“ยุคมืดของสยามกับการบูชาเทพีแห่งรัฐธรรมนูญ” ปราชญ์ สามสี ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
และนี่คือประวัติศาสตร์ของ คณะราษฎร ที่ทำให้ “รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจและเป็นที่กราบไหว้ได้ดั่งเทวดา”
—————-
นานๆทีจะได้มีเวลาว่างที่จะลงมาเขียนบทความยาวอีกครั้ง วันนี้ก็เลยขอกลับมาพูดถึงประวัติศาสตร์ช่วงที่”หายไป” จากการศึกษา หรือสมควรเรียกว่า “ไม่ถูกกล่าวถึง” น่าจะถูกต้องกว่า
เพราะตั้งแต่การปฎิวัติการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยก็เข้าสู่ระบอบการปกครองโดยประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขมาโดยตลอด แต่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือที่บางคนเรียกว่า”ปฎิวัติสยามพ.ศ.2475″ จนถึงการปกครองระบอบ”คณาธิปไตย”ภายใต้คณะราษฎร กลับไม่ถูกพูดถึงนัก (หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า“คณาธิปไตย” คืออะไร )
*** คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็น การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม ที่ประกอบด้วยคนกลุ่มเดียว (ไม่ใช่ระบบเผด็จการโดยคน ๆ เดียว) คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองถูกผูกขาดโดยคนกลุ่มเดียว เช่น คณะปฏิวัติ เป็นต้น***
ซึ่งนักวิชาการในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่ม “ลัทธิตาสว่าง”ผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่ม”นิติราษฎร” และแนวร่วม “ครก.112” มักกล่าวแต่เพียงการได้มาซึ่งอำนาจของคณะราษฎร และชัยชนะต่อขบวนการของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช แต่กลับไม่ค่อยกล่าวถึง นโยบาย “แปลกๆ”และ”จุดจบ”ของคณะราษฎร เสียเท่าไร นั่นก็อาจจะเป็นเพราะ “เหยี่ยวที่ใข่ออกลูกเป็นกา” กลายเป็นความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ที่ยากจะลบเลือนไปนั้นเอง วันนี้ ผมจึงขอกลับมาเล่าสิ่งนี้ให้ผู้คนกลับมาสนใจกันครับ
……………….
จาก วาทะกรรมทางการเมืองในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะ”กลุ่มคนที่นิยมคณะราษฏร” มักพูดว่า “ดอกไม้ประชาธิปไตยไม่งอกออกจากกระบอกปืน” ดูเหมือนจะเป็นวาทะกรรมที่น่าสนใจและมีลักษณะย้อนแย้งกับประวัติศาสตร์เช่นกัน เพราะในทางกลับกันเราจะเห็นว่าถนนแห่งประชาธิปไตยเต็มไปด้วยการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจไม่น้อย ในประวัติศาสตร์ไทยก็เช่นกัน ในช่วงของการปฎิวัติ พ.ศ.2475 การกระทำของคณะราษฎรซึ่งแย่งชิงอำนาจการปกครองสูงสุดไปจากสถาบันเบื้องสูงก็เช่นกัน …
เพราะวันนั้น สิ่งที่คณะราษฏรกระทำก็เต็มไปด้วย”ปืน,รถถังและการข่มขู่ด้วยสื่อ”
หากจำได้นั้น ในเช้าตรู่ วันที่ 24 มิถนายน 2475 ประชาชน จะพบกับ ใบปลิวที่ถูกแจก และ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่ระบุว่า
“..ด้วยบัดนี้ คณะราษฎร ได้จับพระบรมวงษานุวงษ์ ไว้เปนประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณะราษฎร ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงษานุวงษ์จะต้องถูกทำร้าย..”
และ การประกาศแถลงค์การฉบับที่๑ ที่ปลุกปั่นโจมตีสถาบันฯ และแย่งชิงอำนาจมาจากสถาบันเบื้องสูง โดยอ้างว่าตนคือผู้นำของประชาชนในเวลานั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น ถือเป็นการข่มขู่ ประชาชนเป็นอย่างยิ่งยวด จึงทำให้ประชาชนทั้งมวลชาติ ต่างไม่มีใครกล้าขยับเขยื่อน จนกระทั้งคณะราษฎรได้กลายเป็นคณะรัฐบาลและฝ่ายค้านในเวลาเดียวกัน และได้ร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนแม้แต่ข้อห่วงใยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่7ในเวลานั้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่7 ทรงเห็นว่ารัฐบาลไทยในสมัยนั้นมิได้ปฏิบัติถูกต้องตามทำนองคลองธรรมประชาธิปไตย อาศัยแต่พระราชกฤดาภินิหารเป็นเครื่องกำบังหน้าบริหารราชการประเทศ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเท่านั้น จึงทรงสละราชสมบัติเสียดีกว่า ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ทรงไว้ว่า
“ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯลฯ”
เป็นผลให้ บ้านเมืองในยุคนั้นเข้าสู่ยุคซึ่งเผด็จการอย่างเบ็ตเสร็จโดยคณะราษฎร และการบริหารราชการแผ่นดินในเวลานั้นก็เต็มไปด้วยการโจมตี เสียดสี และไม่ให้เกียรติ สถาบันฯและมีการ”ทำลาย” หรือ”สูญหาย” ของ วัฒนธรรมและองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไปอย่างน่าฉงน เช่น การสูญหายของทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทองคำแท้ ที่ห่อหุ้มพระต้นรูป ใน”ปราสาทพระเทพบิดร”อันเป็นศูนย์กลางความรู้ความศรัทธาในองค์มหาบูรพกษัตริย์ ซึ่งหายไปในภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 สละราชสมบัติ และความเสือมโทรมของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( the Royal museum)อันเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่รัชกาลที่5ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับชาติ จนบางส่วนถูกทำลายไป เช่น ส่วนของ พิพิธภัณฑ์สัตว์ เป็นต้น ระบุโดย หมอบุญส่ง เลขะกุล นักสัตววิทยาและนักพจญไพร ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ ธรรมชาตินานาสัตว์ เล่ม 2 หน้า 71 ว่า
” พิพิธภัณฑ์สัตว์ที่วังหน้าย้ายไปที่ห้องกระจกในสวนสราญรมย์ ต่อมาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทหารต้องการใช้พื้นที่ สัตว์ทั้งหลายเลยถูกโยนจากห้องบริจาคกระจัดกระจายให้โรงเรียน โดยที่โรงเรียนก็ไม่พร้อม เลยกระจายหายไปหมด”
ทั้งนี้ มีนักวิชาการบางฝ่าย เคยกล่าวว่า หนึ่งในสัตว์สต๊าฟนั้น คือ สิงโตที่คณะทูตฝรั่งเศสได้นำมาถวายรัชกาลที่ 4 ครั้นสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งสิงโตตัวเดียวกันนี้เคย ถูกประดับอยู่บริเวณทางขึ้นเขาไกรลาศ ในงานโสกันต์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์(ร.5) พ.ศ. 2409 อีกด้วย
อีกทั้งนโยบาย คณะราษฎร ที่มีเจตนา ปฎิวัติประวัติศาสตร์การปกครองของไทย และ”สร้างลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” ขึ้น ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่นานซึ่ง ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเทวนิยม เพื่อให้รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรที่ร่างไว้แต่งเพียงฝ่ายเดียวนั้น ดูเป็นสิ่งที่มาจากสวรรต์และทรงพลังเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ เช่น มีขบวนแห่ พานรัฐธรรมนูญ ในวันชาติ 24 มิถุนายน ,มีการสร้างสัญลักษณ์ เช่น การสร้างประติมากรรมนางงามรัฐธรรมนูญ หรือ เทพีรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีลักษณ์เป็น ผู้หญิงแต่งกายคล้ายเทพธิดาชูพานรัฐธรรมนูญขึ้นเหนือหัว ซึ่งผลงานดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากภาพที่ชนะเลิศการประกวด ศีลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นต้นแบบในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
(***เอาจริงๆ เมื่อเห็น ภาพเทพีรัฐธรรมนูญ แล้วทำให้นึกถึง Cult to Reason (เทพีแห่งเหตุผล)ของฝรั่งเศส ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส และ Liberty Enlightening the World (เทพีเสรีภาพ)ของฝรั่งเศสที่มอบไว้ให้สหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง***)
,มีการจัดประกวด”นางสาวสยาม” ซึ่งจัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ, มีการจำลองรัฐธรรมนูญอันเชิญในโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ผู้คนสักการะบูชากราบไหว้ ดั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยดอกไม้ธูปเทียน และจัดเป็นพิธีการทางศาสนากลางท้องสนามหลวง และอันเชิญรัฐธรรมนูญฉบับจำลองไปอยู่ในศาลาจังหวัดทุกจังหวัดเพื่อเผยแพร่ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ เพื่อให้เห็นว่า ราษฏรควรปลืมปิติที่ได้รัฐธรรมนูญแทนเจ้า และด้วยอานิสงส์ของการสร้างภาพลักษณ์ ให้รัฐธรรมนูญมีความขลังค์ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีใครสนข้อกฎหมายภายในรัฐธรรมนูญฉบับแรก จึงทำให้ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจสูงสุดของคณะราษฏรตามรัฐธรรมนูญจึงถูกทำให้เชื่อว่ามีอำนาจดั่งเทวดาอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้ ทำให้ประชาชนหลายฝ่าย มองเห็นแนวคิดของคณะราษฏรในยุคนั้นว่ามีลักษณะพยายามเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในทางการปกครองและในทางศาสนา มีอำนาจดังเทวดา
อย่างไรก็ตาม ก็มีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการบริหารราชการ อย่าง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช จึงได้ก่อนการปฏิวัติขึ้นอีกครั้งจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง โดยยื่นเงื่อนใขว่า
ให้รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อำนาจรัฐสภามากขึ้นและจำกัดอำนาจของรัฐบาลมิให้กลายเป็นคณะเผด็จการ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของพระองค์เจ้าบวรเดชในครั้งนั้นถูกมองจากฝ่ายนิยมคณะราษฎรว่าเป็นความพยายามในการฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
แต่ที่ท้ายที่สุดก็ได้พ่ายแพ้ต่อคณะราษฎรไปเพราะความสูญเสียทางยุทธการ แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของคณะราษฎรนั้นก็สูญเสียความไว้วางใจลงมากเนื่องจากความขัดแย้งกันเองระหว่างสมาชิกคณะราษฎรด้วยกันเอง โดยเฉพาะ จอมพล ป.พิบูลสงคราม กับ นายปรีดี พนมยงค์ บวกกับเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองเนื่องจากสงครามโลกจนทำให้ความศรัทธาของคณะราษฎรเกิดความเสื่อมอย่างที่สุด คณะราษฎรจึงมีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์กลับมาเป็นส่วนนึงของการบริหารประเทศอีกครั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญเพื่อค้ำยันความมั่นคง และความศรัทธาที่มีต่อคณะราษฎรที่เปรียบเสมือนผู้สำเร็จราชการแทน สถาบันเบื้องสูงในเวลานั้น...
—–
ซึ่งหากย้อนรอยแนวทางการ ปฎิวัติของคณะราษฏร ใน ช่วงต้น ของ พ.ศ.2475-2477 เราคงจะปฏิเสธไมได้เลยว่า อาจได้รับแรงบรรดาลใจจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1789 (พ.ศ.2332)อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะภายหลังการที่ฝ่าย ปฏิวัติฝรั่งเศส ได้รับชัยชนะภายหลังโค่นล้มราชวง บูร์บง ด้วยการประหารโดยกิโยติน ได้สำเร็จ และ นำพาประเทศฝรั่งเศสสู่การปกครอง แบบสาธารณรัฐ โดยมีการสร้างลัทธิแบบเทวานิยม เพื่อสร้างอำนาจศักดิสิทธิ์ให้กับผู้นำการปฏิวัติ
แต่จะมีใครซะกี่คนในเวลานั้น รู้ว่า การปฎิวัติฝรั่งเศสครั้งนั้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะดูเหมือนว่าจะมันจะนำพาเข้าสู่ประวัติศาสตร์ที่คนฝรั่งเศสไม่อยากจดจำนั้นคือยุค”แห่งความสับสน”ที่มีระยะเวลาเพียงสั้นๆ ( Reign of Terror) ภายใต้การนำของ โรแบสปิแยร์ ( Maximilien Robespierre)อดีตหนึ่งในนำการปฏิวัติระบอบบการปกครองสู่สาธารณรัฐและได้ผลักดันตัวเองขึ้นสู่อำนาจ เขาเป็นผู้ซึ่งหลงใหลในอำนาจและได้สร้างลัทธิ นับถือ ลัทธิแห่งสิ่งสูงสุด- (Cult of the Supreme Being) ซึ่งถูกพัฒนามาจาก แนวคิดลัทธิแห่งเหตุผล (Cult to Reason) ซึ่งถูกสร้างขึ้นและแพร่หลายในหมูกลุ่มนักปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อพลักดันให้ตนเองมีอำนาจสูงสุดในการปกครองแบบคณาธิปไตยและทางธรรมแบบเผด็จการเบ็ตเสร็จและผู้ใดที่มี ท่าทีขัดต่ออำนาจของเขาก็จะถูกสังประหาร โดยทันที
————————–————————–—
อะไรคือ ยุคแห่งความสับสน” ( Reign of Terror) ,
“เทพีแห่งเหตุผล” (Cult of Reason) และ “ลัทธิบูชาสิ่งสูงสุด” (Cult of the Supreme Being) ‘?
หาก ได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ขั้นต้นของฝรั่งเศส ก็จะพบว่า ในช่วง ในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง รอแบ็สปีแยร์ประกาศความน่าสะพรึงกลัว (Terror) เพื่อสร้างความโหดเหี้ยมให้ฝรั่งเศส และประกาศ Law of Suspects นักโทษการเมืองไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และตั้งศาลปฏิวัติ (Revolutionary Tribunal) ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน ทั้งพระนางมารี อังตัวเนต พระราชวงศ์ พวกเฟยยองต์ พวกฌีรงแด็ง กษัตริย์นิยม และประชาชน ต่างต้องสังเวยเครื่องกิโยติน
เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด
รอแบ็สปีแยร์ยังให้เลิกนับถือคริสต์ศาสนา เลิกใช้คริสต์ศักราช แต่ใช้ศักราชปฏิวัติ นับปี ค.ศ. 1793 เป็นปีที่ 1 และมีการตั้งศาสนาใหม่ คือ ลัทธิแห่งเหตุผล (Cult to Reason) นับถือเทพธิดาชื่อเหตุผลนั้นเอง
เนื้อในของลัทธิระบุว่าพวกเขาเป็นมากกว่าการปฏิเสธพระเจ้าในศาสนาเดิม เพราะได้มีการทำพิธีบูชาด้วยการถือ “เหตุผล” เสมือนเทพเจ้า โมโมโร (Momoro) หนึ่งในคณะผู้นำของลัทธินี้ย้ำว่า “เรื่องหนึ่งที่เราต้องไม่เหน็ดเหนื่อยที่จะบอกประชาชนคือ เสรีภาพ เหตุผล ความจริงนั้น เป็นเพียงสิ่งนามธรรม มันไม่ใช่พระเจ้า กล่าวให้ถูกต้องคือ มันคือส่วนหนึ่งของเรา”
ฝ่ายหัวรุนแรงในหมู่นักปฏิวัติได้ปาวารนาตนเป็นสาวกของลัทธิเหตุผลด้วย พวกเขาจัดการชุมนุม มีขบวนพาเหรด และบุกเข้าทำลายโบสถ์ และทำลายรูปบูชาทางศาสนาต่างๆ หนึ่งในผู้นำลัทธิได้ทำการรณรงค์เกี่ยวกับการทำลายล้างศาสนาคริสต์ไปทั่ว ฝรั่งเศส สั่งให้ย้ายไม้กางเขนและรูปปั้นออกจากสุสานในเขตอำนาจของเขา และสั่งว่า หน้าประตูสุสานทุกแห่งต้องมีเพียงป้ายสลักว่า “ความตายคือการนอนหลับชั่วนิรันดร์” เท่านั้น
วันที่ 10 พฤศจิกายน 1793 นักปฏิวัติได้ร่วมก้นจัด “เทศกาลแห่งเหตุผล” ขึ้น วิหารโน้ตเตรอะดามในปารีสถูกเปลี่ยนเป็น วิหารแห่งเหตุผล แท่นบูชาเดิมถูกแทนที่ด้วยแท่นบูชาแห่งเหตุผล ให้บูชาเทพีแห่งเหตุผล และ เนื่องจากไม่ต้องการเคารพรูป่บูชา พวกเขาใช้คนจริงแสดงเป็นเทพี ซึ่งก็คือโซฟี โมโมโร ภรรยาของอองตวน-ฟรองซัว โมโมโร หนึ่งในผู้นำลัทธิ แต่การกระทำเหล่านี้ ทำให้คนจำนวนมากรับไม่ได้ แม้แต่ในคณะปฏิวัติด้วยกัน เช่น มักซีมีเลียง โรแบสปิแยร์ (Maximilien Rebespierre) นักปฏิวัติสายฌาโกแบง ได้แตกหักกับกลุ่มของเอแบร์ต์
พอถึงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1794 ลัทธิแห่งเหตุผลก็ถูกปฏิเสธอย่างเป็นทางการจากโรแบสปิแยร์ ซึ่งเป็นผู้ที่เกือบจะเผด็จอำนาจโดยสมบูรณ์ของรัฐบาลปฏิวัติ โดยโรแบสปิแยร์ได้ประกาศสถาปนาศาสนาเพื่อสาธารณรัฐใหม่ นั่นคือ Cult of the Supreme Being – ในภาษาฝรั่งเศสคือ Culte de l’Être suprême – กูลตฺ เดอ แล็ตเตรอะ ซูแปรม คือ “ลัทธิแห่งสิ่งสูงสุด” ซึ่งประกาศให้เป็นศาสนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1794
โรแบสปิแยร์เองเป็น ผู้ที่มีแนวคิดเชื่อในพระเจ้า(เทวะนิยม) เขาจึงเชื่อว่า เหตุผลเป็นเพียงวิธีการไปสู่เป้าหมาย และเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวคือคุณธรรม เขาแสวงหาหนทางที่จะไปให้ไกลกว่าลัทธิเทวะนิยมธรรมดา
“ลัทธิแห่งสิ่งสูงสูด” นั้น เชื่อในการดำรงอยู่ของพระเจ้า และในความเป็นอมตะแห่งวิญญาณมนุษย์ เขา กล่าวว่า “ความเชื่อดังกล่าวนี้จะทำให้เราระลึกถึงความเป็นธรรมอยู่เสมอ และจึงเป็นแก่นของสังคมสาธารณรัฐ ลัทธินี้ถือว่าสิ่งสร้างที่สูงสุดของ “สิ่งสูงสุด” คือมนุษย์ และเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือ ยอมให้มนุษย์ลุไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง โดยผ่านเสรีภาพและประชาธิปไตย
แต่ลัทธินี้ก็ดับไปพร้อมกับการหมดอำนาจของโรแบสปิแยร์ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1794 นั่นเอง – เขาถูกตัดคอด้วยกิโยตินในวันที่ 28 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1794 หลังพบว่า มีส่วนในการใส่ร้าย ราชวง บูร์บง จนทำให้พระเจ้าหลุยที่ 16 สวรรคตด้วยกิโยตินในการปฏิวัติก่อนหน้านี้จึงทำให้ ประเทศฝรั่งเศสกลับมาเป็นระบบกษัตริย์อีกครั้งโดยการนำของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ในเวลาต่อมา
****************************************
สุดท้ายสิ่งที่เราเห็นได้จากการเอาช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่มาเทียบเคียงกัน ก็คือการหยิบยืมแนวคิดของกลุ่มคณะราษฎรในอดีตและ แนวทางการเดินหมากของกลุ่มนิติราษฎรในปัจจุบันที่ มีการชักชวน สนับสนุนให้นับถือ นักวิชาการบางคนเป็นศาสดา มักอ้างแนวทางปฎิวัติฝรั่งเศสโมเดล และ
แนวทางของคณะราษฎร นั้นมีจุดแข็งจุดอ่อนและความสอดคล้องคล้ายคลึงกัน งานนี้ประชาชนคนไทยควรจะตระหนักและเท่าทัน นักปฎิวัติเหล่านี้และทฤษฎีการก่อเหตุที่ยึดโยงอดีตไว้ด้วยนะครับ
————————–————————–
อัพเดท
เห็นว่ามีนักเรียนของนิติราษฎร อย่าง เนติวิทย์ พยายาม สร้างกระแส ยุยงเรื่อง “การหมอบกราบ” ว่าเป็นเรื่องล้าหลัง ผมขออธิบายสั่นไว้ตรงนี้นะครับ
แม้ว่า การหมอบกราบ ค่อยๆถูกยกเลิกใช้ในกิจกรรมทางราชการ และราชประเพณีบางส่วน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5เป็นต้นมา แต่ก็ยังฝั่งอยู่ในใน จิตวิญญานของความเป็นคนไทย เนื่องด้วย ชนชาติไทยเป็นคนรักในสันติและมีความเคารพในบรรพบุรุษมาก การให้ความเคารพด้วยเกียรติอันสูงสุดผ่านการกราบจึงเป็นสิ่งที่ยังดำรงอยู่ในฐานะ สัญลักษณ์การเคารพรักและจงรักภักดีของคนเล่านั้น
ในช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 “การหมอบกราบ” ยังคงมีอยู่และถูกนำมากลับมาใช้ในการเชิดชู “รัฐธรรมนูญ ” และ ตัวคณะราษฏรเสียด้วยซ้ำ ดั่งเช่นการหมอบกราบพานแว่นฟ้า ตามแนวลัทธิเทวะประชาธิปไตย เพื่อ บูชา รัฐธรรมนูญ แบบของคณะราษฎร เพื่อผลักดันให้ คณะราษฎรเป็นที่บูชาดั่งเทพเจ้า
สรุปแล้ว “การหมอบกราบ” ไม่ไช่สิ่งเลวร้ายอะไร …และยังเป็นสิ่งที่ดีงาม ประเพณีของไทย ในฐานะ สัญลักษณ์การเคารพรักและจงรักภักดี
เพียงแต่การบิดเบือนความหมาย “การหมอบกราบ” เพื่อหวังผลทางการเมืองของกลุ่มคนบางกลุ่มยังคงมีอยู่ ในปัจจุบัน และเป็นเรื่องที่น่าตลกขบขัน เมื่อมีใครคนนึง กล่าวว่า “การหมอบกราบ” เป็นเรื่องล้าหลังของแนวคิด อนุรักษ์นิยม
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่ฟื้นฟู “การหมอบกราบ” ในระบอบประชาธิปไตย ก็คือ คณะราษฎร ที่มักเชิดชูตัวเองว่าเป็น”หัวก้าวหน้า”นั้นแหล่ะครับ