จรรยา ยิ้มประเสริฐ
กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
29 ตุลาคม 2553
ประเทศอังกฤษมีสถานีเก็บเมล็ดพันธ์ุและสะสมเมล็ดพันธุ์จากทั่วโลกได้สี่ล้านชนิด นรเวย์ตามมาด้วยการเปิดโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์เมื่อปี 2551 วางเป้าเก็บเมล็ดพันธุ์ทั่วโลกได้หลายล้านชนิดเช่นกัน ถ้าโลกเผชิญวิกฤติร้ายแรงหรือล่มสลาย จะได้เอาเมล็ดพันธุ์มาฟื้นโลกได้
บางประเทศเริ่มตุ้นอาหารเลี้ยงประชากรทั้งประเทศให้อยู่ได้้มากกว่าหนึ่งปีในยามโลกวิกฤติ
รัฐบาลในยุโรปอัดฉีดงบสนับสนุนและงบวิจัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ มากขึ้นทั้งจากแสงอาทิตย์ พลังลม คลื่นมหาสมุทร การดึงความร้อนจากใต้ดินมาใช้ รวมทั้งพลังงานจากชีวภาพ (ไทยยังสู้กับชาวบ้านเรื่องพลังงานถ่านหินและนิวเคลียร์อยู่ไม่เลิก)
เกือบทุกรัฐบาลในประเทศเขตหนาวส่งเสริมและอุดหนุดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงาน หรือให้สอดประสานกับธรรมชาติ และใช้พลังงานธรรมชาติมาเสริมมากขึ้น ทั้งสร้างบ้านประหยัดพลังงาน เก็บความร้อน และก่อสร้างจากวัสดุริไซเคิล รวมทั้งจัดตั้งระบบรีไซเคิลครบวงจรทั้งเรื่องการจัดการน้ำทิ้ง ส้วมแห้ง และเทคโนโลยีไม่สร้างมลภาวะซ้ำเติมต่อโลกมากขึ้น
หลายประเทศตอนนี้มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศให้แข็งแกร่ง อัดฉีดงบทางการศึกษา มุ่งสร้างประชากรที่มีคุณภาพสูง ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมการใช้ชีวิตสีเขียว ใช้ชีวิตที่ไม่ทำลายธรรมชาติ และการใช้สินค้าและแลกเปลี่ยนสินค้าภายในประเทศหรือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ปลูกฝังกันตั้งแต่ระดับประถม มัธยม จนถึงมหาวิทยาลัย (โดยไม่ต้องใส่เครื่องแบบ และเสียเวลายืนเคารพธงชาติ พร่ำเพ้อกับคำว่า “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” วันละสองเวลา)
ทิศทางของรัฐบาลที่ก้าวหน้าในโลกคือการมุ่งสลายขั้วความเป็นชาตินิยม และเคารพความเป็นสากลและการไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและสีผิว ฟินแลนด์มีสโลแกนว่า “Global Finland” หรือ ”ฟินแลนด์โลก”
แม้แต่กลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่มั่งคั่งจากน้ำมัน ก็เริ่มสร้างธุรกิจใหม่รองรับการเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะด้านการบิน และเมืองช๊อปปิ้งส์ รวมทั้งธนาคากองทุนเพื่อการพัฒนาอาหรับ (Arab Development Bank) ก็สนับสนุนงานพัฒนาในประเทศต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาฟริกา และประเทศมุสลิม
ประชาชนยุโรป อเมริกา และแคนาดา เริ่มสร้างความเข้มแข็งทางการค้านอกระบบทุนนิยม เขาเรียกว่า เศรษฐิจสมานฉันท์ (Solidarity Economy) ซึ่งถ้ามองในสถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจสมานฉันท์เริ่มก่อตัวแล้วทั้งในระดับชาติ (ลาตินอเมริกา) และในระดับประชาชน แม้จะยังไม่ขยายกว้างมาก แต่ก้ได้นำเสนอทางออกหนึ่งยามเกิดวิกฤติทุนนิยม และเป็นทิศทางเศรษฐกิจใหม่ที่จะต่อต้านกับบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่พยายามควบคุมการค้าทั่วโลก
ขบวนการคนตกงานเยอรมันต่อรองเอาโครงการเล็กๆ ของรัฐมาทำเองเพื่อเป็นการสร้างงาน และกระจายงานสู่กลุ่มคนตกงานหลายแสนคน (แค่คนงานไทรอัมพ์ 600 กว่าคน ประเทศไทยยังช่วยไม่ได้เลย แถมยังฮุบจักรคนงานไปอีก 150 ตัว)
กลุ่มประเทศลาตินอมเริกาพยายามจัดโครงการแลกเปลี่ยนทรัพยากรข้ามชาติระหว่างกัน ทั้งระหว่างทรัพยกร อาทิ น้ำมันแลกอาหาร และการแลกเปลี่ยนบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญ ทางการแพทย์ ทางการศึกษา เทคโลโลยี และการรวมตัวระหว่างกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับมหาอำนาจอเมริกา
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ของความพยายามทั่วโลกที่จะรับมือกับการล้มของทุนนิยม และวิกฤติโลกร้อนที่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป
แต่นี่อะไรกันประเทศไทย
คิดต่าง คิดก้าวหน้า นำเสนอทิศทางการพัฒนาที่ก้าวไกล หรือก้าวหน้าไม่ได้เลย นอกจากการ “อัด เป่า-ฉีด” ความคิดเรื่อง “เคารพรักสถาบันฯ” การอย่างไม่ลืมหูลืมตา ตั้งแต่ระดับประถม มัธยม จนมหาวิทยาลัย ข้าราชการ ในทุกกรม กองและทุกหน่วยงานของรัฐ ตำรวจ ทหาร แม้แต่ในพรรครัฐบาล ไม่มีใครกล้าพูดความจริง และไม่ยอมเปิดตาดูความเคลื่อนไหวของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายได้ ถ้าไม่มีพระราชดำริ
ไม่ยอมเปิดตาดูได้แล้วว่าการวิบัติต่างๆ ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้นตลอดช่วงการแย่งชิงอำนาจกันอย่างน่าสะอิดสะเอี้ยนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มันได้นำพาประเทศตกต่ำขนาดไหน ทั้งในสายตาชาวโลกและในสายตาคนไทยด้วยกันเอง
ในช่วงห้าที่ที่ผ่านมาของการแย่งชิงอำนาจในเมืองไทย หลายประเทศได้ใช้เวลาเหล่านี้เตรียมรับมือ และยอมผ่อนปรนเกมการเมือง ลงแรงร่วมกันไม่แยากพรรคฝ่ายค้านหรือรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาภายวิกฤติที่กำลังมาเยือน ทั้งยุโรป และอเมริกา ญี่ปุ่น ลาตินอเมริกา รวมทั้งอาฟริกา ไม่เว้นแม้แต่เขมรประเทศเพื่อนบ้านเรา ทำให้ก้าวล้ำนำหน้าเราไปอีกหลายขุม
ประเทศไทยมั่วแต่แก่งแย่งกันทางการเมืองไม่สิ้นสุด ทั้งทหารที่กลัวรัฐบาลไม่ให้งบถลุงเล่น เลยเกาะหลังบัลลังก์อย่างเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อยมาตลอด 60 ปี และสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีเรื่องราวและธรรมเนียมปฏิบัติที่ขัดกับหลักการแห่งการเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และการไม่เลือกปฏิบัติ แต่กลับไม่ยอมดูบทเรียนของราชบัลลังก์อื่นๆ ที่อยู่รอดมาได้ถึงปัจจุบันเพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยและความต้องการของประชาชน อาทิ อังกฤษ สเปน และสวีเดน แต่ทำมาทำไปสถาบันฯ กำลังบีบให้ประชาชนต้องลุกมานำพาการเปลี่ยนผ่านเข้าไปใกล้บทเรียนของรัสเซียและเนปาลมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งๆ ที่มีบทเรียนการเปลี่ยนผ่านที่ดี และที่เห็นอยู่หลายประเทศ และทำง่ายกว่าและไม่สูญเสียเลือดเนื้อมากนัก คือสถาบันลุกขึ้นมาปฏิรูปองค์กรด้วยตัวเอง
แต่ทำไมสถาบันฯ จึงปล่อยให้พรรคประชาธิปัตย์ ทหาร สนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งลากจูงไปจนอยู่ในสถานการณ์ที่อาจจะสายเกินจะเยียวยา
พรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่ยอมเปลี่ยนยุทธศาสตร์การเล่นการเมืองโดยเกาะกลุ่มขั้วอำนาจฝ่ายขวา “ปกป้องสถาบัน” โดยไม่ยอมเลิกลานับตั้งแต่ปี 2489 ที่กล่าวหาปรีดี ฆ่าในหลวงอานันท์ จนหลงยุค หลงสมัย รู้ไม่เท่าทันโลก ไม่สามารถสร้างวสัยทัศน์ที่ก้าวไกลได้ แต่อยากอยู่ในอำนาจ เลยต้องใช้เกมส์โกงการเมือง “อิงสถาบัน เอาใจทหาร ขึ้นเงินเดือนเพื่อปิดปากข้าราชการ” มาจนถึงปัจจุบัน แม้จะพยายามเรียกร้องให้สังคมต้องอนุรักษ์เพราะเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่อายุกว่า 70 ปี ก็ตามที แต่เราก็หมดปัญหาจะรักษาพรรคนี้ไว้ อาจจะต้องถึงคราวเกษียรอายุและเก็บเข้าห้องเก็บของ จะเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ก็คงไม่มีค่าพอ
ทักษิณก็รอแต่การพระราชทานอภัยโทษอยู่นั่นแหล่ะ เขียนหรือพูดอะไรมาแต่ละที ขัดหูขัดตามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ดููบ้างว่าคนไทยไปถึงไหนแล้ว เขียนอะไรมาแต่ละทีก็อ้างถึงแต่ “โครงการพระราชดำริ” ยังไม่ยอมตื่นจนถึงบัดนี้ว่าฐานเสียงตัวเองนั้นก้าวล้ำหน้าทักษิณไปเยอะแล้ว หยุดเล่นการเมืองได้แล้ว ทั้งทักษิณและนักการเมืองฝ่ายพรรคเพื่อไทยทั้งหลาย เป็นถึงอดีตนายกมีคำแนะนำดีๆ ในสภาวะที่คนทั้งประเทศจะจมน้ำตาย ก็ยังแทงกั๊กบอกว่าจะใช้เพื่อใช้เป็นนโยบายของพรรค
ขอสถบหน่อยเถอะ แม่ง! มันเล่นการเมืองกันหมด ในยามที่รัฐบาลในทุกประเทศที่การเมืองก้าวหน้า เขาเอาประชาชนนำหน้าการเมือง เอาวิกฤตินำหน้า “การทำงานแบบผักชีโรยหน้า” และ “จัดฉากสร้างภาพ” เอาอนาคตของชาติเป็นอุดมการณ์แห่งการทำงานร่วมกัน
นี่อะไรกันประเทศไทย ความอยู่รอดของประเทศถูกยัดใส่ปากงุบงิบงึมงัมใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกันอยู่อย่างนี้ในหมู่ผู้ชายอายุเกิน 70 ปีไม่กี่คน แล้วประเทศชาติมันจะไปรอดหรือ?
ประเทศไทยยังมีจุดแข็งอยู่เยอะ อย่ายอมให้ถูกทำลายด้วยขบวนการไม่ยอมกระจายอำนาจ และไม่ยอมรับประชาชาชน
นโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยตอนนี้คือ
ควบคุมการใช้เงินกู้้ 800,000 ล้านบาทของอภิสิทธิ์ อย่างใกล้ชิด เพราะประชาชนคือคนที่จะต้องใช้หนี้ก้อนนี้ จะต้องทำให้มันถูกใช้เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนกลุ่มใหญ่ทั้งประเทศ ฟื้นประเทศจากภัยพิบัติน้ำท่วม ส่งเสริมให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบแก้วิกฤติแบบก้าวไกล คือทั้งเยียวยา และก็วางรากฐานที่มั่นคงของชีวิตและครอบครัวไปพร้อมกันเลยในทีเดียว ไหนๆ ก็จะต้องบูรณะประเทศแล้ว ก็ใช้เงินกู้วางรากฐานเกษตรยั่งยืน และการเตรียมรับมือวิกฤติสภาวะโลกร้อนไปด้วยกันเลย และต้องสร้างหลักประกันว่าเงินกู้นี้ จะไม่ใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย คอรัปชั่น และถูกถ่ายโอนเข้าสู่กระเป๋านายทุนใหญ่ในโครงการขนาดใหญ่ โดยมุ่งเป้าเพื่อสร้างความเข้มแข็งหรือวางรากฐานความอยู่ดีมีสุขของคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ กลุ่มเกษตรกร 13 ล้านครอบครัว คนงาน 10 ล้านคน และแรงงานนอกระบบและว่างงานแฝงกว่า 20 ล้านคน และไม่ใช่เพื่อเอาไปเลี้ยงดูข้าราชการ 2 ล้านคนเท่านั้น
การคุมการประมูลโครงการรัฐต่างๆ ในยามนี้ต้องตัดยักษ์ใหญ่ และต้องควบคุมการเข้ามาเอี่ยวของนักการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ที่หากิจกับงบประมาณของรัฐ มุ่งสนับสนุนให้เกิดการกระจายสู่สู่การใช้ศักยภาพของท้องถิ่น และการจ้างงานในท้องถิ่น และกลุ่มธุรกิจรายย่อยโดยเฉพาะกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชน
วางแผนแก้ปัญหาเรื่องเรื่องวิกฤติน้ำและภัยธรรมชาติอย่างยั่งยืน ทั้งท่วม-น้ำแล้ง และผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน รัฐต้องเปิดพื้นที่นำเสนแนวคิดอย่างกว้างขวางเรื่องการเก็บกับน้ำเพื่อการเกษตร เขื่อนไม่ใช่คำตอบเรื่องวิกฤติน้ำ ทั้งวิกฤติน้ำแล้งหรือน้ำท่วม โครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ ต้นทุนสูงในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันก็ควรจะหลีกเลี่ยง แต่ต้องส่งเสริมการจัดการน้ำแบบ “ยิงนกทีเดียวได้สองตัว” คือสร้างให้เกิดการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละที่มาใช้ในการจัดการน้ำ เป็นกลไกรองรับน้ำในช่วงฤดูฝน และในขณะเดียวกันเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้มีน้ำทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อการบริโภคและขายในตลาดสินค้าปลอดสาร
นำหน้าเรื่องนำพาประเทศไทยเป็นประเทศ “อาหารปลอดสาร (อาหารออแกนิกส์)” ของโลก ทั้งสดและแปรรูป โดยปรับแนวนโยบายของ ธกส. ที่มุ่งส่งเสริมเกษตรเคมีต้นทุนสูง มาสู่การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ต้นทุนต่ำ การพัฒนาย่ั่งยืน ฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว และทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดสารพิษของโลก จัดตั้งโครงการ “ร่วมกันใช้” อุปกรณ์ทางเกษตรขนาดใหญ่เพื่อลดภาวะการกดดันให้เกษตรกรต้องเป็นหนี้ก้อนโตในการจัดซื้ออุปกรณ์การเกษตร โดยเฉพาะรถไถ รถเกี่ยว โรงสีข้าวขนาดเล็ก และโรงเก็บสินค้า ที่สำคัญส่งเสริมและให้การอุดหนุนให้ให้เกษตรรายย่อยที่มีที่ดินไม่มากค่อยๆ หันมาผลิตอาหารเพื่อการบริโภค (ลดค่าใช้จ่าย) และเรียนรุ้เทคนิคการแปรรูปต่างๆ โดยผลิตอาหารที่หลากหลายและปลอดสารพิษ ที่ใช้พื้นที่ไม่มาก และใช้ต้นทุนเงินน้อย ส่วนมากเป็นการใช้แรงงานของตัวเอง ทั้งเพื่อบริโภค แปรรูป และเพื่อการค้า
ประเทศไทยต้องเปิดตลาดสินค้าปลอดสารและงานฝีมือชาวบ้านในทุกจังหวัด ส่งเสริมและเปิดตลาดสินค้าจากฝีมือคนไทย จากเกษตรกรและสินค้าปลอดสารพิษในทุกจังหวัด รวมทั้งให้การอุดหนุนด้ายปัจจัยและด้านเทคนิคให้กับกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ โดยส่งเสริมแนวการดำเนินงาน “ล่างขึ้นบน” และควบคุมการใช้อำนาจมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ
ปฏิรูปการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องทำหน้าที่บริการประชาชน และรัฐต้องส่งเสริมบรรยากาศการทำงานแนวระนาบ ที่เปิดพื้นที่ในการนำเสนอความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียม ไม่ใช่รับนโยบายจาก “บนล่งล่าง” เพียงอย่างเดียว และเจ้าหน้าที่รัฐในทุกหน่วยงานต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องการเป็นนักพัฒนาเพื่อสังคมและชุมชน ก่อนลงประจำการไม่ว่าจะในตำแหน่งหรือในกรมกองใดก็ตาม
อุตสาหกรรมและแรงงาน รัฐต้องหยุดให้ท้ายบรรษัทข้ามชาติและทุนไทยคุกคามสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและต่อรองระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง เปิดให้เกิดการต่อรองระหว่างกันอย่างเสมอภาค โดยรัฐไม่แทรกแซงและหนุนช่วยฝ่ายนายจ้าง รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุน “โรงงานคนงานในทุกอุตสาหกรรม” เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี่ในโรงงานสู่คนไทย และทำให้คนงานไทยได้ผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ใช่แค่คาแรงคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.5-1% ของราคาสินค้าเมื่อขายในท้องตลาด
ไทยต้องก้าวไปสู่แรงงานฝีมือ เตรียมแผนถ่ายเทแรงงานที่จะถูกลอยเพ เมื่อทุนใหญ่หดตัว มาสู่การมีมาตรการรองรับ ที่ส่งเสริมให้พวกเขาใช้ฝีมือมาสร้างการผลิตรวมกันในรูปแบบกลุ่มสหกรณ์หรือสหภาพคนงาน ในการรวมตัวประกอบกิจการ และสร้างตลาดภายในประเทศหรือตลาดเพื่อนรองรับ และค่อยๆ พัฒนาให้สามารถแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ ได้ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายต่อรองของกลุ่มกิจกรรมทางธุรกิจที่รวมตัวในรูปแบบสหกรณ์หรือกิจกรรมร่วม มากกว่าธุรกิจส่วนบุคคล สร้างมาตรการคืนถิ่นสู่วิถีชีวิตเกษตรอินทรีย์เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับคนงานที่ทำงานไม่เคยหยุดทั้งชีวิต ที่ต้องการคืนบ้านเกิด และใช้ชีวิตอย่างสงบสุขในบันปลาย
ยังมีมาตรการอีกมากที่เราทั้งประเทศจะทำได้เพื่อนำพาให้คนทั้งประเทศอยู่กันได้อย่างผาสุข พร้อมกับ “รอยยิ้มแห่งความสุข” ที่แท้จริง ทั้งนี้และทั้งนั้น นี่แค่เป็นความคิดของคนๆ เดียว ลองคิดดูซิว่าถ้าประชาชนทั่วประเทศไทยได้รวมหัวกันคิดเพื่อนำพาประเทศให้รอด เราจะมีทางออกของประเทศได้มากมายขนาดไหน ประเทศไทยร่ำรวยทางภูมิปัญญาและทรัพยากรธรรมชาติที่พอจะนำพาประเทศให้รอดได้ ถ้าไม่ตามก้นเสรีนิยมโลกาภิวัตน์แบบผิดๆ และไม่สามารถจัดการปัญหาคอรัปชั่นและวางรากฐานประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งในประเทศได้
สิ่งที่สำคัญตอนนี้ของประเทศไทยคือประกาศวันเลืิกตั้งให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วเท่าไร โอกาสที่ประเทศชาติจะพ้นภัยพิบัติได้เร็วเท่านั้นก็จะมีมากขึ้น แต่ถ้ารัฐบาลอภิสิทธิ์ยังดันทุรังอยู่เช่นนี้ มีแต่จะพาประเทศชาติฉิบหายยิ่งไปกว่านี้เท่านั้นเอง โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถคุมทหาร (ที่ไม่ได้ทำงานอะไรเลยเลย นอกจากตรวจจับคนหมิ่นฯ) และได้งบไปกว่า 170,000 ล้านบาทจากอภิสิทธิ์ไปถลุงเล่นอยู่ตอนนี้