทุกสะพานลอย ตลอดจนสี่แยกไฟแดง รัฐบาลใช้งบประมาณจากภาษีจำนวนมากเพื่อโหมประชาสัมพันธ์คำนี้จนมันมาละเลง เละตุ้มเป๊ะบนใบหน้าของเรา
คนที่ต่างประเทศถามข้าพเจ้า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่รักในหลวง?” ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่แสดงอาการรับไม่ได้และโกรธกริ้วต่อการกระทำของ รัฐบาลที่ละลายเงินภาษีไปกับการพยายามคุมความคิดของคนไม่ให้มีความคิดเห็นที่แตกต่างในเรื่องนี้ ต่างก็ต้องเผชิญกับการถูกคุกคาม ข่มขู่ จับกุมและถูกทรมาน
ชื่อของบทความครั้งนี้จึงตั้งขึ้นมาเพื่อเตือนความจำคนในประเทศไทยและจากทั่วโลกว่า มันไม่มีกฎหมาย และไม่มีทางที่จะมีกฎหมายใดสามารถระบุว่าประชาชนจะต้องรักในหลวง ประชาชนทุกคนมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะพูดได้อย่างเปิดเผยว่าเรารักหรือไม่รัก ในหลวง การกระทำใดๆ อันเป็นการริดดรอน หรือคุกคามซึ่งสิทธิ เสรีภาพ ชีวิตและทรัพย์สิน ของบุคคลที่พูดว่าไม่รักในหลวง ถือว่าเป็นอาชญากรรม
ทำไมคนไทยจึงออกใบสั่งให้ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทหารของสมเด็จพระบรมราชินีนาถสังหารคนไทย? ทำไมทหารรักษาพระองค์จึงเข้ามายุ่งเกี่ยวและปิดกั้นไม่ให้คนไทยใช้สิทธิิอันชอบธรรม เพื่อที่จะบอกเล่าถึงความคับข้องใจของพวกเขาบนท้องถนนกลางเมืองหลวง – เมืองของเทพและเทวดา – ที่เรียกว่า ‘กรุงเทพมหานคร’?
รากเหง่าแห่งความบ้าคลั่งที่ครอบงำประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แล้วก็ตาม มันคืออะไร และมันอยู่ตรงไหนกัน?
สำหรับคนไทยที่มีจิตสำนึกแห่งเหตุผล และสำหรับผู้ที่ไม่ใช่คนไทย การออกใบสั่งของคนไทยเพื่อให้ไทยฆ่าไทย เป็นอีกหนึ่งในหลักฐานอันน่าตระหนกของประสิทธิผลแห่งการโหมโฆษณา ‘เรารักในหลวง’ ที่มีมาต่อเนื่องตลอด 64 ปี
หลังจากทหารใช้กองกำลังปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายน (2553) และตามมาด้วยสงครามบนท้องถนน สื่อกระแสหลักเช่นสถานีโทรทัศน์ของไทย เลือกที่จะนำเสนอภาพและเสียงของคนกรุงที่ร้องไห้คร่ำครวญอาลัยห้างร้านที่ถูกเผา โดยมินำพาที่จะถ่ายทอดภาพชีวิตที่ถูกพรากและทิ้งร่างไว้กลางท้องถนนรวมกัน ถึง 88 ศพ
ไร้ซึ่งถอยแถลงแห่งคำว่าเสียใจจากนายกรัฐมตรี รัฐบาล และแนวร่วมของรัฐบาล เป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อประชาคมโลกว่า รัฐบาลไทยให้คุณค่ากับสิ่งปลูกสร้างมากกว่าชีวิตของปุถุชนคนไทย ความรุนแรงที่กระทำโดยรัฐเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ได้สังหารประชาชนไป 88 ชีวิต คือการเปิดโปงให้เห็นถึงการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยอย่างน่าสะพรึงกลัว
มีคนไทยถึงสามล้านสี่แสนคนที่ใช้เฟสบุ๊ค โดยส่วนใหญ่เป็นผู้คนที่มีการศึกษา แม้ว่ารัฐบาลจะปิดกั้นการเข้าถึงเวบไซด์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหา กษัตริย์นับพันนับหมื่นแห่ง แต่เฟสบุ๊คไม่ถูกปิดกั้น และถูกใช้เป็นเวทีจัดตั้งแนวร่วมของแต่ละฝ่าย ยกตัวอย่างคำกล่าวอ้างอันคลาสสิกแห่งค่าย ‘ปกป้องสถาบัน’
“เรารู้ดี ว่าเราเป็นใคร เรายึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ เราไม่ต้องพิงพิงใครเหมือนประเทศอื่นในเอเชีย (อาจหมายถึงไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของใคร – ผู้เขียน) เพราะว่าเรามีในหลวง เราภูมิใจที่มีในหลวงที่ซื่อสัตย์ ในหลวงใช้พระราชทรัพย์ของพระองค์เพื่อพสกนิกรของพระองค์ ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ที่ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และ เป็นอาทิ ฉันเลือกที่จะเคารพในหลวงมากกว่าเคารพนักการเมืองที่ละโมภ ฉันควรจะถามคุณว่าทำไมจึงเข้ามาวุ่นวายในหัวข้อที่เกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งนำเสนอโดยคนไทย???”
นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยได้รับการยกย่องจากองค์กร จัดลำดับ ที่มีชื่อเสียงของโลก Forbes ว่าทรงเป็นราชวงค์ที่มั่งคั่งที่สุดในโลกด้วยพระราชทรัพย์ทั้งสิ้นกว่าสาม หมื่นห้าพันล้านดอลลาร์ หรือหนึ่งล้านหนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท( 1,120,000,000,000 บาท)
นักแสดงชายที่ได้รับรางวัลนาฏราช ได้กล่าวกับผู้ร่วมงานและผู้ชมที่อยู่ทางบ้านในคืนวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 ค่ำคืนที่ทหารทำการปราบปรามประชาชน นักแสดงผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทยท่านนี้กล่าวว่า
“ถ้า เกลียดพ่อไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ เพราะที่นี่คือแผ่นดินของพ่อ ผมรักในหลวงครับ และผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในที่นี้ รักในหลวงเหมือนกัน พวกเราสีเดียวกันครับ ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน ..”
คำกล่าวที่จับขั้วหัวใจของผู้ชมในงานและที่อยู่ทางบ้าน ส่งผลทันทีต่อความรู้สึกร่วมของสาธารณะชน มีการโจมตีทางอินเตอร์เนตต่อดาราผู้หนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเดินออกจากงานใน ขณะที่สุนทรพจน์นี้ถูกเปล่งออกมา และในงานนี้อีกเช่นกัน บุตรสาวที่โชคร้ายของเขาถูกจับภาพว่าไม่ร่วมขับขานบทเพลงพระราชนิพนธ์ในขณะ ที่อยู่บนเวที เธอจึงถูกโจมตีไปด้วย เพียงชั่วข้ามคืนดาราผู้พ่อและดาราผู้ลูกถูกกระหน่ำโจมตีอย่างหนัก จนนำมาซึ่งการถูกยกเลิกสัญญาหลายรายการ ภายใต้ความกดดันจากสังคม ทั้งสองคนพ่อลูกได้แถลงข่าวยืนยันหนักแน่นว่าจงรักภักดีต่อสถาบัน
สุนทรพจน์ นี้ถูกนำขึ้นไปอ้างต่อโดยทันทีในเวบไซด์ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทั้งนี้ ศอฉ. คือหน่วยงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาและได้รับอนุญาตออกใบสั่งให้ใช้กระสุนจริง กับประชาชน
เมื่อเร็วๆ นี้ นักเรียนวัน 18 ปี ถูกปฏิเสธจากสองมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียง เพีียงเพราะว่าเธอเข้าร่วมในการประท้วงของคนเสื้อแดง และวิจารณ์สถาบันพระมากษัตริย์ ได้มีการประกาศทางอินเตอร์เนตว่าจะล่าตัวเธอมากราบรูปในหลวงให้จงได้ เพื่อให้เธอรอดพ้นจากอันตรายที่คุกคาม มีผู้บริจาคทุนให้เธอไปเรียนต่อที่เมืองนอก
เมื่อนักเรียนที่สามารถสอบผ่านเข้าเรียนมหาวิทยาลัยถูกปิดกั้นโอกาส ถูกตามล่า และทำให้ตกเป็นเหยื่ออันโอชะของสังคม เพียงเพราะเธอกล้าที่จะวิจารณ์ในหลวง มันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสังคมจะต้องลุกขึ้นมาพูดเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง มากขึ้น
ทั้งหลายทั้งปวงที่ยกมากล่าวถึงนี้เป็นเพียงตัวอย่างอันเล็กน้อย เพื่อที่จะฉายให้เห็นภาพแห่งความบ้าคลั่งอันสุดโต่ง ที่กำลังกลืนกินปกติสุขของปวงชนชาวไทยในต้นศตวรรษที่ 21
มนุษย์ทุกคนมีขีดจำกัด และข้าพเจ้าเขียนบทความนี้เพื่อเปิดเผยให้สังคมได้รับทราบว่า ทำไมมันจึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะรักในหลวง
เกิดมาเพื่อรักในหลวงและราชินี
ภาพถ่ายของในหลวงและราชินีในวัยหนุ่มสาวที่ดูสง่างาม ท่ามกลางฟ้้าชายและฟ้าหญิง คงอยู่คู่ฝาบ้านด้านหนึ่งของครอบครัวเรามาตลอดหลายสิบปี ไม่ว่าเราจะรื้อและปลูกบ้านใหม่กี่ครั้งก็ตาม ภาพเหล่านั้นจะถูกนำกลับไปแขวนไว้ในจุดที่สูงที่สุดของฝาบ้านอีกครั้ง และคงอยู่คู่บ้านเรามาโดยตลอด ครั้งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าเดินทางไปเยี่ยมบ้านเกิด ภาพเหล่านั้นก็ยังคงอยู่แขวนอยู่ที่ฝาบ้านอันว่างและทรุดโทรมด้านนั้น ภาพซีดจางลงไปมาก พร้อมกับร่องรอยแห่งรอยเปื้อนจากน้ำฝนที่ไหลซึมเข้าไปในภาพ
เมื่อลืมตาขึ้นมาดูโลกไม่นานข้าพเจ้าก็เห็นภาพในหลวง และเมื่อเริ่มพูดได้เพียงไม่กี่คำ ข้าพเจ้าก็ได้รับการอบรมสั่งสอนว่าเราต้องรักในหลวงและราชินี เพราะว่าทั้งสองพระองค์คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พวกเราได้รับการกล่อมเกลาให้เชื่อว่าทั้งสองพระองค์คือพระมหากษัตริย์และมหาราชินีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ในสมัยนั้นสถานีโทรทัศน์ทุกช่องต่างอัดแน่นไปด้วยรายการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ และงานในเสด็จพระราชกุศล เพื่อตอกย้ำให้พสกนิกรเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ยามนั้นไม่มีใครในครอบครัวเราได้มีโอกาสเข้าเฝ้าในหลวง แต่พวกเราก็รักในหลวงเพราะว่า ทุกคนบอกว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ดี
ในวัยเด็ก พวกเราต้องเดินย้ำน้ำย่ำโคลนไปดูทีวีของเพื่อนบ้าน เมื่อเรามีทีวีเอง ทั้งแม่และยายต่างก็ถือเป็นกิจวัตรประจำวันที่จะต้องดูข่าวในพระราชสำนักตอน สองทุ่ม การดูข่าวในพระราชสำนักทุกวันเป็นดังเช่นหลักปฏิบัติแห่งการเป็นผสกนิกร ที่แท้จริง เมื่อรัฐบาลประกาศเชิญชวนให้ร่วมจุดเทียนถวายพระพร แม่กับยายก็จะทำตามโดยไม่มีคำถามแม้แต่น้อย และทั้งสองท่านก็รักในหลวงรูปงามและราชินีผู้ศิริโฉม รวมทั้งฟ้าชายและฟ้าหญิงพระองค์น้อยอย่างแท้จริง และไม่เคยหยุดที่จะเอ่ยชื่นชมในความสง่างามของทุกพระองค์ แต่สำหรับพวกเราเด็กๆ เราแทบจะอดทนรอไม่ไหวที่จะให้รายการพระราชกรณียกิจผ่านไปเร็วๆ เพราะใจของพวกเราจดจ่ออยู่กับละครที่ถูกเลื่อนเวลาออกไป
หมู่บ้านของเราเป็นหมู่บ้านชาวนาที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่เหนียวแน่น โดยมีบ้านเรือนประมาณ 200 หลังคาเรือน ในช่วงระหว่างปี 2500 – 2520 มันเป็นหมู่บ้านที่มีชีวิตชีวามาก ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ครึ่งหนึ่งของหมู่บ้านเป็นญาติพี่น้องของเรา เกือบทุกคนในหมู่บ้านจะเข้าร่วมงานของแต่ละบ้าน ตั้งแต่งานฉลองการเกิดจนถึงงานณาปนกิจศพ
เป็นเวลาร่วมครึ่งปีในฤดูน้ำท่วม ที่หมู่บ้านใต้ถุนสูงของเราจะตั้งอยู่บนน้ำ บ้านของพวกเราจึงมีทางเดินไม้ทอดต่อจากบ้านหนึ่งไปอีกบ้านหนึ่ง จากบ้านเราไปยังบ้านป้า บ้านป้าต่อไปย้งบ้านน้า สำหรับพวกเราเด็กๆ มันสะดวกและก็สนุกด้วย ที่จะเดินไปบ้านโน้นบ้านนี้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินขึ้นเดินลงบันได เราเดินเข้าครัวของบ้านน้า บ้านป้า เพื่อดูว่ามีอะไรกินได้บ้าง หรือไม่ก็ชวนกันทำอาหารกินร่วมกัน ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าหมี่น้ำ ข้าวสวย น้ำพริก ผักสดและก็พวกปลาต่างๆ เพราะว่าบ้านของพวกเราจะตั้งอยู่ในน้ำร่วมครึ่งปี จึงมีบ้านไม่กี่หลังที่สามารถเลี้ยงไก่ได้ แต่ละครอบครัวมักจะซื้อทุกอย่างด้วยการจดเชื่อกันไว้ก่อน และข้าพเจ้าก็จำไม่ได้แล้วว่าเคยได้ทานไข่ไก่ทั้งฟองเพียงคนเดียวก่อนเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาหรือไม่
การที่เราอยู่ในเขตน้ำท่วม เราเรียกว่า ‘หน้าน้ำ’ เราจึงทำนา ‘หน้านา’ ได้เพียงปีละครั้ง การสัญจรไปมาจึงต้องพึงพาทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ หมู่บ้านของเราจัดงานเทศกาลทั้งงานวัดงานบ้านเกือบตลอดทั้งปี ในช่วงเทศกาลงานวัดหรืองานบ้าน ชาวบ้านจะใช้เวลาหลายวันช่วยกันทำเตรียมและจัดทำอาหารคาวหวานไว้เลี้ยงพระ เลี้ยงแขก และให้หอบหิ้วกันเอากลับไปฝากคนที่อยู่ทางบ้านอีกด้วย ทั้งคนหนุ่มคนสาว หรือคนไม่หนุ่ม คนไม่สาว จะเล่นดนตรีและร้องเพลงกันอย่างครึกครื้นตลอดงาน แต่ปัจจุบันเทศกาลงานรื่นเริงหลายอย่างได้หายไป สำหรับเทศกาลที่ยังคงดำรงอยู่มาถึงปัจจุบัน ความเรียบง่าย วัฒนธรรมประเพณี และความลุ่มลึกทางจิตวิญญาณได้ขาดหายไปเยอะทีเดียว ชาวบ้านต่างก็จัดงานด้วยการจ้างผู้รับเหมาจัดเลี้ยงที่บริการทั้งอาหารและวง ดนตรีที่มีสาวๆ นุ่งบิกินีมาเต้นโชว์ตลอดงาน
ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 การพัฒนาต่างๆ เริ่มเข้ามาถึงหมู่บ้าน ถนนลูกรังถูกตัดเชื่อมไปสู่ตัวอำเภอ ตามมาด้วยไฟฟ้าและฝุ่น คลองชลประทานและประตูกั้นน้ำเข้ามาพร้อมๆ กัน เพื่อช่วยป้องกันน้ำท่วมและส่งน้ำให้ชาวบ้านสามารถทำนาปรังและปลูกข้าวได้ มากกว่าปีละหนึ่งครั้ง ปัจจุบันพี่ชาย น้องชาย และพี่สาวของข้าพเจ้าสามารถปลูกข้าวได้ปีละสองครั้ง บางปีก็สามครั้ง
ปลายทศวรรษ 2530 ถนนลูกรังฝุ่นคลุ้งได้แปรเปลี่ยนเป็นถนนลาดยาง ฝุ่นที่เคยพัดปลิวเข้าบ้านเราเบาบางลงไปมาก แต่ก็จนกระทั่งช่วงกลางทศวรรษที่ 2530 นี่เองที่หมู่ของบ้านได้จัดทำระบบน้ำประปาหมู่บ้าน และเมื่อสายโทรศัพท์เดินทางมาถึงบางบ้านในช่วงปลายทศวรรษ 2540 เกือบทุกคนในหมู่บ้านก็มีโทรศัทพ์มือถือใช้กันแล้ว
นี่คือหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากกรุงเทพเพียง 100 กิโลเมตร สำหรับหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากกรุงเทพหลายร้อยกิโลเมตรเช่นที่อีสาน การพัฒนาต่างๆ เหล่านี้เดินทางมาถึงหมู่บ้านของพวกเขาล่าช้ากว่าหมู่บ้านของข้าพเจ้าอีก
เมื่อขายข้าวได้ ชาวบ้านจะมีเงินกันขึ้นมาบ้าง พ่อค้าแม่ค้าเร่จะทะยอยเดินท้างเข้ามายังหมู่บ้านของเราอย่างไม่ขาดสาย พ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้จะเดินเร่ขายของจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง แบกหิ้วของพะรุงพะรัง มีทั้งมุ้ง หม้อ กะทะ ผ้าห่ม และรวมทั้งรูปภาพของพระพระบรมวงศานุวงศ์
ข้าพเจ้ายังจำได้ถึงเมื่อครั้งที่ยายซื้อรูปภาพของในหลวงและราชินีที่ใส่ กรอบทองสวยหรู แล้วนำรูปไปแขวนไว้บนฝาบ้าน สูงกว่าสิ่งอื่นใด ข้าพเจ้าจำได้ดีถึงความน้อยรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจของแม่ที่ไม่สามารถซื้อรูป เหล่านั้นได้ นี่คือความรักของข้าพเจ้าที่มีต่อบ้านเกิด และความรักที่มีต่อในหลวงและราชินี เนินนานก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะรู้จักถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่า “รัก”
ความรักในพระพระบรมวงศานุวงศ์ของพวกเราเป็นความรักที่ปราศจากซึ่งคำถาม ความรักที่ดูน้อยนิดในต้นทุนแห่งความรักอันยิ่งใหญ่มหาศาลที่ในหลวงและ ราชินีของประเทศไทยทรงโชคดียิ่งนักที่ได้รับความรักเช่นนี้จากผสกนิกรชาวไทย จนอาจจะเคยชินกันมันและก็ทรงเกษมพระสำราญจากความรักนี้ ราวกับว่ามันเป็นโองการสวรรค์
นอกเหนือจากช่วงเวลาแห่งความสนุนสนานของวัยเด็กที่มีพื้นที่โล่งกว้างให้ วิ่งและผืนน้ำอันกว้างใหญ่ให้ว่ายเล่นไปมา แต่การมีลูกถึง 9 คน ในช่วงต้นทศวรรษ 2500 พ่อกับแม่ต้องต่อสู้กันอย่างหนักเพื่อให้ครอบครัวอยู่รอดให้ได้จากราคาข้าว ที่ตกต่ำ
พ่อกับแม่จึงตัดสินใจเดินทางขึ้นเหนือไปแผ่วถางป่าในเขตเชิงเขาที่อยู่ ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 100 กิโลเมตร ที่นี่ ครอบครัวเราทำงานอย่างหนักเพื่อแผ่วถางป่าจนกระทั่งมีที่ดินประมาณ 50 ไร่ และลงมือเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเกือบทุกชนิดตามแต่รัฐบาลจะส่งเสริม แต่ครอบครัวของเราเป็นครอบครัวอับโชค ไม่ว่าเราจะปลูกอะไรตามคำแนะนำของรัฐบาล มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ดอกทานตะวัน ฝ้าย และอ้อย ฯลฯ แต่พอเราเก็บเกี่ยวเสร็จ ราคาผลิตผลก็มักจะตกต่ำจนเราไม่เหลือกำไร
เมื่อเดินและวิ่งได้คล่องแคล่ว ข้าพเจ้าก็เข้าไปช่วยครอบครัวในไร่ในนาแล้ว ถ้าพวกเราอยู่ในยุคสมัยนี้ พวกเราพี่น้องคงถูกจัดเข้ากลุ่มแรงงานเด็กเป็นแน่แท้ พออายุ 9 ขวบข้าพเจ้าก็รับหน้าที่เป็นแม่ครัว และพนักงานทำความสะอาดของบ้านเป็นที่เรียบร้อย
เช่นเดียวกับครอบครัวชาวนายากจนทั้งหลาย ราคาของเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า รวมทั้งอุปกรณ์ทางการเกษตรและค่าใช้จ่ายในครอบครัว หมายความว่าพวกเราไม่เคยมีเงินสดติดมือ และครอบครัวของเราก็ไม่เคยปลอดหนี้ พวกเราอาศัยอยู่ในวัฎจักรแห่งหนี้สิ้นที่ไม่มีวันจบสิ้น มีแต่จะเพิ่มพูนขึ้นทุกปี เราจึงต้องพึ่งพิงอาหารเท่าที่จะหาได้จากป่าและลำน้ำ นอกเหนือจากนี้ถ้าจำเป็นจะต้องซื้อเราก็จำเป็นต้องซื้อด้วยการจดเชื่อไว้กับ พ่อค้าหรือแม่ค้า พอมีเงินก็จ่ายคืนกันทีหนึ่ง นับตั้งแต่แนวคิดปฏวัติเขียวได้แผ่ขยายไปทั่วประเทศไทย หนี้เพื่อการเกษตรของเกษตรกรไทยไม่เคยหยุดเจริญเติบโต ในปัจจุบันนี้ หนี้สินของครอบครัวเกษตรกรจะอยู่ที่ประมาณ 245,000 บาทต่อครอบครัว
ด้วยเป็นเด็กที่เจ็บออดๆ แอดๆ อยู่ตลอดเวลา บ่อยทีเดียวที่แม่และครอบครัวต้องวิ่งวุ่นพาข้าพเจ้าเข้าโรงหมอคนโน้น หาหมอคนนี้ จริงๆ แล้วคนที่พวกเราเรียกว่าหมอในสมัยนั้นไม่ใช่หมอที่มีใบประกาศนียบัตร แพทยศาสตร์บัณฑิต แต่คือแพทย์ทหารและพยายาล แต่พวกเราเรียกพวกเขาว่าหมอ และแล้วในที่สุดพี่สาวสองคนก็เป็นผู้ที่พาพ่อแม่และข้าพเจ้าไปตรวจที่โรง พยาบาลศิริราช ที่กรุงเทพฯ ที่พี่ทั้งสองทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดและช่วยงานทั่วไป
คิดว่าคงราวๆ ปี พ.ศ. 2520 เมื่อข้าพเจ้าอายุ 11 ขวบ นั่นนับว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ข้าพเจ้าได้รับการตรวจจากแพทย์ที่แท้จริง แพทย์ตรวจพบว่าข้าพเจ้าเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เรียกว่าธาลัสซีเมีย โรคที่คนไทยจำนวนมากเป็นกัน ครอบครัวของเราไม่เคยได้ยินเรื่องโรคนี้มาก่อน และก็ยิ่งไม่ต้องคาดหวังว่าคนอื่นในหมู่บ้านรวมทั้ง ‘หมอ’ ของหมู่บ้านจะรู้เกี่ยวกับโรคนี้ เมื่อมาถึงจุดนี้ของชีวิต ข้าพเจ้าก็ได้แต่มานั่งประหลาดใจว่าตัวเองรอดชีวิตจากการรักษาตามมีตามเกิด ของแพทย์ทหารมาถึงบัดนี้ได้อย่างไร
ในยุคสมัยนั้นยังไม่มีการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลฟรีต่อประชาชน ถ้ามีคนในครอบครัวคนจนเจ็บป่วยร้ายแรง ค่ารักษาพยายามในคลินิกและโรงพยาบาลมักจะหมายถึงการต้องขายที่ไร่ที่นาเพื่อ นำเงินมาจ่ายค่ารักษา หลายครอบครัวต้องล้มละลายด้วยค่ารักษาพยาบาลราคาแพงลิบเช่นนี้ และก็ยังมีหลายครอบครัวที่ต้องล้มละลายได้เพราะค่ารักษาพยาบาลเหล่านี้ใน ปัจจุบัน เพราะว่าไม่มีครอบครัวไหนที่ยอมเสี่ยงชีวิตของผู้เป็นที่รักในมือ ของระบบการรักษาพยาบาลที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘ฟรี ตายทุกโรค’ ไม่ใช่ ‘ฟรี รักษาทุกโรค’
ในยามที่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กนั้น ครอบครัวไทย ไม่ว่าจะรวยหรือจน ต้องพึ่งเส้นสายและเข้าหาข้าราชการ หรือนักการเมือง โดยเฉพาะสำหรับคนจนการมีเส้นมีสายเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพียงแค่มีสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวคนทำงานในหน่วยงานของรัฐ นั่นก็หมายถึงหลักประกันค่ารักษาพยาบาลของพ่อและแม่
พี่สาวทั้งสองคนของข้าพเจ้าที่พาเข้าพเจ้าไปตรวจรักษาถูกโรคที่โรงพยาบาล นั้นเป็นนางฟ้า ที่แท้จริง พี่ทั้งสองทำงานที่โรงพยาบาลตามเข้มนาฬิกาโดยไม่มีเวลาพักผ่อน ตั้งแต่ที่พี่ๆ มีอายุประมาณยี่สิบปี เพื่อจ่ายค่าเล่าเรียนให้กับข้าพเจ้าและน้องสาวและเพื่อเป็นหลักประกันด้าน สุขภาพให้กับพ่อกับแม่
บ่อยๆ ที่เดียวที่พวกเราบ่นเกี่ยวกับแม่ว่าเป็นคนไม่มีระเบียบที่สุดในโลก และก็เป็นจริงเช่นนั้นเสียด้วยซิ แม่ไม่รู้จักการทำความสะอาด ซักผ้าไม่เป็น และทำอาหารไม่ค่อยเก่งอีกด้วย แต่แม่เป็นคนที่ทำงาน เป็นหลายด้านมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเย็บปักถักร้อย งานจักสาน ทอเสื่อ ทอแห และอุปกรณ์หาปลา แม่ยังเก่งเรื่องการเพาะปลูก สำหรับงานในไร่ในนา และการหาปลากลางแม่้ำ แม่ดูเก่งกว่าพ่อ แต่พ่อนี้ตรงข้ามกับแม่ในเรื่องงานบ้านงานเรือนและพ่อยังทำอาหารอร่อยกว่า แม่
แม่ใจดีและชอบช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าเราจะไม่ใช่คนมั่งมีแต่แม่ก็ยังอาทรกับคนที่ยังจนกว่าเรา และถ้ามีหมาแมวหลงมาที่บ้านแม่ก็จะให้อาหารพวกมัน นอกเหนือจากการติดหมากอย่างถอนตัวไม่ขึ้นแล้ว แม่ยังเป็นคนที่คุยกับคนแปลกหน้าโดยไม่รู้สึกแปลกแยก พอนั่งลงบนรถเมล์เท่านั้นล่ะ แม่ก็จะเริ่มทักทายพูดคุยกับคนรอบข้าง ส่วนใหญ่ก็เป็นการคุยด้วยความภาคภูมิใจถึงความเก่งกาจของลูกๆ และก็พูดไปหัวเราะไปถึงสามีขี้เมาของแม่ กระนั้นก็ตาม เมื่อลูกของแม่โดยเฉพาะข้าพเจ้าและน้องสาว ลูกคนที่เก้าของแม่ ป่วยไข้ขึ้นมา แม่จะอยู่ข้างๆ ที่นอนที่เรานอนรักษาตัวตลอดเวลา แม่ไม่เคยทิ้งข้าพเจ้าให้เผชิญกับความเจ็บป่วยตามลำพังยามต้องนอนรักษาตัว อยู่ที่คลีนิก ซึ่งบางครั้งต้องเราต้องนอนค้างคืนที่นั่นด้วย
ในขณะที่คนในยุคปัจจุบันเริ่มเย็นชาและเฉยเมยต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองย้อนไปในอดีต ข้าพเจ้า ประจักษ์ถึงความเป็นผู้หญิงที่งดงามของแม่ ในความเป็นคนเปิดเผย มีพลังงานงานบวกที่พร้อมจะปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นอยู่เสมอ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว แม่ของข้าพเจ้าคือแม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อรัฐบาลโหมประชาสัมพันธ์และยกย่องราชินีให้เป็น ‘แม่ของแผ่นดิน’ ในช่วงก่อนการสังหารหมู่นักศึกษาอย่างเหี้ยมโหดในปี 2519 ข้าพเจ้าไม่สามารถจะคิดถึงพระองค์ในฐานะแม่ของข้าพเจ้าได้ สมเด็จพระบรมราชีนีนาถคือราชินี แต่แม่คือผู้หญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในขีวิตของข้าพเจ้า
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าข้าพเจ้าไม่ชื่นชมในความสวยสง่าของอาภรณ์และ เครื่องประดับที่ทรงสวมใส่ สื่อพากันโหมประชาสัมพันธ์ว่าพระองค์คือราชีนีที่งดงามที่สุดในโลก และในเมื่อเราก็ไม่เคยเห็นราชินีพระองค์อี่น พวกเราก็เชื่อว่าพระองค์คือราชินีที่มีพระสิริโฉมงดงามที่สุดในโลก
แน่นอนว่าคงไม่ใช่มีแต่ข้าพเจ้าเท่านั้นที่คิดว่าแม่ของตัวเองคือแม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
ระวังคอมมิวนิสต์จะกินตับและเผาเราทั้งเป็น
ในช่วงที่อยู่ชั้นประถมหนึ่งและประถมสอง พวกเราเรียนพร้อมกันสี่คนเลยทีเดียว ทั้งพี่สาว พี่ชาย ข้าพเจ้าและน้องชาย เราสี่พี่น้องจะเดินเท้าเปล่าไปกลับโรงเรียนวันละสี่กิโลเมตร โรงเรียนวัดที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านป่า พวกเราเดินเท้าเปล่าไปโน่นไปนี่ ไปในทุกที่ ในยุคสมัยนั้นการเดินเท้าเปล่าไม่่่ใช่เรื่องแปลกประหลาดประการใด คนไทยส่วนใหญ่ก็เดินด้วยเท้าเปล่ากันทั้งนั้น และก็จะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติของประชากรส่วนใหญ่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้
ปี 2519 ครอบครัวเราตัดสินใจขายที่ไร่และย้ายกลับมายังบ้านนา ยามนั้นข้าพเจ้าอยู่ชั้นประถมสาม ที่โรงเรียนใหม่นี้ ข้าพเจ้าต้องเรียนร้องเพลงพระราชนิพนธ์ พวกเราต่างก็รู้สึกภาคภูมิใจที่มีในหลวงที่ทรงพระปรีชาสามารถในการพระราชนิิ พนธ์ทำนองเพลงอันไพเราะเพราะพริ้ง
ในการแข่งขันกิจกรรมนักเรียนประถม ในปี 2520 หรือ 2521 ข้าพเจ้าก็จำได้ไม่แน่ชัด แต่จำได้ว่าพวกเรานักเรียนต้องฝึกร้องและแสดงรีวิวประกอบเพลงอยู่หลาย สัปดาห์ และเมื่อวันแข่งขันมาถึง ข้าพเจ้าและน้องชายต่างก็ถูกจับแต่งตัวด้วยชุดม่อฮ่อมและผ้าถุงแบบไทยๆ และพวกเราต้องเดินพร้อมรำกลองยาวบนไปบนถนนลูกรังตลอดสองกิโลเมตร เพื่อไปยังโรงเรียนที่เป็นสถานที่จัดประกวด ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนที่ใหญ่กว่าหมู่บ้านของเรา
มันก็ผ่านมานานมากแล้ว แต่ความรู้สึกในวันนั้นยังคงวับวาวอยู่ในความทรงจำ ครอบครัวเราตื่นเต้นไปด้วย แต่ทั้งบ้านไม่มีเงินเลย และก็ไม่มีน้ำมันพืชอีกด้วย พี่สาวทั้งหลายของข้าพเจ้าต้องลุกขึ้นมาทำครัวแต่เช้ามืด ปลอกมะพร้าว ขูดและคั้นน้ำ แล้วเอาไปเคี่ยวในเตาฟืนจนมันกลายเป็นน้ำมันเพื่อเอามาผัดข้าวผัดไข่ให้เรา ทั้งสองเอาติดตัวไปทานเป็นอาหารกลางวัน ข้าวผัดหอมฉุยถูกห่ออย่างดีด้วยใบบัว แต่พวกเรากลับรู้สึกอายที่เราไม่มีกล่องข้าวสวยๆ ในยุคนี้ข้าวผัดห่อในใบบัวคงดูเป็นเรื่องที่โก้เก๋และเท่ห์ไม่หยอก แต่ในยามนั้นสำหรับเด็กๆ เช่นเรา มันทำให้เรารู้สึกอับอายเพื่อนๆ มากทีเดียว
เราภาคภูมิใจที่ได้ร่วมแสดงในกิจกรรมนักเรียนและก็สนุกไปกับการแสดงรีวิว ประกอบเพลง ‘เราสู้’ พวกเราไม่เข้าใจเนื้อหาของเพลงดีนัก ก็เพิ่งจะเมื่อไม่นานมานี้เองที่ข้าพเจ้าได้ทราบว่าเพลงเราสู้ได้ได้รับการ นิพนธ์ขึ้นเพื่อปลุกปลอบใจให้ทหารและตำรวจตระเวณชายแดนมีความฮึกเหิมและ ต่อสู้กับฆ่าศึกจนแม้แต่ตัวตายก็ไม่เสียดายชีวิต ในยามนั้นศัตรูของชาติคือใครก็ตามที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น ‘คอมมิวนิสต์’
เท่าที่จำได้นับตั้งแต่อายุเจ็ดหรือแปดขวบข้าพเจ้าก็ถูกพร่ำสอนให้ ‘ระวังคอมมิวนิสต์’ เพราะว่า “มันเป็นปิศาจร้ายที่จะกินตับแกและเผาพวกเราทั้งเป็น” และยังมีอีก “ถ้าเองเกเรล่ะก็คอมมิวนิสต์จะมาลักตัวไปนะ” ข้าพเจ้าจำได้ดีถึงความกลัว ‘คอมมิวนิสต์’ ความกลัวที่ครอบงำข้าพเจ้าแม้กระทั่งในความฝัน เมื่อเติบใหญ่และได้เรียนรู้ว่ามีหลายประเทศที่มีพรรคการเมืองภายใต้ชื่อ ” พรรคคอมมิวนิสต์” กันอย่างเปิดเผย ข้าพเจ้าก็ได้แต่มานั่งคิดว่า โอ! ทำไมรัฐบาลถึงได้ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจผิดไปได้ขนาดนั้น?
ในห้องเรียนในระดับมัธยมศึกษา อาจารย์วิชาสังคมศึกษาสอนพวกเราว่า รัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยของประเทศไทย เป็นคอมมิวนิสต์ และเรื่องราวชีวิตของท่านก็นำมาพูดถึงเพียงไม่กี่ประโยคเท่านั้น
และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่หลายปีต่อมา ข้าพเจ้าถึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรีดี ว่าท่านรัฐบรุษปรีดีไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่จริงๆ แล้วคือผู้นำแนวคิดเรื่องระบบสวัสดิการและการสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับ ประชาชนทั้งประเทศเป็นคนแรก และรัฐธรรมนูญฉบับของท่านปรีดีในปี 2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดที่ประเทศไทยเคยมีมา และต่อมาอีกไม่นานข้าพเจ้าตระหนักว่านับตั้งแต่ขบวนการฝ่ายกษัตริย์นิยมได้ ปฏิวัติล้มรัฐบาลปรีดี ด้สำเร็จในปี 2490 พัฒนาการด้านประชาธิปไตยของประเทศไทยถ้าไม่ก้าวถอยหลัง ก็แทบจะเรียกได้ว่าย่ำอยู่กับที่ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เลข 7 นำโชค
พี่ๆ น้องๆ ของข้าพเจ้าเป็นคนเรียนเก่งได้ที่หนึ่งกันเกือบทุกคน แต่ครอบครัวของเราก็จนเกินกว่าจะส่งลูกทั้งเก้าคนเข้าเรียนในโรงเรียนระดับ มัธยมได้ ยิ่งกว่านั้น ลูกๆ ที่ยังเล็กก็ไม่สามารถถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังโดยไม่มีคนดูแลยามที่พวก ผู้ใหญ่หรือคนที่ทำงานได้ต้องออกไปอยู่กลางไร่กลางนา ภาระในการดูแลน้องจึงตกอยู่กับพี่ที่อายุมากกว่า
โชคเลยมาตกที่ข้าพเจ้า ลูกคนที่เจ็ดของครอบครัวที่ถูกขีดเส้นชะตาไว้แล้วว่าจะเป็นผู้หญิงคนแรกใน ครอบครัว และจากหมู่บ้านที่จะได้ใบปริญญาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง แต่ในยามนั้นข้าพเจ้าหาทราบได้ไม่
เมื่อสอบภาคการเรียนปีสุดท้ายของชั้นมัธยมปลายเสร็จสิ้น ข้าพเจ้าก็เข้าสอบชิงทุนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของเขตการศึกษา และได้รับรางวัล ทั้งโรงเรียนและครอบครัวของข้าพเจ้าตื่นเต้นดีใจกันยกใหญ่ ชื่อของข้าพเจ้าถูกเขียนเติมในบอร์ดรายชื่อนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุดประจำ ปี มันเป็นเรื่องที่เกินความคาดฝัน เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อจริงๆ ข้าพเจ้าไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นเด็กฉลาด เป็นเพียงเด็กธรรมดาคนหนึ่งที่ทั้งเปิ่น ทั้งเชย ทั้งเรียบง่าย และไม่มีอะไรโดดเด่น มันเป็นไปได้อย่างไรที่ข้าพเจ้าจะชนะการสอบชิงทุนพระราชทานนี้?
พร้อมกันนั้นข้าพเจ้าก็สามารถสอบผ่านเข้ามหาลัยศิลปากรอันโด่งดัง หลังจากหนึ่งหรือสองเดือนในภาคการศึกษาแรก ข้าพเจ้าต้องเดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อไปร่วมในพิธีรับประกาศนียบัตรและรับ รางวัลพระราชทาน อาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งจากโรงเรียนและแม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในพิธีมอบ รางวัลครั้งนี้ที่จัดขึ้นที่ศาลาดุสิตดาลัย พระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐาร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีจะเป็นผู้ประทานรางวัล แม่และอาจารย์ต่างก็ตื่นเต้นกันมาก
อาจารย์ แม่และพี่สาวเดินทางมากรุงเทพฯ และพวกเราต้องไปที่กระทรวงศึกษาธิการเพื่อฝึกซ้อมธรรมเนียมปฏิบัติการเข้า เฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ถึงหนึ่งวัน
พิธีพระราชทานใบประกาศนียบัตรผ่านไปอย่างงดงาม โรงเรียนนำใบประกาศนียบัตรกลับไปติดที่ผนังห้องของผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นใบประกาศนียบัตรเพียงใบเดียวในรางวัลประเภทนี้ที่นักเรียนของ โรงเรียนเราเคยได้รับ ข้าพเจ้าได้กล่องห่อผ้าดิ้นทองอันสวยงามที่มีเงิน 2,000 บาทบรรจุอยู่ในกล่อง และแม่ได้ภาพในขณะที่ข้าพเจ้าย่อตัวถอนสายบัว พร้อมกับยื่นมือไปรับรางวัลจากพระเทพ รูปถ่ายถูกใส่กรอบและแขวนไว้บนฝาบ้าน แม่มักเชิญชวนเพื่อนบ้านและแขกที่มาเยี่ยมให้ดูรูปนั้นด้วยความภาคภูมิใจใน ตัวลูกสาว สำหรับกล่องสีทองใบนั้นยังคงนอนสงบนิ่งอยู่ในตู้เก็บของที่บ้าน
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับรางวัลอาจจะพอๆ กับเงินรางวัลที่ข้าพเจ้าได้รับ แต่คุณค่าของรางวัลต่อโรงเรียนและครอบครัวของเรานั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าเงิน มากมายนัก และเงิน 2,000 บาท(จากกระทรวงศึกษาธิการ) ก็ช่วยค่าเล่าเรียนของข้าพเจ้าที่มหาวิทยาลัยได้กว่าสองเดือน
มหาวิทยาลัย
หลังจากเข้ามหาวิทยาลัยได้ไม่นานข้าพเจ้าก็ได้ตระหนักถึงจำนวนงบประมาณ จากภาษีอากรที่ถูกนำมาใช้สนับสนุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และได้รับทราบว่ามีลูกหลานคนจนเช่นเดียวกับข้าพเจ้าเพียงประมาณ 5% เท่านั้นที่สามารถสอบผ่านและได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงเช่น นี้
ที่ภาควิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา คณะอักษรศาสตร์ นี้เองที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าอะไรคือความเป็นธรรมในสังคม และเมื่อเรียนไปได้ไม่นานข้าพเจ้าก็ตระหนักว่าจำเป็นที่เราจะต้องมีคนที่ ทำงานเพื่อคนจน และเพื่อเกษตรกรที่ยากจน ที่สถานศึกษาแห่งนี้ที่ข้าพเจ้าได้ให้สัญญากับหัวใจว่าในชีวิตนี้ข้าพเจ้าจะ มุ่งมั่นทำงานเพื่อลดช่องว่่างระหว่างคนจนและคนรวยให้จงได้
ข้าพเจ้าชอบเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสา และในทุกช่วงโอกาสที่ทำได้ข้าพเจ้าจะเดินทางไปหมู่บ้านต่างๆ ไปทุกภูมิภาคของไทย พร้อมกับเพื่อนหรืออาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าเดินทางเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการเกษตรเพื่อ การพึ่งตัวเอง พร้อมกับวิตกกังวลถึงวิถีชีวิตแห่งการพึ่งตัวเองที่ทำให้เป็นไปได้ยากมาก ขึ้นเรื่อยๆ และเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาความยากจนในประเทศ ศิลปากรสอนข้าพเจ้าว่า ถ้าจะนำความยุติธรรม ศานติสุข และการพัฒนามาสู่สังคม ชนชั้นที่ได้เปรียบในสังคมจะต้องหยุดแสวงประโยชน์จากความได้เปรียบของตัวเอง และต้องลดทอนการใช้ชีวิตที่ฟู่ฟ่าหรูหราลงมาบ้าง
ณ มหาลัยแห่งนี้ ข้าพเจ้าประจักษ์แจ้งกับตัวเองว่าจะต้องทำงานเพื่อคนที่ถูกกดขี่ขูดรีดและคน ที่ถูกผลักให้อยู่ชายขอบของสังคม ทำงานเพื่อนำความยุติธรรมและความเท่าเทียมมาสู่สังคม และที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ที่ข้าพเจ้าได้รู้เรียนรู้และสัมผัสถึงคำว่า เสรีภาพและประชาธิปไตย และความปรารถนาที่จะทำงานเพื่อคนที่ถูกเอาเปรียบของข้าพเจ้าได้ก่อร่างขึ้น ที่นี่
ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณทุกสิ่ง ขอบคุณทุกความรู้ที่ได้้จากศิลปากร เมื่อได้รับทราบเรื่องที่มหาวิทยาลัยของข้าพเจ้านี้ปฏิเสธที่จะรับนักเรียน หญิงอายุ 18 ปีเข้าเรียน มหาวิทยาลัยที่ได้สอนข้าพเจ้าไห้รู้เท่าทันถึงการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคม ข้าพเจ้าช๊อคกับข่าวนี้เป็นอย่างมาก คณะอักษรศาสตร์ที่รักของข้าพเจ้า ปฏิเสธรับนักเรียนหญิงที่ฉลาดเฉลียว เพียงเพราะเธอกล้าที่จะใช้เสรีภาพแห่งการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น เหตุการณ์ครั้งนี้โหมกระหน่ำตีมโนสำนึกของข้าพเจ้า และเป็นดังเสียงปลุกเรียกให้ข้าพเจ้าตื่นมาเผชิญหน้ากับความจริงอันโหดร้าย อีกครั้งหนึ่ง
รางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้าคือการศึกษา ข้าพเจ้าขอบคุณครอบครัวจากก้นบึ้งแห่งหัวใจ ที่ตัดสินใจส่งข้าพเจ้าเรียนหนังสือ ขอบคุณและไม่สามารถจะเอ่ยคำว่าขอบคุณได้มากพอกับความเสียสละของพ่อ แม่ พี่ชาย น้องชายและพี่สาวที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กันอย่างจำกัดจำขี่เพื่อให้ข้าพเจ้า และน้องสาวคนเล็กได้เรียนมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้วจากครอบครัว
เครื่องแบบ
เพียงย่างก้าวเข้ามหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่าระบบการรับน้อง (โซตัส)เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ระบบโซตัส อาวุโส (Seniority) ระเบียบ (Order) ประเพณี (Tradition) สามัคคี (Unity) และน้ำใจ (Spirit) เริ่มกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสถาบันการศึกษาชั้นสูงในประเทศไทย ที่บ่อยครั้งมันกระทำอย่างน่ารังเกียจและป่าเถื่อน มันถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความอับอายให้นักศึกษาและทำให้นักศึกษายอมจำนนต่อ การบงการและยอมรับความไม่เท่าเทียมระหว่างมนุษย์ในสังคม
ข้าพเจ้าไม่ชอบสวมเครื่องแบบและก็จะใส่เฉพาะในชั้นเรียนที่ถูกบังคับให้ ใส่เท่านั้น ข้าพเจ้ารับไม่ได้ที่ว่าแม้ว่านักศึกษาจะอายุเกิน 18 ปีแล้ว และมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ผู้บริหารที่ออกกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยทั้งหลาย ยังคิดยังเชื่อกันอยู่ว่า พวกเราไม่รู้จักการเลือกเสื้อผ้าด้วยตัวเอง และพวกผู้ใหญ่พากันทำตัวเป็นผู้หยั่งรู้ และกำหนดว่าพวกเราควรจะต้องสวมใส่เสื้อผ้าอะไร
มหาวิทยาลัยจำนวนมาก (เกือบจะทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย) ต่างพากันกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่นักศึกษาควรหรือไม่ควรสวมใส่ และหลายมหาวิทยาลัยก็มีการบังคับให้นักศึกษาต้องสวมเครื่องแบบ ซึ่งเป็นระบบที่ยิ่งสร้างความแบ่งแยกและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบ ชนชั้นในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ที่ออกกฎระเบียบให้นักศึกษามหาวิทยาลัยต้องสวมใส่ ชุดนักศึกษา? ประเทศส่วนใหญ่แม้ แต่นักเรียนในระดับประถมศึกษาก็ไม่ต้องถูกบังคับให้ใส่ชุดนักเรียน ก็คงมีแต่ประเทศหน้าไหว้หลังหลอกเช่นประเทศไทยนี้เท่านั้นล่ะมัง ที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแกล้งทำตัวเป็นผู้ที่รู้ดียิ่งกว่าตัวนักศึกษาเอง อีกว่าพวกเขาควรจะสวมใส่เสื้อผ้าอะไรถึงจะดูดี ดูเหมาะสม
การออกกฎระเบียบบังคับให้นักศึกษาต้องสวมใส่เครื่องแบบที่เคร่งครัดมาก ขึ้นเรื่อยๆ เข้ากันได้ดีเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับกลไกของรัฐในการควบคุมเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นและเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการคิด เสรีภาพแห่งจิตวิญญาณที่จะวิเคราะห์และสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ
นักศึกษาและเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ไม่ได้รับอนุญาตให้มีความคิดได้อย่างอิสระแม้แต่เรื่องเสื้อผ้าที่ควรจะสวม ใส่
มันจึงไม่น่าแปลกใจที่ชนชั้นที่ได้รับปริญญาบัตรคือกลุ่มคนที่จงรักภักดี ต่อสถาบันและจนกลายเป็นคนโหดร้าย เป็นกลุ่มคนที่ได้เปรียบในสังคมที่ไม่สามารถโต้เถียงกับคนอื่นได้อย่างมี เหตุมีผล และแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิด และไม่น่าประหลาดใจที่พวกเขาพากันยืนอยู่เบื้องหลังทหาร ต่อสู้กับประชาชนเช่นเดียวกับตัวเอง และยุยงให้นายกรัฐมนตรีของพวกเขาใช้กระสุนจริงยิงใส่ฝูงชนที่เป็นคนที่มาจาก ชนชั้นล่างในสังคม คนจนที่บังอาจย่ำเท้าเข้ามายังศูนย์กลางการค้าอันทรงคุณค่าของพวกเขา
มีคนบอกกับข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าไม่รักประเทศชาติ ไม่มีความศรัทธาต่อทุกสถาบัน และไม่สมควรจะเรียกตัวเองว่าคนไทย ฯลฯ
ชนชั้นผู้มีการศึกษาในประเทศไทยกำลังทำผิดอย่างมหันต์ที่โยงประเด็นการ ต่อสู้ของคนจนเพื่อ ประชาธิปไตย และเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมกับความเป็นคน ‘ไม่รักในหลวง’ และ ‘เป็นขบวนการล้มเจ้า’ นี่เป็นความผิดพลาดอย่างแท้จริง เป็นโศกนาฎกรรม และอันตรายอย่างยิ่ง ทั้งนี้มันเป็นผลพวงมาจากระบบการศึกษาที่ไม่ได้ส่งเสริมเรื่องการทำความ เข้าใจถึงความเป็นเหตุเป็นผลแห่งการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ของมวลมนุษยชาติ
เสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่ข้าพเจ้าสวมใส่ตลอดสี่ปีในมหาลัย เป็นเสื้อผ้าที่พี่สาวทั้งสองยกให้หรือซื้อให้ ผมก็ให้เพื่อนที่เรียนตัดผมเป็นงานอดิเรกเป็นคนตัดให้ ถ้าจำไม่ผิดข้าพเจ้าเดินเข้าไปดูหนังในโรงหนังแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ตลอดสี่ปีในชีวิตมหาวิทยาลัย เงินค่าใช้จ่ายที่ได้จากพี่สาวมีเพียงพอให้ข้าพเจ้าใช้ไปกับข้าวแกงวันละสาม มื้อ และค่ารถกลับบ้าน ซึ่งมันก็เป็นเงินถึง 40% ของเงินเดือนที่พี่ได้รับทีเดียว ไหนพี่ยังจะต้องส่งเงินให้กับทางบ้านอีกประมาณ 40% ของเงินเดือนพี่สาวจึงต้องทำงานรับจ้างทำงานนอกเวลางาน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มสำหรับค่าใช้จ่ายและค่ากินอยู่ของตัวพี่สาว พี่สาวคนนี้เป็นคนเรียนเก่งมาก แต่ด้วยความที่พี่เกิดมาก่อนข้าพเจ้า พี่จึงไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย
มันก็จนมาถึงข้าพเข้า ลูกคนที่เจ็ด ในยามที่พี่ชายและพี่สาวต่างทำงานหาเงินได้แล้ว จึงได้กลายเป็นลูกคนแรกที่ได้รับโอกาสนี้ ้ข้าพเจ้าคงอยู่กับความรู้สึกผิดไปตลอดชีวิตกับความโชคดีนี้
บ่อยทีเดียวที่คิดว่าตัวเองคงไม่สามารถเรียนจนจบและต้องลาออกกลางคัน ยังจำได้ดีถึงเหตุการณ์วันนั้นได้ดี วันที่ทั้งพี่ชายที่บ้านและข้าพเจ้าเดินทางมาขอเงินจากพี่สาวพร้อมกัน พี่สาวถึงกับร่ำไห้ว่า “พี่จะไปเอาเงินมาจากไหนมาให้พวกเอง” เราทั้งสามพากันร่ำไห้
ข้าพเจ้าต้องหารายได้เสริมทุกช่วงปิดเทอม ทั้งรับจ้างถักหมอนหรือกระเป๋า ขายก๋วยจั๊บและน้ำแข็งใส และรับจ้างอาจารย์เก็บข้อมูลในหมู่บ้าน และก็สมัครขอรับทุนจากมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสาม ได้ทุนครั้งละ 2-3,000 บาท ด้วยประการนี้้ข้าพเจ้าจึงสามารถเรียนมหาลัยจนจบในปี 2532 ใครเป็นคนจ่ายค่าเล่าเรียนของข้าพเจ้ากันล่ะหรือ? ครอบครัวที่น่าสงสารของข้าพเจ้าและเงินภาษีจากประชาชน
ชีวิตนักกิจกรรมเพื่อสังคม
จากนักศึกษาที่จริงจังกับชีวิตและไม่มีประสบการณ์เซ็กส์ งานแรกทีี่ข้าพเจ้าทำเป็นงานที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง งานผู้ช่วยนักศึกษาปริญญาเอกเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่ เกาะสมุย
เกาะสมุยเป็นเกาะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสามของประเทศไทย เป็นเกาะที่เลื่องลือไปทั่วโลกในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากเยอรมัน สวิสเซอแลนด์ และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ว่าเป็นสรวงสวรรค์แห่งเซ็กส์ ไม่ใช่เฉพาะในยุคนั้น แต่จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ในปี 2532 เกาะสมุยอยู่ในช่วงวิกฤติของการเปลี่ยนผ่าน กลุ่มโรงแรมใหญ่ๆ จากกรุงเทพฯ เริ่มเข้ามากว้านซื้อที่ดินริมทะเลเพื่อสร้างรีสอร์ทและโรงแรมหรู เกษตรกรและชาวประมงที่เป็นคนท้องถ่ินไม่สามารถหากินได้ในเกาะที่ตัวเองเกิด มา จำต้องอพยพโยกย้ายไปหาที่ดินบนเขาในแผ่นดินใหญ่ และก็เริ่มสร้างครอบครัวใหม่ด้วยการปลูกกาแฟ
ยามนั้นเกาะสมุยมีรีสอร์ทและบังกาโลประมาณ 250 แห่ง และงานที่เราทั้งคู่ต้องทำคือการตระเวณไปทั่วเกาะเพื่อพูดคุยกับเจ้าของ กิจการ พนักงาน และชาวบ้านในพื้นที่(ที่ถูกทำให้กลายเป็นผู้อาศัยมากขึ้นเรื่อยๆ)
ดาเป็นเพื่อนคนแรกที่เกาะสมุย ผู้หญิงที่มาจากจังหวัดเดียวกับข้าพเจ้าที่เดินทางมาขายพรมจารีย์ของเธอใน ราคา 10,000 บาท เมื่อข้าพเจ้าถามว่าเพราะเหตุใด เธอตอบกลับอย่างรวดเร็วว่า “ความจนและก็ภาระที่บ้าน” ความยากจนที่ข้าพเจ้ารู้จักเป็นอย่างดี
จัน ทำงานเป็นแม่ครัวให้กับฝรั่ง ผู้หญิงวัยกลางคนที่รู้จักกับเจ้าของบาร์หลายแห่ง เช่นเดียวกับผู้หญิงจำนวนมากที่เกาะสมุย จันก็แสวงหาชาวต่างชาติที่จะมาพาเธอบินหนีไปจากชีวิตที่ขมขื่น จันเป็นผู้หญิงที่สวยและใจดีที่สุดคนหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเจอในชีวิต ข้าพเจ้าคงไม่สามารถลืมความโอบอ้อมอารีย์ของเธอและความช่วยเหลือให้ข้าพเจ้า รอดพ้นจากพวกนักท่องเที่ยวที่ไร้มารยาท เวลาพวกเราถูกตราหน้าโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเหล่านี้ว่า “ผู้หญิงไทยน่ะเหรอ มีเงินก็ซื้อได้หมดทุกคน”
“ไม่จริง” ข้าพเจ้าจะโต้กลับทันที
นุ้ย เจ้าของบังกาโล เป็นผู้หญิงดี ที่ดำรงชีวิตที่ยึดมั่นในศักดิ์ศรีและความซื่อตรง ร้านอาหารของนุ้ยอยู่ห่างจากจุดพลุกพล่านของหาดละไมไปทางเหนือ เป็นสถานที่พวกเราชอบไปสุมหัวอยู่กัน ศูนย์กลางเขตบาร์เบียร์ของหาดละไมอยู่ห่างจากบังกาโลของนุ้ยเพียงแค่สิบนาที แต่ก็มีเพียงครั้งเดียวที่ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จในการลากจูงนุ้ยให้เดินมา เที่ยวเขตบาร์เบียร์ในยามค่ำคืน
ข้าพเจ้าจะเดินคุยกับสาวชาวบาร์ไปทั่ว จากบาร์หนึ่งไปอีกบาร์หนึ่ง บางครั้งก็ช่วยพวกเธอแปลจดหมาย หรือเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าในตอนนั้นก็ใช่ว่าจะดีนัก แต่ก็ยังดีกว่าพวกเธอ ถ้าจันกับดาไม่พบคนถูกใจ พวกเราก็จะสุมหัวอยู่ด้วยกัน บางวันก็สองคน บางวันก็สามคน บางคืนข้าพเจ้าก็ไปอยู่เป็นเพื่อนพวกเธอจนถึงตีสามตีสี่
ข้าพเจ้าไม่เคยลืมภาพที่เราสามคนนอนคุยเล่นกันที่ชายหาดละไม หลังเสียงอึกทึกครึกโครมของค่ำคืนได้เงียบหายไป พวกเรานอนฟังเสียงคลื่นและพูดคุยกันตามประสาถึงเรื่องชีวิตและความฝันของ แต่ละคน พร้อมกับรอชมความงามยามพระอาทิตย์ค่อยๆ ขยับโผล่ขึ้นจากขอบฟ้า
ด้วยต้องการมีประสบการณ์ทำงานในบาร์ จันจึงช่วยฝากข้าพเจ้าให้้เข้าไปทำงานเป็นพนักงานเสริฟในบาร์แห่งหนึ่งที่ี คราคร่ำไปด้วยลูกค้าต่างชาติ เพราะเป็นบาร์ที่มีีเวทีชกมวย หลังจากทำงานได้สองวันข้าพเจ้าก็หยุดและไม่ไปที่บาร์นั้นอีกเลยเพราะทนเห็น สภาพของผู้หญิงอายุมากที่ไม่สามารถหาลูกค้าได้ต้องยอมขึ้นชกมวยหญิง แลกกับค่าจ้างเพียง 100 บาท ผู้หญิงสองคนสู้กันราวกับเป็นศัตรูกันมาแต่ชาติปางไหนเพื่อเงิน 100 บาท นี่มันชีวิตบัดซบชัดๆ?
ในช่่วงต้นทศวรรษ 2530 องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านนี้ระบุว่ามีคนงานขายบริการทางเพศว่าหนึ่งล้าน คนในประเทศไทย ครอบครัวของหญิงสาวเหล่านี้ใช้เงินที่พวกเธอส่งไปให้หมดไปกับการสร้างบ้าน หลังโต และ/หรือสมทบทุนสร้างศาลาวัดหลังงาม ตราบใดที่ลูกสาวยังส่งเงินไปให้ พวกเธอก็เป็นที่ต้อนรับกลับบ้าน แต่ถ้าเมื่อไรพวกเธอหาเงินส่งไปให้ไม่ได้หรือหาฝรั่งที่จะส่งเงินไปเลี้ยง ครอบครัวเธอไม่ได้แล้วล่ะก้อ การถูกตราหน้าว่าเป็นหญิงเลวก็จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนยากจะทนแบกรับได้ ข้าพเจ้าได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าผู้หญิงจำนวนไม่น้อยต้องใช้ยาและเครื่อง ดื่มให้มึนเมาก่อนที่จะสามารถก้าวขึ้นเวทีไปยืนเกาะเสาเต้นอะโก้โก้ยั่วยวน นักท่องเที่ยว ผู้หญิงที่นั่นบางคนจะมีรอยกรีดที่ข้อมือซ้อนกันเป็นปื้นยาว รอยกรีดแต่ละรอยคือรอยจารึกแห่งความผิดหวังและความรังเกียจตัวเองที่เพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ที่ข้าพเจ้าช่วยเก็บข้อมูลได้รับปริญญาเอกตามที่หวัง และไม่ทราบว่าด้วยประการใดข้าพเจ้ารอดพ้นจากแปดเดือนที่เกาะสมุยโดยที่พรมจา รีย์ไม่ฉีกขาด
ในปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเทียวทางเพศปีละกว่า 200,000 ล้านบาท และมีคนทำงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการทางเพศกว่า 2.5 ล้านคน นี่มันประเทศอะไรกันนี่ ที่ดำรงเศรษฐกิจของประเทศบนจิตวิญญาณและร่างกายของผู้หญิงและการท่องเที่ยว ทางเพศ?
หลังจากสองเดือนในการเดินทางไปสัมผัสกับความหมายที่แท้จริงแห่งคำว่า เสรีภาพ โดยทุนจากนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ ที่ออสเตรเลีย ข้าพเจ้าก็ตัดสินใจเดินทางไปทำงานกับศูนย์แรงงานเอเชียที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานในเอเชียงานที่ต้องทำคือการให้คำแนะนำและช่วยเหลือ แรงงานไทยที่ฮ่องกง ส่วนใหญ่ทำงานเป็นแม่บ้าน บางครั้งต้องไปรับตัวพวกเธอจากบ้านนายจ้างมหาโหดแล้วพาไปแจ้งความ ยื่นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายกับสำนักงานคุ้มครองแรงงานที่ฮ่องกง และถ้าพวกเธอได้นายจ้างใหม่ก็พาไปยื่นเอกสารเพื่อทำใบอนุญาตทำงานกับกองตรวจ คนเข้าเมือง บางวันข้าพเจ้าต้องอยู่ที่โรงพักถึงสี่ทุ่มห้าทุ่มเพื่อช่วยพวกเธอในการให้ ปากคำกับตำรวจ
มันเป็นงานที่หนักมาก แต่ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าได้พบเจอผู้หญิงที่งดงาม ผู้หญิงที่ทำงานหนักแทบจะไม่เคยได้พักผ่อน ผู้หญิงที่เสียสละชีวิตและความสุขส่วนตัวเพื่อทำงานเป็นแม่บ้านที่ฮ่องกงมา นานหลายปีเพื่อหารายได้ส่งกลับไปตอบสนองความต้องการของครอบครัวที่เมืองไทย ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งค่าเรียนหรือค่ามอเตอไซด์ของน้องชาย ค่ารักษาพ่อ หรือแม้กระทั่งค่าเรียนของหลานๆ ผู้หญิงหลายคนที่นี่ไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะสร้างครอบครัวของตัวเอง และในช่วงชีวิตวัยกลางคนเช่นนี้ พวกเธอก็ได้แต่หวังว่าเมื่อกลับบ้านแล้วน้องชายและครอบครัวจะดูแลพวกเธอ เป็นการตอบแทนบ้าง
มันแทบไม่น่าเชื่อเลยว่าเพียงปีกว่าๆ หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าได้ทำงานและพบเจอกับผู้หญิงไทยหลายพันคนที่ได้เสียสละชีวิตและความ สุขส่วนตัว ผู้หญิ่งที่ยอมแบกรับภาระอันหนักอึ้งในการสร้างหลักประกันทางสังคม และการอยู่ดีมีสุขของครอบครัวของพวกเธอ หลักประกันทางสังคมที่ถูกตีตราว่า ‘คอมมิวนิสต์’ โดยราชอณาจักรไทยนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2490
สันธะนา
เรื่องราวของสันธะนา หญิงสาววัยสามสิบปีจากภาคอีสานของประเทศไทย เป็นเรื่องที่สมควรหยิบยกมากล่าวถึง เธอถูกทหารยิงเสียชีวิตราวกับสัตว์ป่า และแฟนของเธอบาดเจ็บสาหัส เมื่อทั้งคู่ขับรถมอเตอร์ไซค์ผ่านในเขตกระชับพื้นที่ของทหารในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เพื่อกลับที่พักที่อยู่ในซอยหมอเหล็ง
จากข่าว สันธะนาได้เดินทางไปทำงานที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ไต้หวันเป็นเวลา 3 ปี แล้วไปทำงานประเภทเดียวกันที่ญี่ปุ่นอีก 3 ปี ซึ่งทำให้เธอได้เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นพอที่จะกลับมาทำงานเป็นไกด์ในบริษัท ทัวร์ญี่ปุ่น ก่อนจะลาออกมาทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทส่งออกและนำเข้า เธอเป็นผู้หญิงที่สู้ชีวิตจนประสบความสำเร็จ แต่ก็มาถูกพรากชีวิตไปในช่วงวัยที่กำลังรุ่งโรจน์ ครอบครัวของเธอได้สูญเสียกำลังหลักที่หาเลี้ยงครอบครัว พวกเขาได้รับเงินพระราชทานความช่วยเหลือ 50,000 บาท จากสำนักพระราชวัง และก็อีกเช่นเคย ครอบครัวนี้ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากต้องก้มหน้ายอมรับการการสูญเสียครั้ง นี้ว่ามันเรื่องของเวรของกรรม
เรื่องราวชีวิตของสันธะนา เป็นเรื่องราวที่พวกเราอาจจะได้ยินจนชินหูและพบเห็นจนชินตา ข้าพเจ้ารู้สึกโกรธแค้นยิ่งนักเมื่อรัฐบาลพยายามตีตรา 88 ศพที่พวกเขาสังหารบนท้องถนนกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่่ผ่านมาว่า เป็นกองกำลังติดอาวุธ และเป็นผู้ก่อการร้ายของ ‘ขบวนการล้มเจ้า’
ตลอดชีวิตยี่สิบปีของการทำงานเพื่อสังคม ข้าพเจ้าได้พบผู้หญิงเช่นเดียวกับสันธะนา นับหมื่นนับแสนคน ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในหลายสิบประเทศทั่วโลก ผู้หญิงที่งดงาม ผู้หญิงที่แบกรับภาระดูแลทุกชีวิตในครอบครัว และแบกรับภาระทางเศรษฐกิจของประเทศอันหน้กอึ้งไว้บนบ่าทั้งสองข้างของพวกเธอ
หลังจากการลุกขึ้นสู้และการถูกปราบปรามมาหลายครั้งในประเทศไทย เหตุการณ์การลุกขึ้นสู้และถูกปราบปรามในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา พวกเราได้ประจักษ์อีกครั้งถึงความโหดเหี้ยมของผู้มีอำนาจในสังคมไทยที่สามา รถสังฆ่าประชาชนคนไทยจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 88 คน ประจักษ์พยานที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงว่าพวกเราปล่อยให้การแบ่งแยกชนชั้นใน สังคมไทยเติบโตมาจนถึงขั้นนี้โดยไม่มีการตรวจสอบและยับยั้งได้อย่างไรกัน
ความคับแค้น
ข้าพเจ้าเข้าร่วมประท้วงในเหตุการณ์พฤษภาเลือดในปี 2535 เสียงกึกก้องของขวดน้ำพลาสติกนับหมื่นนับแสนใบที่ีตีกระทบพื้นถนนราชดำเนิน ยังคงดังก้องสะท้อนอยู่ในโสตประสาทของข้าพเจ้า เสียงกึกก้องกัมปนาทที่แม้แต่สรวงสวรรค์ยังต้องรู้สึกเย็นยะเยือกด้วยสำเนีย กถึงความมุ่งมั่นของคลื่นมหาชนที่ต้องการขับไล่เผด็จการทหารให้ออกไปจาก การเมืองไทย
หลังจากมีผู้ถูกยิงเสียชีวิต 48 คนโดยทหารจากกองกำลังรักษาพระนคร การลุกขึ้นสู้ครั้งนี้ได้ยุติลงโดยการที่ในหลวงเข้ามาเป็นผู้นำเจรจาใกล่ เกลี่ยระหว่างผู้นำคณะปฏิวัติและผู้นำการประท้วง ซึ่งผลจากการเจรจาครั้งนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับการแซ่ซ ร้องสรรเสริญในพระเกียรติคุณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
ทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกคนในคณะปฏิวัติและผู้ประท้วงต่างได้รับนิรโทษกรรม นี่เป็นธรรมเนียบปฏิบัติในประเทศไทยในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง คือการถวายฎีกาและการขอพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากมีการสังเวยชีวิตสักสามสิบหรือสี่สิบศพ พระราชดำรัสของในหลวงคือความยุติธรรม และก็ต้องยุติแค่นั้นไม่สามารถพูดเรื่องความยุติธรรมอื่นใดได้อีก นายพลที่สั่งการให้ทหารสังหารประชาชน 48 คน ได้รับพระราชทานอภัยโทษและยังคงใช้ชีวิตอย่างหรูหราในสังคมชั้นสูง เช่นเดียวกับทรราชคนอื่นๆ ทั้งในอดีตและหลังจากนั้น ไม่เคยมีใครถูกนำตัวขึ้นศาลเพื่อดำเนินคดี
ข้าพเจ้าเริ่มรู้สึกคับข้องใจมากขึ้นเรื่อยๆ มันต่อเนื่องมายาวนานเกินพอแล้วที่ในทุกครั้งที่ประชาชนคนไทยลุกขึ้นมา ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม พวกเขาได้อะไรเป็นการตอบแทน? ชนชั้นกรรมาชีพ 48 คนถูกสังหาร และนายกรัฐมนตรีพระราชทาน (ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวแต่ถึงสองครั้ง) นายกพระราชทานที่เป็นผู้บริหารบริษัทเครื่องนุ่งห่มยักษ์ใหญ่ของไทยที่มี ประวัติศาสตร์การต่อต้านสหภาพแรงงานอย่างหนัก เหล่าชนชั้นสูง นักวิชาการฝ่ายขวา และองค์กรพัฒนาเอกชนหัวอนุรักษ์นิยมต่างก็แสดงความชื่นชมยินดีกับนายก พระราชทาน ปี 2535 จึงเป็นปีที่การคอรัปชั่นทางการเมืองอย่างแยบคายได้พัฒนากลายเป็นสถาบัน การเมืองที่ฉ้อฉล
การปราบปราบประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและ ประชาธิปไตย หรือผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ไม่เคยจางหายไปจากสังคมไทย หลังจากยี่สิบปีของการทุ่มทำงานอย่างหนักเพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยและ คนจน สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นกลับเป็นช่องว่างที่ถอยห่างออกจากกันมากขึ้นเรื่อยๆ
โกลาหลและพินาศ
และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คนกรุงเทพได้เห็นรถถังขับเคลื่อนเข้าสู่กลาง กรุง โดยทหารในแห่งกองทัพไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อปล้นประชาธิปไตยอันน้อยนิดที่ประชาชนคนไทยต่อสู้ให้ได้มา
การทำรัฐประหารครั้งนี้กระทำในช่วงที่นายกรัฐมนตรีทักษิณอยู่ที่นิวยอร์ค ซึ่งเขาก็ยังไม่ได้กลับบ้านเกิดจนถึงปัจจุบัน เราไม่อาจทราบได้ว่านายกทักษิณมีความใส่ใจอย่างแท้จริงหรือไม่ที่จะสนับสนุน ให้เกิดระบบประชาธิปไตยโดยประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงหรือไม่?
ทันที่ที่ข่าวทหารเคลื่อนพลเข้ายึดกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าได้ส่งแถลงการณ์ประณามการทำรัฐประหาร และได้ร่วมในการประท้วงรัฐประหารหลายครั้ง ข้าพเจ้าไม่ได้ประท้วงรัฐประหารเพราะทักษิณ แต่เพราะว่าข้าพเจ้าตระหนักได้ดีว่าการรัฐประหารคือการตบหน้าการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยของพวกเรา และก็มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ตั้งแต่ปี 2549 พัฒนาการด้านประชาธิปไตยของไทยเป็นศูนย์ และประเทศไทยต้องเผชิญกับความวุ่นวายทางการเมืองอย่างไม่มีทีท่าว่าจะยุติ (See: http://timeupthailand.blogspot.com/2010/05/blog-post.html)
ถ้ายังมีสิ่งที่ถือเป็นด้านบวกอยู่บ้างของสี่ปีแห่งความโกลาหลและวุ่นวาย ทางการเมือง มันคือการทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ถึงระบบสองมาตรฐานในสังคมไทยที่ไม่มีทางที่ จะกดทับให้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจได้อีกต่อไป
แม้ว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉุกเฉินและการเซ็นเซอร์อย่างมโหฬาร ของรัฐบาล กระแสการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์และการเข้ามา เกี่ยวข้องทางการเมืองของในหลวง ราชินี และสำนักพระราชวัง ทั้งจากคนจนเมืองและคนจนชนบทได้ดังมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมันเป็นไปตามครรลองแห่งพัฒนาการทางสังคม ซึ่งจำต้องมีการถกเถียงระหว่างกัน เพื่อที่ประชาชนจะได้พัฒนาเติบโตสู่การเป็นประชากรที่มีสามัญสำนึกด้าน การเมืองอย่างแท้จริง และแม้ว่ารัฐบาลจะได้บล๊อคเวบไซด์หลายหมื่นเวบ แต่เวบเหล่านั้นก็สามารถหาทางเปิดใหม่อีกจนได้เพียงไม่กี่วัน
ภายใต้กฎหมายที่เขียนด้วยเลือดเช่นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ขณะนี้มีหลายคนถูกตัดสินจำคุก 6 ปี 10 ปี หรือ 18 ปี เพราะการแสดงความคิดเห็นทั้งทางอินเตอร์เนตและการพูดในที่สาธารณะ
ด้วยกฎหมายมาตรานี้ ผู้จัดการเวบไซด์ประชาไทออนไลน์ (www.prachatai3.info) ถูกจับกุมและได้รับอนุญาตให้ประกันตัวพร้อมกับข้อกล่าวหากว่า 50 คดี ได้มีการจัดทำเวบไซด์เพื่อติดตามผู้ต้องหาคดีการเมือง http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/
ประชาชนหลายล้านคน เริ่มสงสัยว่าความรักที่พวกเขาได้มอบให้กับในหลวง มันคุ้มค่ากันหรือไม่กับแผลเป็น และข้อกล่าวหาต่างๆ ที่พวกเขาได้รับเป็นการตอบแทน แม้ว่าจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ของขบวนการที่ทำให้ผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกลายเป็นผู้ก่อการร้ายที่ เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และมีผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตกเป็นเหยื่อของวาทะกรรม ‘รักในหลวง’ และ ‘ปกป้องสถาบัน’ แม้จะมีบทลงโทษร้ายแรง แต่กระนั้นก็ตาม มันก็ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ที่แผ่ ขยายมากขึ้นเรื่อยๆ ให้เงียบสงบลงได้
บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยควรเป็นเช่นไร? แทนที่จะฟังเสียงของประชาชนรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและของวัง หลวงกลับพยายามปิดปากเสียงของประชาชนที่ลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์
เมื่อข้าพเจ้ามองย้อนกลับไปดูประเทศไทยในฐานะคนไทยที่เดินทางประชุมและดู งานในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่นำมาสู่การล้มสลายของราชวงค์ เนปาล ข้าพเจ้าไม่อาจคิดเป็นอื่นใดได้ นอกจากรู้สึกประหลาดใจยิ่งนัก ท่ีราชวงค์ของไทยไม่ศึกษาเกี่ยวกับความเสื่อม และพัฒนาการของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยังดำรงอยู่ได้ในสังคมศิวิไลซ์
ยังจำได้ถึงวันหนึ่งที่เพื่อนชาวนรเวย์ได้พาข้าพเจ้าไปทานอาหารที่ร้านอา หารเล็กๆ อันเงียบสงบที่ชานกรุงออสโลว์ เมืองหลวงของนรเวย์ เราเห็นผู้หญิงท่านหนึ่งเพิ่งทานเสร็จ เดินออกจากร้านอาหาร และเธอก็ขับรถออกไปตามลำพัง หลังจากเธอออกไปแล้วเพื่อนบอกข้าพเจ้าว่า “เธอเป็นฟ้าหญิง” พระองค์ขับด้วยตัวเอง และไม่มีขบวนรถตามเสด็จแต่อย่างใด อีกวันหนึ่งแกนนำนักศึกษาได้พาข้าพเจ้าเดินชมเมืองออสโลว์ เราเดินเข้าไปยังสวนอันงดงาม ทั้งสองคนบอกกับข้าพเจ้าว่า นี่เป็นสวนของวังหลวง และองค์พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถก็ทรงพำนักอยู่ที่พระราชวังแห่ง นี้ โอ! ช่างน่าประหลาดใจยิ่งนักที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงค์ทรงให้ประชาชนเข้ามา พักผ่อนในสวนหลวง โดยที่เราไม่เห็นทหารแม้แต่คนเดียวในสวนแห่งนี้
ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เจ้าภาพได้พาข้าพเจ้าเดินชมเมืองหลังจากการจบการประชุม เราไปหยุดยืนอยู่ที่ประตูหน้าพระราชวังพอดีกับช่วงที่ฟ้าชายทรงขับรถออกจาก ประตูวัง ไม่มีการปิดกั้นถนนและมีรถตามเสด็จพระองค์เพียงคันเดียวเท่านั้น
ในประเทศไทยขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ในกรุงเทพฯ หรือในทุกสถานที่โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ จะมีการเคลียร์ถนนและสะพานลอยก่อนขบวนเสด็จจะมาถึงอย่างน้อยสิบนาที หรือสามสิบนาที ก่อนที่ขบวนรถของพระบรมวงศานุวงศ์จะขับผ่านด้วยความเร็วเกินพิกัดที่กฎหมาย กำหนด กฎหมายถูกผ่อนผันให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ เคยนั่งนับรถขบวนเสด็จโดยเฉพาะขบวนของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เรานับได้ถึง 30 คัน เป็นรถยนต์ราคาแพงลิบ สีเดียวกันทั้งขบวน
เรื่องราวของบู้เก้ถูกนำมาเล่าขานเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2552 เรื่องของเด็กหญิงอายุ 6 ขวบที่เสียชีวิตเพราะรถยนต์ที่พาเธอไปโรงพยาบาลติดขบวนเสด็จกว่าหนึ่ง ชั่วโมง เพราะว่าสมาชิกของพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงเสด็จไปสปา พ่อของเด็กน้อยได้แจ้งให้ทหารที่ปิดถนนให้รายงานให้ทรงทราบ ทหารกลับมาบอกว่าคำขอร้องถูกปฏิเสธ เขาจึงขับรถอ้อมไปอีกทางเพื่อจะพบว่าถนนก็ถูกปิดเพื่อขบวนเสด็จอีกเช่นกัน ด้วยความอัดอั้นตันใจพ่อของบู้เก้ได้เขียนเล่าเรื่องราวมายังเวบไซด์แห่ง หนึ่ง พวกเราที่ได้อ่านเรื่องราวของเด็กน้อยต่างก็ภาวนาให้เธอปลอดภัย แต่ดังที่พ่อของเธอได้เขียนไว้ว่า “ลูกผมตายเพื่อให้นักร้องไปสปา”
ในวันที่ 13 ตุลาคม 2551 หญิงสาวผู้หนึ่งที่ร่วมประท้วงกับขบวนการเสื้อเหลืองได้เสียชีวิตในระหว่าง ที่มีการปะทะกับตำรวจที่ทำหน้าที่ปกป้องรัฐสภา เธอได้รับพระราชทานเพลิงศพ ทั้งนี้สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จมาในงานด้วยพระองค์ เอง ติดตามด้วยเหล่าองคมนตรี ผู้นำเหล่าทัพ อภิสิทธิ์และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์
เดือนเมษายน 2553 พ.อ.(พิเศษ)ร่มเกล้า ธุวธรรม รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. ค่ายจักรพงษ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี นายทหารที่คุมกำลังในการปราบปรามคนเสื้อแดงเสียชีวิตในวันที่มีการปราบปราบ คนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เขาได้รับพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ โดยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานน้ำอาบศพด้วยพระองค์เอง ภรรยาของพันเอกพิเศษร่มเกล้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการพลเรือน ครอบครัวชาวบ้านที่เสียชีวิตจากการกระชับพื้นที่ 88 ครอบครัวได้รับพระทานเงินช่วยเหลือจากสำนักพระราชวังครอบครัวละ 50,000 บาท
ความยุติธรรมอยู่ที่ไหนกันหรือ จริงๆ แล้วทั้งหมดนี้มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย
มันจำเป็นจะต้องมีองค์กรอิสระจากนานาชาติเข้ามาตรวจสอบการปราบปราบ ประชาชนครั้งที่ผ่านมาของรัฐบาลไทย และการตรวจสอบก็ไม่สมควรจะหยุดแค่รัฐบาลอภิสิทธิ์เท่านั้น แม้กระทั่งบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการปราบปราบประชาชน และความไม่สงบทางการเมืองของประเทศไทย ตลอดสี่ปีที่ผ่านมาก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกัน
ด้วย ‘ความรัก’ อันมหาศาลที่ปวงชนชาวไทยได้มอบให้กับสถาบันดังที่มีการกล่าวอ้างกัน ทำไมสถาบันพระมหากษัตริย์จึงยังทรงมีพฤติกรรมที่ประหนึ่งว่าหวาดระแวง ประชาชน แม้ว่าเราจะอยู่ในยุคสมัยแห่งศตวรรษที่ 21 เช่นนี้?
ทำไมสำนักพระราชวังไม่ปล่อยให้พสกนิกรสามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผย เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์? หรือว่าสำนักพระราชวังจมอยู่ในวังวนของข่าวลืออันหนาหู จนไม่กล้าที่จะเปิดพื้นที่ให้สาธารณชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น?
ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ได้ผลักให้พระบรมวงศานุวงศ์ของไทยเลือกที่จะ ผูกสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับเหล่านายพลที่ฉ้อฉล เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพระเหตุใดประเทศไทยจึงร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในสงครามต่อต้าน คอมมิวนิสต์ก็เป็นเรื่องที่รับรู้กันอย่างแพร่หลาย
เพราะเหตุใด พระบรมวงศานุวงศ์จึงเป็นเพื่อนกับทรราชเช่นจอมพลถนอม และยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือไม่ให้เขาถูกดำเนินคดีและเตรียมฝูกให้เขาล้มโดย ไม่เจ็บตัวมากนัก พร้อมทั้งพระราชทานเพลิงศพเมื่อเสียชีวิต ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้
แต่ทำไมพระบรมวงศานุวงศ์ไม่สนับสนุนรัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ บิดาของประชาธิปไตยของไทย ทำไมในปี 2590 จึงสนับสนุนนายพลที่ปฏิวัติรัฐบาลปรีดี ทำไม่ไม่ทรงพระราชทานอภัยโทษให้ท่านปรีดี และทำไมไม่อนุญาตให้ท่านได้กลับเมืองไทยในยามที่ท่านอยู่ในวัยชราภาพ ทั้งไม่มีงานพระราชทานเพลิงศพ เพื่อปลอบขวัญกำลังใจให้ครอบครัวของท่านรัฐบุรุษ เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าไม่อาจเข้าใจได้
ถ้าแผนเค้าโครงเศรษฐกิจของท่านปรีดีได้มีการนำมาใช้จริงๆ นับตั้งแต่ปี 2476 และไม่ถูกโค่นลงด้วยข้อกล่าวหา ‘เป็นคอมมิวนิสต์’ ประชาชนชาวไทยก็อาจจะไม่ต้องอยู่กับ 78 ปีแห่งปรากฎการการไล่ล่าและปราบปรามประชาชนอย่างโหดร้ายราวกับว่าเราอยู่ใน สมัยศักดินาในยุคกลางของยุโรป ยุคแห่งการปะทะระหว่างผู้ถูกกดขี่ และประชาชนที่อัดแน่นไปด้วยความคับแค้นที่มีต่อความหรูหราฟู่ฟ่าและความ เคร่งครัดแห่งพิธีรีตองของสถาบันพระมหากษัตริย์(สำหรับยุคสมัยกลางของยุโรป กรุณาอ่านเพิ่มเติมท่ีท้ายบทความนี้)
เค้าโครงเศรษฐกิจของท่านปรีดี มุ่งสร้างหลักประกันความสุขแห่งราษฎร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจด้วยระบบสหกรณ์ สวัสดิการสังคม การลงทุนโดยรัฐ และส่งเสริมระบบรัฐวิสาหกิจ ระบบเศรษกิจเพื่อสังคม การแลกเปลี่ยนทางการค้า ส่งเสริมให้ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษา และให้เกษตรกรได้ใช้กำลังแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม มีมากจ่ายมาก และยังระบุถึงระบบเงินเดือนประชากรทั้งประเทศอีกด้วย
ถ้าแผนพัฒนาของท่านปรีดีได้มีการนำมาปฏิบัติใช้จริง ประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศนำร่องด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ไปแล้วก็ได้ในตอนนี้ เราอาจจะกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศที่นำรายได้ปีละสองแสน ล้านบาทมาหล่อเลี้ยงรัฐบาลในปัจจุบันอาจจะถูกแทนที่ด้วยระบบเกษตรกรรมที่ เข้มแข็ง และประชาชนทั้งประเทศอจจะมีระบบประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพแล้วก็ได้ใน ช่วง 78 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนั่นหมายความว่าประเทศไทยอาจจะไม่อยู่ในวังวนของการล้มละลายทางความ เชื่อถือต่อกระบวนการตุลาการเช่นในปัจจุบัน ปวงชนชาวไทยในทุกวันนี้ก็อาจจะกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำงานเพื่อนำพาประเทศไป สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริงๆ
เมื่อไม่นานมานี้เวบชุมชนคนเหมือนกันได้มีการอ้างถึงจดหมายสองฉบับที่ เขียนโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับแรกทรงเขียนถึงจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติไล่รัฐบาลปรีดีได้สำเร็จในปี 2490 และฉบับที่สองทรงเขียนถึงจอมพลถนอมหลังจากที่จอมพลถนอมทำการปฏิวัติตัวเอง เพื่ออยู่ในอำนาจต่อในปี 2514 การรัฐประหารปี 2490 ได้ชื่อว่าเป็นการทำรัฐประหารที่ได้ทำลายรัฐธรรมนูญที่ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดที่ประเทศไทย
รัฐประหาร ปี 2490 ได้ถวายพระราชอำนาจคืนให้องค์พระมหากษัตริย์หลายด้าน ร่วมทั้งถวายคืนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเพระเหตุใดนับตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงยังคงอยู่ในอุ้มมื้ออุ้งตืนของทหารที่อ้างตัวว่าเป็น ‘ข้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว’ และข้ออ้างที่ว่า ‘จำต้องทำรัฐประหารเพื่อปกป้องราชบัลลังก์’?
ในการเปลี่ยนผ่านจากระบบเผด็จการมาสู่ระบบประชาธิปไตยในช่วงกลางทศวรรษ 2510 ของประเทศสเปน (หลังจากประเทศถูกปกครองภายใต้นายพลฟรังโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งนายพลฟรังโกเสียชีวิตในปี 2518) เป็นไปด้วยบรรยากาศแห่งการแก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างกองทัพต่างๆ จนเมื่อความขัดแย้งรุนแรงถึงที่สุด ทหารกลุ่มหนึ่งได้ทำการรัฐประหารในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 แต่การทำรัฐประหารก็ถูกขัดขวางจากกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ที่สวมใส่ชุดผู้บัญชาการทหารสูงสุด และมีกระแสพระราชดำรัสผ่านทางรายการโทรทัศน์ เรียกร้องให้สาธารณชนออกมาปกป้องรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอย่างชอบ ธรรม หัวหน้าคณะรัฐประหารถูกตัดสินจำคุก 30 ปี และการกระทำของพระมหากษัตริย์ของสเปนครั้งนี้ได้นำไปสู่การสร้างความเข็ม แข็งให้ทั้งกับระบอบประชาธิปไตยของสเปนและการนับถือในสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก และก็ไม่เกิดรัฐประหารขึ้นอีกเลยในสเปนหลังจากนั้น
ในทางกลับกัน นับตั้งแต่ปี 2490 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยได้ลงพระปรมาภิไธยให้กับคณะ รัฐประหารที่ประสบความสำเร็จในการปล้นประชาธิปไตยของประเทศไทยถึง 7 คณะด้วยกัน
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมาพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยควรจะยืนหยัดเคียงข้างพสกนิกรของพระองค์ เพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย และทำให้ทหารที่พร้อมจะทำการรัฐประหารและปราบปรามประชาชน ได้ตลอดเวลาไม่สามารถขยับตัวและลุกขึ้นมาทำการรัฐประหารได้อีกตลอดกาล
การปราบปรามประชาชนของกองทหารรักษาพระองค์ในเดือนเมษายน 2553 ได้ผลักประเทศไทยให้ล้มลุกคลุกคลานไปบนท้องถนนที่ลื่นแฉะพร้อมกับสถานภาพอัน ไร้เกียรติยศแห่งการเป็น ‘ประเทศที่ล้มเหลว’
เวลาที่คนไทยจะได้เปิดเวทีสาธารณะเพื่อพูดคุยกันถึงบทบาทของสถาบันพระมหา กษัตริย์ สถาบันของพระราชวัง และกองกำลังทหารรักษาพระองค์จำนวนมหึมาที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพระบรม วงศานุวงศ์ ได้ถูกปล่อยให้ผ่านมานานเกินไปแล้ว
และทั้งอำนาจอันบริบูรณ์และเอกสิทธิ์พิเศษมากมายอันมีราคาแพงลิบลิ่วที่ มอบให้ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเอกสิทธิ์ที่ถูกใช้อย่างสวนกระแสพระราชดำรัส ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่ตรัสแนวนโยบายนี้ด้วย พระองค์เอง
ด้วยการเปิดพื้นที่ให้สาธารณชนได้วิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างอิสระเท่านั้น ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ จะยังคงสามารถที่จะฟื้นความศรัทธาและยังคงเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการ ป้องกันไม่ให้เกิดการเข่นฆ่าประชาชนในประเทศเกิดขึ้นอีกในอนาคต และนำความยุติธรรมกลับคืนสู่ประเทศไทย โดยไม่ต้องพึ่งพิงทหารหรือกองกำลังติดอาวุธ ที่ไม่มีความจำเป็นเลยแม้แต่น้อยต่อประเทศไทยในศตวรรษที่ 21
พระราชวัง จะต้องเปิดพื้นที่ให้พสกนิกรชาวไทยเปิดเผยความรู้สึกที่พวกเขามีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ได้อย่างอิสระ และพระราชวังจะต้องสั่งให้มีการยุติกระบวนการสร้างกระแส ‘เรารักในหลวง’ และ ‘ปกป้องสถาบัน’ โดยทันที
นับตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าได้ก่อกำเนิด พระบรมวงศานุวงศ์ได้รับความรักจากข้าพเจ้า แต่อย่างช้าๆ ความรักนี้นี้ได้ค่อยๆ เลือนหายไป ถ้าพระราชวังทำให้ข้าพเจ้าต้องเลือกระหว่างรักพระบรมวงศานุวงศ์กับรัก ประชาชนคนไทย ข้าพเจ้าคงต้องเลือกประการหลัง ไม่มีสิ่งใดหรือคนใดสามารถมาทำให้ข้าพเจ้าเปลี่ยนใจในความรักที่มีต่อพี่ น้องชาวไทยได้
เมื่อกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ มีหลายประเด็นที่สาธารณชนจำต้องถกเถียงกันด้วยเหตุผลได้โดยปราศจากซึ่งความ กลัวว่าจะถูกจับโยนเข้าคุก โดยเฉพาะประเด็นดังต่อไปนี้
- ทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด ระยะเวลา 60 ปี ด้วยพระราชทรัพย์รวมกันทั้งสิ้นกว่าหนึ่งล้านสองหนึ่งแสนสองหมื่นล้านล้าน บาท องค์กรจัดลำดับ Forbes ได้ประกาศพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่ มั่งคั่งมากที่สุดในโลกเหนือกษัตริย์ทั้งปวงในปี 2551 สาธารณชนไทยควรจะได้รับอนุญาติให้สามารถร่วมชื่นชมพระราชทรัพย์ของสถาบันพระ มหากษัตริย์และขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมองย้อนมาศึกษาเปรียบเทียบระยะห่าง ที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ของช่องว่างระหว่าคนรวยและคนจนในสังคมไทย
- ไม่มีทางที่การแต่งงานระหว่างความคิดของฝ่ายกษัตริย์นิยม ที่เรียกว่า ‘ความเป็นไทย’ กับผลประโยชน์ที่เกิดจากอุตสาหกรรมเทคโนโลโยีขั้นสูงจะอยู่กันได้อย่าง ยั่งยืนโดยปราศจากซึ่งระบบตุลาการที่เป็นอิสระ
- ฝ่ายกษัตริย์นิยมเริ่มมีจำนวนน้องลงเรื่อยๆ และไม่สามารถพึ่งพึงทหารชั้นผู้น้อย และตำรวจได้อีกต่อไป เพราะพวกทหารและตำรวจชั้นผู้น้อยต่างก็มีพ่อ มีแม่ มีลุง ป้า น้า อา อยู่ในกลุ่มของคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบที่เริ่มตระหนักถึงจิตสำนึกร่วมแห่ง ความเป็นชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งในเมืองและในชนบทมากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายกษัตริย์นิยมจึงต้องหันไปพึ่งพิงและพยายามควบคุมอำนาจตุลาการไว้ให้ได้ โดยเฉพาะผู้พิพากษาสูงสุดทั้งหลาย โดยใส่ความคิดเรื่องใครคือ ‘คนดี’ และ ‘คนไม่ดี’ และ ‘จิตวิญญาณประชาชาติ’ ไว้ในแนวปฏิบัติของศาลด้วย
ถ้าจะทำให้ระบบ ‘กฎหมายเป็นกฎหมาย’ กลับคืนมาสู่ประเทศไทย เพื่อที่ประเทศไทยและคนไทยจะได้พบกับถนนสายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่าง แท้จริง และสามารถนำพาประเทศและสันติภาพมาสู่ทั้งภูมิภาค จำต้องมีข้อกฎหมายที่ระบุชัดเจนว่าห้ามสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาก่าวก่า ยการตัดสินใจของศาลไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด
- ระบบตุลาการที่บิดเบี้ยวมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากการให้ท้ายของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่ไม่ได้ได้ร่างมาตามครรลองแห่งรัฐธรรมนูญ และเขียนขึ้นมาภายใต้กฎของคณะรัฐประหาร มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาที่ครอบคลุมถึงการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะต้องเอาออกไป เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ
การเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองอย่างทรงศักยภาพของคณะองคมนตรีมาโดยตลอด จะต้องมีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
- ปวงชนชาวไทยไม่ต้องการหน่วยทหารรักษาพระองค์ร่วม 60 กองพัน ที่มีทหารรักษาพระองค์กว่า 30,000 นาย เพื่อมาพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยืนยันว่าเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกร ชาวไทย
นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครองกล่าวว่า จากการที่กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินโครงการอาสาสมัครปกป้องสถาบัน ขณะนี้พบว่าประชาชนสนใจสมัครเป็นสมาชิกอาสาสมัครปกป้องสถาบันทั่วประเทศ จำนวนมาก โดยเริ่มต้นให้มีอำเภอละไม่น้อยกว่า 1,000 คน ขณะนี้เกิน 1,000 คนแล้ว และจะขยายไปจนถึง 1 แสนคน
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2553 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินโครงการ ‘อาสาสมัครปกป้องสถาบัน’ โดยจะระดมเยาวชนจากทุกอำเภอทั่วประเทศ อำเภอละ 1,000 คน ทั้งนี้ระบุว่า ประชาชนทุกคนต่างมีศูนย์รวมจิตใจคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อุดมการณ์ของอาสาสมัครปกป้องสถาบันคือ “ที่จะปกป้องสถาบันด้วยชีวิต การรักษาความสามัคคี รักษาความสมานฉันท์ รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ” ทั่วประเทศ
ในวันที่ 8 มิถุนายน อธิบดีกรมการปกครองได้กล่าวเปิดงานที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กับอาสาสมัครกลุ่มแรกที่มีทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านและข้าราชการท้องถิ่นจำนวน 2,000 คน และได้มีการมอบบัตรอาสาสมัครปกป้องสถาบัน (อสป.จชต.) ให้แก่ตัวแทนอาสาสมัครปกป้องสถาบันจังหวัด ชายแดนภาคใต้จำนวน ๓๓ อำเภอ และการกล่าวถวายราชสดุดี ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงว่าขณะนี้การสังหารแกนนำคนเสื้อแดงระดับท้องถิ่นได้เริ่มขึ้นแล้ว
- มันเป็นความป่วยไข้ที่ยากจะเยียวยา ที่ในทุกครั้งของการรวมตัวของชาวบ้านและคนงานเพื่อนำเสนอทางออกต่อปัญหาของ พวกเขาต่อข้าราชการที่รับผิดชอบ ปากของพวกเขาจะถูกปิดด้วยคำพูดของข้าราชการทั้งหลายว่า “ข้าพเจ้าเป็นข้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เราทำงานเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” คำพูดเหล่านี้จากปากข้าราชการถูก ใช้เป็นเครื่องมือในการกดหัวชาวบ้านไม่ให้สามารถพัฒนาและเติบโต ข้าราชการกินเงินเดือนภาษีจากประชาชน ควรจะทำหน้าที่บริการประชาชน ไม่ใช่เป็นข้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีข้ารับใช้มากจนเพียงพอแล้ว
การใช้คำพูดเหล่านี้ของข้าราชการทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติคือการป้องกันไม่ให้เกิดการอภิปราย ถกเถียงกันอย่างแท้จริงและจริงจังในการแก้ปัญหาเร่งด่วนของชาติ และคำพูดเหล่านี้ควรจะถูกออกคำสั่งห้ามใช้อีกต่อไป
องค์กรพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมักจะบ่นให้ฟังว่าถ้าจะทำ โครงการอนุรักษ์หรือโครงการพัฒนาถ้าไม่มีป้าย ‘โครงการเฉลิมพระเกียรติ’ หรือภายใต้การอุปภัมภ์ของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง โอกาสจะได้รับความร่วมมือจากข้าราชการนั้นยากมาก ไม่ต้องพูดถึงการเข้าถึงเงินทุนพัฒนาของรัฐ การทำงานพัฒนาที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสถาบันใด ไม่ว่าจะเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือเพื่อการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะถูกมองข้ามหรือไม่ได้รัความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือพยายามผลักให้กิจกรรมนั้นๆ ของชาวบ้านเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม หรือไม่ว่าชาวบ้านจะได้จัดการโครงการกันดีแค่ไหนก็ตาม
- สำนักงานที่ดูแลกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์ได้พัฒนากลไกที่ละเอียดอ่อนและ ประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่งในการรับเงินบริจาคเงิน ‘โดยเสต็จพระราชกุศล’ ทั้งจากบรรษัทห้างร้านต่างๆ และจากสาธารณชน การบริจาคเงินทุกชนิดให้กับพระบรมวงศานุวงศ์และการใช้เงินเหล่านั้นควรจะ ต้องทำให้เกิดความโปร่งใสและให้สาธารณชนตรวจสอบที่มาที่ไปของการใช้เงิน บริจาคเหล่านั้นได้
- ขนบธรรมเนียมของพระราชสำนักที่ละเมิดศักดิ์ศรีแห่งปัจเจกบุคคลและ ศักดิ์ศรีแห่งสังคมจำเป็นจะต้องมีการทบทวนเพื่อแก้ไขปรับปรุง และอาจจะต้องยกเลิกขนบธรรมเนียมส่วนใหญ่ที่ล้าสมัยออกไป อาทิ การที่พระบรมวงศานุวงศ์คาดหวังว่าเงินภาษีจากประชาชนควรจะถูกนำมาใช้ปิดกั้น ถนนเพื่อให้ขบวนรถยนต์พระที่นั่งสุดหรูหลายสิบคันขับผ่านไปไหนมาไหนโดยไม่ ติดขัด หรือว่าก่อนที่ผู้ชมจะได้ดูหนัง ‘Sex and the City2’ จะต้องยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนหนังฉาย หรือไม่ก็จะต้องยอมถูกกระทีบก่อน และเงินนับล้านบาทที่จะต้องใช้สร้างพระตำหนักชั่วคราวในช่วงที่ทรงเสด็จ เยี่ยมเยียนราษฎร หรือแม้แต่การจะเข้าพบในหลวงและราชินีจะต้องมอบคลานใต้เบื้องพระยุคลบาท และเปล่งภาษาแห่งยุคบุราณกาล ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม’
ในโลกยุคสมัยนี้ไม่มีใครในโลกนี้เป็นฝุ่นใต้ธุลีพระบาทของใคร แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงละทิ้งซึ่งยศฐาบรรดาศักดิ์และ พระราชวังเพื่อใช้ชีวิตสามัญชนที่เท่าเทียมกับมนุษย์ผู้อื่น
ทั้งหลายทั้งปวงที่เขียนมานี้คือเหตุผลที่ว่าทำไม่มันจึงยากมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับข้าพเจ้าที่จะ ‘รักในหลวง’
กระแส ‘ปกป้องสถาบัน’ อันเชี่ยวกรากในปัจจุบัน ด้วยข้ออ้างความชอบธรรมในการจัดตั้งว่า ‘ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ จะนำเราเข้าสู่สงครามกลางเมืองไม่ใช่สันติภาพ จะต้องรออีกนานแค่ไหนที่สถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันที่แวดล้อมทั้งหลาย จะตระหนักว่าจะต้องทำใจยอมรับและสนับสนุนข้อเรียกร้องของปวงชนชาวไทย เพ่ือให้ประชาชนทุกคนในสังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ได้รับความเป็นธรรมภายใต้ระบบประชาธิปไตย และจัดระบบการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม พร้อมทั้งเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานแห่งการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสิทธิใน การเจรจาต่อรองร่วม
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
24 มิถุนายน 2553
อธิบายเพิ่มเติม “ยุคสมัยกลาง”
คำนี้เป็นคำที่เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้บรรยายถึ “ยุคกลาง”
ยุคกลางมักจะเป็นการอ้างถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุโรปนับตั้งแต่ค ริสตวรรษที่ 5 – 15 กล่าวอย่างรวบรัดคืออยู่ช่วงปลายยุคโบราณกับภาคแรกของการรวมตัวเป็นชาติ
ยุคกลางของยุโรปถ้าเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คงจะ อยู่ในที่ราชวงค์มองโกลถอนกำลังออกจากภูมิภาคโดยเฉพาะพม่าและเขมร และการเริ่มแนวคิดการรวมตัวเป็นชนชาติไท ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ายุคกลางของภูมิภาคนี้อาจจะอยู่ในช่วงปลายคริสตวรรษที่ 13 จนถึงคริสตวรรษที่ 18
ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกหรือตะวันตก ยุคกลางเป็นยุคของการแข่งขันและสู้รบระหว่างกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งในช่วงนั้นคือการแย่งชิงกำลังแรงงาน โดยไม่นานผู้นำที่หลักแหลมก็จะตระหนักได้ว่าอำนาจที่ยิ่งใหญ่จะต้องมาพร้อม กับศักยภาพในการควบคุมกำลังแรงงานจำนวนมหาศาลให้ได้ ซึ่งจะต้องสร้างให้เกิดศูนย์รวมของความรู้สึกร่วมแห่งความเป็นสถาบัน (รวมทั้งการสะสมกำลังทหาร) หมายถึงการต้องจัดโครงสร้างลำดับชั้นการปกครอง ‘ไพร่-นาย’ ในสังคม (หรือที่เรียกว่าไพร่-อำมาตย์้)
นี่จึงเกิดยุคทองแห่งกรุงศรีอยุธยาในคริสตวรรษที่ 14
ทั้งตะวันตกและตะวันออก มีความสอดคล้องกันของยุคกลางในเรื่องการทำสงครามตีเมืองขึ้นระหว่างกันและ กัน อย่างไม่รู้จักหยุดรู้จักหย่อน จนไปถึงการเริ่มปักหมุดแห่งการสร้างความเป็นชาติ นั่นก็หมายว่า ชาวบ้านที่ไม่ต้องการตายในสนามรบภายใต้ธงรบของกษัตริย์พระองค์นี้หรือ กษัตริย์พระองค์นั้นจำต้องหลีกหนีเข้าป่า และผู้ที่ขยายอำนาจได้กว้างใหญ่ไพศาลก็จะได้รับสมญานามว่า ‘มหาราชหรือมหาจักรพรรดิ์’
ในคริสตวรรษที่ 13 นี้ในยุคโรป นักเทววิทยาชื่อว่าเซนต์โทมัส อควีนาส ได้พยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าความมั่งคั่งตามวิถีธรรมชาติไม่ใช่ว่าไม่มีคำ ว่าถึงจุด ‘อิ่มตัว’ เพราะว่าเมื่อพัฒนาการมาถึงจุดหนึ่งแล้วธรรมชาติก็จะรู้สึกยินดีกับสิ่งที่ มีและก็ไม่ต้องการอะไรอีก แต่การกระหายในความมั่งคั่งที่ไม่เป็นไปตามวิถีธรรมชาติจะทำให้ผู้คนตกเป็น ทาสแห่งแรงปรารถนา และมีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
จากตรรกะแห่งความรู้จักประมาณตนนี้ มันไม่ยากจนเกินกว่าจะทำความเข้าใจว่่าการดิ้นรนไขว่คว้าเพื่อจะได้ครอบครอง และความปราถนาซึ่งตัวเลขของผลกำไรอย่างไม่รู้จักพอ ไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ มีแต่จะนำไปสู่ความยากแค้นมากขึ้นเรื่อยๆ และในไม่ช้าไม่นาน อำนาจนั้นก็จะต้องถูกโค่น
และอะไรคือความพอเพียง? การตายของไพร่ 88 ศพ พอเพียงที่จะให้ชาวไพร่ยอมจำนน?
อควีนาสบอกว่ามันไม่มีวิถีธรรมชาติที่จะทำให้มนุษย์รู้จักกับคำว่า ‘กำไรพอเพียง’ นี่คือสาส์นของเขาเมื่อ 700 ปีที่ผ่านมา ที่ฝากมาให้พวกเราตระหนักถึงคำว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน ยังมีปรัชญาคำสอนอันชาญฉลาดมากมายที่นักคิดนักปรัชญาในอดีตฝากมาบอกพวกเราคน รุ่นหลัง แต่กระนั้นก็ตามความกระหายที่จะครอบครองความมั่งคั่งอย่างไม่รู้จักอิ่ม ทำให้มนุษย์ตกเป็นทาสแห่งแรงปรารถนาอย่างไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้กระทั่งคนในกรุงเทพ
เรามีเพียงประวัติศาสตร์ที่จะสอนเรา
เรามีโรงละครในแต่ละชุมชนที่จะช่วยสะท้อนให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาด แต่มันก็ทำไม่ได้เพราะว่าชาวบ้นปราศจากซึ่งเสรีภาพในการรวมตัวและไร้เสรีภาพ ที่จะพูดความรู้สึกที่แท้จริง
องค์ความรู้จากประวัติศาสตร์จำเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้สำหรับประเทศไทย ทำไม? เพราะว่ามันจะช่วยให้สามัญสำนึกของเราแหลมคม เพื่อที่เราจะได้ตระหนักได้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ที่กำลังผลักพวกเราให้เดิน ถอยหลังในยามที่พวกเรารู้ดีว่าจำเป็นจะต้องเดินไปข้างหน้า – หรือไม่ก็ต้องยอมถูกจองจำไว้กับอดีตไปจนตาย