ทำไมข้าพเจ้าจึงปฏิเสธการรัฐประหาร ไม่ว่าจะอ้างว่ากระทำในนามใดก็ตาม?

ทำไมข้าพเจ้าจึงปฏิเสธการรัฐประหาร ไม่ว่าจะอ้างว่ากระทำในนามใดก็ตาม?

จรรยา ยิ้มประเสริฐ

กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย

 

บทความช้ินนี้เขียนขึ้นหลังจากการประกาศคณะรัฐบาลแต่งตั้งของรัฐบาลองคมนตรีพลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ ในเดือนตุลาคม 2549 ข้าพเจ้าเห็นว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการ และในสภาวะการอึมครึมของกระแสปฏิวัติที่ฮึ่มๆ กันอยู่ตอนนี้  จึงขอนำมาข้อเขียนนี้มาเผยแพร่อีกครั้งเพื่อย้ำเตือนสังคมไทยว่า ทำไมพวกเราต้องปฏิเสธการทำรัฐประหารในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งปฎิเสธรัฐบาลพระราชทานและรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร และร่วมกันประกาศหนักแน่นว่าไม่เอารัฐประหาร ไม่ว่าจะอ้างว่ากระทำในนามใดก็ตาม

สิ่ง ที่ประเทศไทยต้องการมากที่สุดในยามนี้ คือการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยประชาชน ทั้งนี้ทหารที่รักประชาธิปไตยต้องช่วยประชาชน เพื่อให้การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยสำเร็จได้เสียทีหลังจากความพยายาม มากว่า 100 ปี นับตั้งแต่การลุกขึ้นสู้ของกลุ่มทหารหนุ่มใน ร.ศ. 130 โดยทำหน้าที่ควบคุมกองกำลังรักษาพระองค์  และกองกำลังที่เคยออกมาสังหารประชาชน ไม่ให้ออกมาใช้กำลังสังหารประชาชนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตยได้อีก และให้ประชาชนให้พลังของประชาชนนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทยให้สำเร็จให้จงได้

ย้ำอีกครั้งว่า “ทหารห้ามยุ่งการเมือง” และ “ขอยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เราไม่ยอมรับการปฏิวัติ ยึดอำนาจโทยทหาร”

—————-

ชื่อบทความเดิม “สรุปที่มาและอายุของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งทั้ง 26 คน เปรียบเทียบกับสถิติประชากรในประเทศ ” เผยแพร่ 2 พฤศจิกายน 2549

——————

ลองจับตัวเลขคณะรัฐมนตรีจากการแต่งตั้งมาแยกหมวดหมู่ และเทียบสัดส่วนกับประชากรทั้งประเทศดู การจัดทำการศึกษาเปรียบเทียบนี้ กระทำเพื่อเสริมสร้างความรู้ และเพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย “แบบไทย” ที่คณะมนตรีเพื่อความมั่นคงแห่งชาติได้พยายามประกาศอ้าง ทั้งนี้ไม่ได้ทำการเปรียบเทียบตัวเลขและสัดส่วนของผู้ได้รับแต่งตั้งให้อยุ่ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 242 คน

ซึ่งถ้าผู้ใดสนใจทำการศึกษาตัวเลขเหล่านั้นออกมาก็จะเป็นคุณูปการ ต่อการทำความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของข้าพเจ้าได้มากขึ้น

ถ้าการจัดหมวดหมู่มีความผิดพลาด หรือจัดหมวดหมู่ผิดไปบ้าง เพราะบางครั้งนั้นแยกไม่ออกระหว่างข้าราชการเกษียณอายุ ที่เป็นทั้งข้าราชการ และชนชั้นสูงและ/หรือเป็นนักธุรกิจด้วยในขณะเดียวกัน หรือทหารที่เป็นชนชั้นสูงและ/หรือนักธุรกิจด้วย ขอเชิญท้วงติง และนำเสนอมาได้ ยินดีน้อมรับ

ชนชั้นสูง/ทหาร  = 8% (ไม่รวมนายกรัฐมนตรี)

  1. พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, 65 ปี
  2. พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, 66 ปี

ชนชั้นสูง/ข้าราชการเกษียณ = 81%

  1. หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, 59 ปี
  2. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, 60 ปี
  3. นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, 65 ปี
  4. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์, 65 ปี
  5. นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, 51 ปี
  6. นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, 65 ปี
  7. นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, 64 ปี
  8. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, 58 ปี
  9. นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 78 ปี
  10. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ไม่ทราบ
  11. นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, 63 ปี
  12. ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 65 ป
  13. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตประธานกรรมการ, 53 ปี
  14. นายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, 71 ปี
  15. นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, 62 ปี
  16. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, 60 ปี
  17. นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, 63 ปี
  18. คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, 69 ปี
  19. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีม 62 ปี
  20. นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, 72 ปี
  21. นายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, 65 ปี

นักธุรกิจ = 11%

  1. นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, 63 ปี
  2. นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา, 64 ปี
  3. นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อายุ 57 ปี

จึงขอสรุปสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ดังนี้

  • ข้าราชการ 2.65 ล้านคน
    • แยกเป็นโดยประมาณสัดส่วนทหาร                                                 = 8%
    • สัดส่วนข้าราชการ                                                                            =  81%
    • อยู่ ในคณะรัฐบาลนี้  คิดเป็นสัดส่วนร่วมกันทั้งสิ้น                                    =  89%
  • นักธุรกิจ/ชนชั้นสูง  คิดเป็นสัดส่วน                                                                              = 11% (สถานประกอบการจดทะเบียน 200,000 แห่ง ประมาณคนไม่เกิน 400,000คน)
  • เกษตรกร 14 ล้านคน ของประชากร  มีตัวแทนในคณะรัฐบาล                                        = 0%
  • คนงานในภาคการผลิต 5.3 ล้านคน (ตัวเลขจากกระทรวงอุตสาหกรรม)                      = 0%
  • คนงานในภาคบริการ 4 ล้านคน (คำนวณจากประกันสังคม)                                         = 0%
  • ผู้มีงานทำแต่ยังขาดหลักประกันในการดำเนินชีวิต 22-23 ล้านคน                               = 0%
  • คนจน (ที่จดทะเบียน) 8 ล้านคน                                                                                      = 0%
  • นักเรียน นักศึกษาประมาณ 15 ล้าน คน                                                                          = 0%

ต้องขอโทษด้วยที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบ และเขียนในเวลาจำกัด แต่ต้องการจะสื่อสารกับคนไทยทุกคนว่าถ้าผู้ที่อยู่ในส่วนระบบตัวแทนในคณะรัฐบาลที่ต้องทำหน้าที่บริหารประเทศไม่ได้มาจากทุกภาคส่วนของประชาชนอย่างเท่าเทียม ปัญหาที่คนในทุกภาคส่วนจะรู้ดีที่สุด จะสามารถได้รับการนำเสนอ และผลักดันนโยบายเพื่อประชาชนในกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างไร โดยเฉพาะเป็นกลุ่มคนที่ต้องการการดูแลสวัสดิการ หลักประกัน และการหนุนช่วยมากที่สุด

จึงได้นำเสนอตัวเลขเปรียบเทียบออกมา ซึ่งเรื่องตัวแทนตามสัดส่วนกลุ่มอายุนี้ก็เป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องพูดกัน เพราะ ครม จัดตั้งครั้งนี้อยู่ในกลุ่มอายุ “เกษียณ” กว่า 90% ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่ควรพักผ่อน ในขณะกลุ่มอายุที่ถือว่าในวัยกำลังทำงาน และในวัยสร้างสรรค์ต่างๆ ตั้งแต่อายุ 20-50 ปี ไม่มีตัวแทนอยู่ใน ครม. เลยเช่นกัน

ก็อยากจะเชิญชวนทุกท่านลองคิดเชิงเปรียบเทียบ ลองเอาสถิติต่างๆ มาเปรียบเทียบเพื่อหาค่าความเป็นธรรมในสังคม ก็จะเป็นอะไรที่น่าสนุกที่จะลองตั้งคำถาม และคำนวณดู และก็อาจจะได้สถิติที่น่าตกใจอีกหลายด้านใน “ประชาธิปไตยแบบไทย” แต่ใช้ชีวิตใน “วิถีชีวิตการค้าโลกเสรี” อย่างที่เป็นอยู่

ข้อมูลสถิติสวัสดิการสังคมในประเทศไทยปี 2546 (ค้นได้เพียงปีนี้)

เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานสวัสดิการสังคม โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
(สรุป จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแห่งชาติ)

การศึกษา

อัตราผู้อ่านออกเขียนได้ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 92 ของประชากรทั้งหมด สถานศึกษามีจำนวน 50,908 แห่ง กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

มีเงินทุนให้กู้ยืมไปแล้ว จำนวน 197,229.06 ล้านบาท มีนักศึกษาทำเรื่องกู้ยืมจำนวน 918,966 ราย

สุขภาพอนามัย

  • โรงพยาบาลของรัฐ 887 แห่ง
  • โรงพยาลเอกชน 424 แห่ง

ที่อยู่อาศัย

การดำเนินโครงการบ้านมั่นคง โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป้าหมายจำนวน 601,727 หน่วย ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 2,529 หน่วย

การประกอบอาชีพ

แรงงาน ข้อมูลการสำรวจแรงงานของประเทศไทยปี 2546

  • ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 48.38 ล้านคน
  • กำลังแรงงาน 35.31 ล้านคน มีงานทำ 34.67 ล้านคน ว่างงาน 0.92 ล้านคน
  • ภาคเกษตรกรร้อยละ 40 นอกภาคเกษตร 60

ในจำนวนนี้ผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง จากหลักประกันทางสังคม ประมาณ ร้อยละ 30 หรือประมาณ 10 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ดังนี้

  • ลูกจ้างเอกชนได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ประกันสังคม 7.35 ล้านคน จากหลักประกันทางสังคม คิดเป็นสัดส่วน 73.5%
  • ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐบาล 2.65 ล้านคน   คิดเป็นสัดส่วน 26.5%
  • ครูโรงเรียนเอกชน 0.12 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 1.2 %
  • ผู้มีงานทำแต่ยังขาดหลักประกันในการดำเนินชีวิต 22-23 ล้านคน
ข้อมูลด้านการค้า

ประเทศไทยส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเป็นสินค้าออกที่มีมูลค่าสูงสุด

สถิติข้อมูลของประชาชนผู้ประสบปัญหาทางสังคมและความยากจน

  • มีผู้จดทะเบียนทั้งสิ้น 8,138,081 ปัญหา
  • จำนวนปัญหาทั้งสิ้น 11,997,081 ปัญหา

ปัญหามากที่สุด 3 ลำดับแรก

  • ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน 4,513,943 ปัญหา
  • ปัญหาที่ทำกิน 3,881,863 ปัญหา
  • ปัญหาที่อยู่อาศัย 1,908,834 ปัญหา สถิติคนเร่ร่อนที่ขอจดทะเบียน มีจำนวน 5,036 คน

สถิติอื่นๆ

มูลนิธิ จำนวน 9,209 แห่ง สมาคม จำนน 9,816 แห่ง องค์การสวัสดิการสังคมภาคเอกชน จำนวน 7,400 องค์กร อาสาสมัคร 9.7 ล้านคน

ที่มา http://www.m-society.go.th/social/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=20